ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท หลับยาก ตื่นบ่อย จะมีวิธีรับมือปัญหานี้อย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท หลับยาก ตื่นบ่อย จะมีวิธีรับมือปัญหานี้อย่างไรดี” คุณแม่หลายคนคงเคยเจอกับปัญหาแบบนี้ลูกนอนหลับยาก บางครั้งลูกตื่นบ่อย นอนหลับไม่สนิท ซึ่งการนอนของเด็กทารกโดยธรรมชาติแล้ว จะใช้เวลากับการนอนมากถึงวันละ 16 ชั่วโมง และมักตื่นมาทุก 3 – 4 ชั่วโมงเพื่อกินนม จนเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถหลับกลางคืนได้ยาวนานขึ้นแต่ทำไมลูกของเรายังคงหลับยาก แถมบ้างครั้งตื่นขึ้นมาร้องไห้ งอแงตอนกลางคืนอยู่บ่อย ๆ ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร ชวนไปหาคำตอบกัน 

How To Soothe Your Overtired Baby?

ลูกหลับไม่สนิท หลับยาก หรือตื่นบ่อย เกิดจากอะไร

1. กินนมบ่อยครั้งเกินไป

ลูกนอนหลับยาก หรือตื่นบ่อย สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คุณแม่ให้นมลูกบ่อยเกินไป เช่น ตอนกลางวันให้นมลูกทุก 1 – 2 ชั่วโมง หรือให้นมทุกครั้งที่ลูกร้อง เมื่อลูกตื่น หรือร้อง คุณแม่มักคิดว่าลูกหิว เลยป้อนนมให้ลูก ซึ่งโดยธรรมชาติของเด็ก เมื่อมีจุกนมหรือหัวนมแม่เข้ามาสัมผัสในปาก ระบบประสาทจะสั่งให้เกิดการดูด เมื่อลูกดูดคุณแม่ก็คิดว่าลูกหิวจึงให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ตื่น ลูกจึงชินกับการกินนมแบบนี้ กลางคืนจึงตื่นมาร้องบ่อยเพื่อกินนมเหมือนช่วงกลางวัน

2. กินนมมากเกินไป

เมื่อลูกตื่นหรือร้อง คุณแม่มักคิดว่าลูกหิวก็ป้อนนมให้ลูกทุกครั้ง ลูกจึงได้รับนมมากเกินความต้องการ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้หิว กลายเป็นว่าลูกกินนมมากไปจนเกิดอาการอึดอัด แน่นท้องจนนอนหลับไม่สนิท

3.นอนกลางวันมากเกินไป

การนอนหลับในช่วงเวลากลางวัน อาจทำให้ทารกไม่รู้สึกง่วงนอน และนอนหลับไม่สนิทในช่วงเวลากลางคืน ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องตื่นมาคอยเลี้ยงลูก จนอ่อนเพลียในช่วงกลางวัน คุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรให้ลูกนอนเยอะในตอนกลางวัน และไม่ให้ลูกนอนเกิน 1 ชั่วโมงมากกว่า 2-3 ครั้ง เพื่อที่จะช่วยให้ลูกรู้สึกเหนื่อย และง่วงในตอนกลางคืน

4.ไม่สบาย

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท คือการไม่สบาย เป็นหวัด มีอาการโคลิค หรือไม่สบายท้อง จนทำให้ลูกหลับยาก และตื่นช่วงตอนกลางคืน โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตได้จากการที่ลูกร้องไห้เป็นเวลานาน มีไข้ ท้องเสีย หรือกินอาหารได้น้อย คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการลูกอยู่บ่อย ๆ 

5.ลูกแพ้นม

หากลูกกินนมแม่ก็เป็นไปได้ว่า ลูกอาจจะแพ้อาหารบางอย่างที่ส่งผ่านทางน้ำนมแม่ เช่น แพ้นมวัว อาหารทะเล ชีส ฯลฯ หรือถ้าเด็กกินนมผงก็อาจเกิดจากการแพ้โปรตีนนมวัว ทำให้เกิดอาการคัดจมูกหายใจไม่ออก หายใจครืดคราด เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวต่าง ๆ จนรบกวนการนอนของเด็กได้ และทำให้ลูกหลับยาก

6.ลูกอยู่ในช่วงปรับตัว

ลูกน้อยแรกเกิดอาจยังไม่คุ้นชินกับโลกภายนอก และยังไม่รู้จักช่วงเวลาในการนอนที่เหมาะสม จนทำให้นอนหลับไม่สมดุล นอกจากนี้ การนอนหลับมากเกินไปอาจทำให้ลูกหลับไม่สนิท และตื่นบ่อยตอนกลางคืน หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ปลุกลูกในตอนเช้า ก็อาจทำให้ทารกไม่สามารถเรียนรู้หรือปรับตัวได้

