บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกน้อยนอนบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เกิดจากอะไร แล้วจะส่งผลอะไรไหม ทารกนอนบิดตัว นั้นเกิดจากอะไร หากลูกน้อยมีอาการนอนในลักษณะนี้บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวัน หรือ เวลากลางคืน เชื่อว่า คุณแม่หลายคนต้องเกิดความกังวลอย่างแน่นอน แต่การที่ลูกนอนบิดตัวบ่อย ๆ นั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน
ทารกนอนบิดตัว คือปฏิกิริยาทางธรรมชาติของร่างกาย
ทางการแพทย์หรือคุณหมอเอง ก็เคยกล่าวไว้ว่า ไม่ต้องตกใจหากพบว่า เด็กนอนบิดตัวบ่อย ๆ เช่น การบิดแขน ขา ลำตัวไปมา เพราะว่าเป็นอาการคลายกังวล คล้าย ๆ กับผู้ใหญ่ที่เพิ่งตื่นนอน โดยทางการแพทย์เรียกว่าการออกกำลังกายของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวซึ่งเป็นปฏิกิริยาของ ทารกนอนบิดตัว ทั่ว ๆ ไป
ลูกบิดตัวบ่อยหลับไม่สนิท เกิดจากสาเหตุไหนบ้าง
1.สภาพแวดล้อม มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก หากสภาพแวดล้อมมีเสียงที่ดังเกินไป จนรบกวนการนอนของทารก หรือแม้แต่การเคลื่อนไหวของคุณพ่อคุณแม่ ก็มีส่วนทำให้ทารกหลับไม่สนิท ละเมอ หรือร้องไห้ระหว่างนอน
2.การนอนกลางวันมากเกินไป หากคุณพ่อคุณแม่ให้ทารกนอนกลางวันมากเกินไป เมื่อถึงเวลานอนก็จะทำให้ทารกไม่ง่วงนอน และนอนหลับไม่สนิทในช่วงเวลากลางคืน
3.ทารกนอนไม่สบายตัว ซึ่งอาจเกิดจากอากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีอากาศที่ร้อนหรือหนาวเกินไป ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปนานเกินไป หรือที่ทารกนอนมีแมลงกัดต่อย เลยเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทารกนอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย ไม่สบายตัว
4.อาการไม่สบายท้อง เช่น มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่อาจจะอุ้มเรอไม่ถูกต้องหรือให้ลูกนอนเร็วเกินไปหลังกินนม จึงทำให้มีแก๊สเกินในกระเพาะอาหารของทารกซึ่งทำให้ทารกไม่สบายท้อง ร้องงอแงและอาจแหวะนมหรืออาเจียนขณะกำลังนอนได้
5.อาการเจ็บป่วยอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้จากการที่ทารกมีไข้ กินอาหารได้น้อย ซึ่งทำให้ทารกร้องไห้เป็นเวลานาน และนอนละเมอ ร้องไห้
6.กำลังอยู่ในช่วงปรับตัว เนื่องจากทารกเพิ่งได้ใช้ชีวิตในโลก การปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมก็เป็นสิ่งที่อาจจะยังไม่คุ้นเคย จึงไม่แปลกที่ทารกจะยังไม่รู้เวลาการนอนหลับ และทำให้การนอนหลับยังไม่คงที่ จึงอาจทำให้ทารกนอนหลับไม่สนิท หรือตื่นมากลางดึก
ทารกต้องนอนอย่างน้อยกี่ชั่วโมง
โดยปกติแล้วทารกก็ต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ และรูปแบบการนอนของทารกจะต่างกัน ทารกแต่ละคนต้องการนอนเฉลี่ยแล้วจะมีเวลานานถึง 16 ชั่วโมง/วัน แบ่งเป็นช่วงกลางวัน 8 ชั่วโมงและช่วงเวลากลางคืนอีก 8 ชั่วโมง และมักจะตื่นขึ้นมาดื่มนมตลอด 3-4 ชั่วโมงต่อวัน แต่เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือนขึ้นไป จากนั้นทารกจะสามารถนอนหลับกลางคืนได้นานยิ่งขึ้น แต่ละช่วงวัยจะมีชั่วโมงนอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
– เด็กแรกเกิด เด็กในช่วงวัยนี้จะเน้นนอนหลับมากกว่าตื่น และไม่รับรู้ถึงช่วงกลางวันหรือกลางคืน
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ทารกนอน 14-17 ชั่วโมง/วัน โดยจะให้นอนในตอนกลางคืน 8-12 ชั่วโมง และในตอนกลางวัน 2-5 ชั่วโมง ทั้งนี้ควรให้ทารกตื่นขึ้นมาเพื่อดื่มนม และรับสารอาหารที่ควรจะได้รับ
– 3 เดือน – 6 เดือน ในช่วงนี้ทารกจะอยากอาหารในช่วงกลางคืนน้อยลงและนอนได้ยาวนานขึ้น โดยจะนอนหลับ ระหว่าง 12 – 14 ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืน
– 6 เดือน – 12 เดือน เมื่อทารกอายุได้ 6 เดือนขึ้นไป ทารกจะเลิกตื่นมากินนมในตอนกลางคืน และนอนหลับยาวตลอดทั้งคืนถึง 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ในระหว่างวันทารกจะหลับไม่เกิน 2 ชั่วโมง
– 12 เดือนขึ้นไป ลูกน้อยจะนอนหลับรวม 12-15 ชั่วโมง/วัน แบ่งเป็นตอนกลางคืน 10 – 12 ชั่วโมง ส่วนตอนกลางวันจะแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง แต่ช่วงเวลาเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของลูกน้อยของแต่ละบ้าน
เด็กทารกนอนไม่พอ ส่งผลร้ายแรงอะไรบ้าง
การนอนหลับให้เพียงพอเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ของเด็กทารก เพราะการนอนหลับที่เพียงพอจะช่วยส่งเสริมสมอง ด้านการตอบสนอง ด้านความจำและการเรียนรู้ และยังจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกทางด้านร่างกายด้วย หากทารกนอนไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองได้ โดยการตอบสนองต่อสิ่งเร้า พัฒนาการด้านความจำและการเรียนรู้อาจจะช้ากว่าปกติ นอกจากนี้การนอนหลับไม่เพียงพอยังส่งผลโดยตรงต่อ Growth Hormone ที่จะทำงานระหว่างลูกน้อยนอนหลับ อาจทำให้กระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย การสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อ เซลล์ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกายได้
วิธีแก้อาการลูกบิดตัว ทำอย่างไรให้ลูกนอนหลับได้สนิท
1.ทำกิจวัตรก่อนอนอย่างสม่ำเสมอ ลองทำกิจกรรมที่จะทำให้ทารกนอนหลับสบายอย่างการอาบน้ำให้ทารก เพื่อที่ทารกจะได้รู้สึกสบายตัว เปิดเพลงกล่อมเด็กเบา ๆ ระหว่างที่กำลังพาทารกเข้านอน
2.ให้เวลาได้ปรับตัว ทารกอาจจะร้องไห้ งอแง คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดไปนะ ให้เขาได้ปรับตัวหาท่าทางที่สบายตัวสักหน่อยแล้วเดี๋ยวก็หลับไป แต่หากยังร้องไห้ไม่หยุด ก็ลองตรวจเช็คอาการของลูก หรือบริเวณที่ลูกน้อยนอนหลับว่ามีแมลงหรือสิ่งใดรบกวนลูกน้อยอยู่ไหม หากไม่พบสิ่งใดรบกวน แล้วพูดปลอบโยนช้า ๆ จึงค่อยเดินออกจากห้องไป
3.พาเข้านอนขณะที่ยังตื่นอยู่ สิ่งนี้จะช่วยให้ทารกเข้าใจว่าถึงช่วงเวลานอนแล้ว โดยอุ้มทารกแล้วเดินช้า ๆ คุณแม่อาจจะตบหลังเบา ๆ แล้ววางให้นอนลงบนเบาะหรือเปล หาอุปกรณ์ ของเล่น ผ้าห่ม และหมอนข้างนุ่ม ๆ วางไว้บริเวณรอบตัวของทารก เพื่อให้ทารกรู้สึกปลอดภัย ลดความหวาดกลัว และควรวางให้พ้นจากใบหน้าเด็ก เพราะอาจจะทำให้ทารกหายใจไม่ออก
4.สร้างบรรยากาศ ให้ทารกเรียนรู้ถึงช่วงเวลากลางวันและกลางคืน โดยในช่วงเวลากลางวันคุณแม่อาจจะเล่นกับทารก ทำพื้นที่ให้สว่าง และกำหนดเวลานอนที่ไม่นานจนเกินไป ส่วนในช่วงเวลากลางคืน คุณพ่อคุณแม่ควรกล่อมให้ทารกเข้านอน หรี่ไฟ และไม่ส่งเสียงดังรบกวนการนอนของทารก เพื่อเป็นการให้ทารกจดจำเวลานอน
5.เคารพในความชอบของลูก ทารกบางคนอาจจะชอบนอนดึกหรือชอบตื่นเช้า คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรที่จะบังคับให้ลูกนอนตามเวลาเป๊ะ ๆ ควรที่จะหยืดหยุ่นให้เป็นไปตามธรรมชาติของทารกนั่นเอง
บทส่งท้าย
ในช่วงแรกคลอดปัญหาการนอนหลับของลูกน้อยอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยหน่อย คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องตื่นมากลางดึกเพราะลูกน้อยอยู่บ่อยครั้ง แต่อาการนอนยาก นอนไม่เป็นเวลาของลูกจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพียงแค่คุณพ่อคุณแม่คอยช่วยกันเฝ้าดูแลและเอาใจใส่ ลูกก็สามารถเติบโต มีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้แล้ว
เครดิตรูปภาพ www.mothercare.com.vn www.vinmec.com www.womenshealthaz.com vncare.net