7.สภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท คุณแม่ควรให้ลูกน้อยได้นอนในห้องที่มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป เพราะเขาจะอาจะรู้สึกไม่สบายตัว จนไม่สามารถนอนหลับได้ อุณหภูมิห้องที่เหมาะกับลูกควรอยู่ประมาณที่ 24 – 26 องศาเซลเซียส
A sleeping baby

วิธีแก้ปัญหาลูกนอนยาก หลับไม่สนิท หรือตื่นบ่อย

1.ให้ลูกกินให้อิ่ม

เนื่องจากกระเพาะอาหารทารกมีขนาดเล็ก และย่อยได้เร็ว ทำให้ลูกอาจรู้สึกหิวจนตื่นกลางดึก คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ลูกกินให้อิ่มก่อนนอน หากลูกตื่นขึ้นมา อาจลองตบก้นหรืออุ้มปลอบดูก่อน เด็กบางคนก็อาจหลับต่อได้โดยไม่ต้องกินนม นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรป้อนนมลูกทุกครั้งเวลาเขาตื่นหรือร้องไห้ ก็จะช่วยลดปริมาณการได้รับนม และช่วยให้ลูกไม่รู้สึกอิ่มจนเกิดอาการอึดอัด

2.จัดสภาพแวดล้อมให้ดี

การจัดสภาพแวดล้อมการนอนหลับของทารก เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกับการนอนหลับของผู้ใหญ่ โดยทารกควรนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรจัดให้ลูกนอนอยู่ในห้องนอนที่มืด และเงียบ ไม่มีสิ่งรบกวนง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกเข้านอน โดยการกล่อมลูกเบา ๆ เมื่อลูกหลับแล้ว อาจหรี่ไฟลงเล็กน้อย เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศให้ปลอดภัย และช่วยให้นอนหลับสนิทมากยิ่งขึ้น

3.หากลูกสะดุ้งตื่นให้กล่อมเบา ๆ

บ่อยครั้งที่ลูกน้อยมักนอนไม่หลับ บิดตัว และร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่ก็อุ้มลูกขึ้นแล้วปลอบทันที อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำแบบนี้ หากลูกเกิดขยับตัวหรือร้องไห้ ให้ลองกล่อมลูกเบา ๆ หรือเอามือตบก้นลูกให้หลับก่อน เพราะหากอุ้มลูกขึ้นมา หรือให้นมลูก ก็จะสร้างพฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีให้แก่ลูก ส่งผลให้ลูกนอนหลับไม่สนิทยิ่งกว่าเดิม

Sleep Shaping for Babies (3-6 Months) — Bump, Baby & Me

4.ก่อนเข้านอนไม่เล่นกับลูกมากเกินไป

ก่อนพาลูกเข้านอน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรเล่น หรือกระตุ้นให้เด็กตื่นเต้น หรือกระตือรือร้นจนเกินไป เพราะอาจทำให้ลูกนอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับได้ยาก ทางที่ดีลองสร้างบรรยากาศที่สงบให้กับลูกน้อย เพื่อช่วยให้ลูกผ่อนคลาย เช่น การอ่านนิทานก่อนนอน หรือการฟังเพลงก่อนนอน ก็จะช่วยกระตุ้นให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย และนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

5.ให้ลูกดูดจุกปลอมก่อนนอน

สำหรับลูกเล็กวิธีนี้เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดี แต่ควรใช้หลังจากที่ลูกสามารถดูดเต้าได้ดีแล้ว หรืออายุเกิน 1 เดือนขึ้นไปในเด็กกินนมแม่ เนื่องจากอาจทำให้ติดจุกนมและไม่ดูดเต้าได้ พอลูกหลับสนิทค่อยดึงออก หากลูกตื่นและต้องการดูดจุกหลอก ให้คุณแม่เปลี่ยนเป็นตบหลังเบา ๆ ปลอบลูกแทน และไม่ควรใช้วิธีนี้นานเมื่อลูกอายุ 1 ขวบไปแล้ว

บทส่งท้าย

ลูกน้อยนอนหลับไม่สนิท หลับยาก ตื่นบ่อย อาจเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะพฤติกรรมเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ไม่ยาก เพราะเมื่อเขาโตขึ้นพฤติกรรมการนอนของลูกก็จะค่อย ๆ ปรับตัวและดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรหาข้อมูลและปรับตัวไปพร้อมกับลูกน้อยก็จะดีด้วยเช่นกัน

เครดิตรูปภาพ lowvelder.co.za www.childrenscolorado.org bumpbabyandme.ie www.parentlane.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (131) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (142) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (36) อาหารสำหรับเด็ก (21) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (72) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)