ลูกนอนกรน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม รีบหาทางแก้ไขให้ถูกวิธีดีกว่า

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกนอนกรน ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม รีบหาทางแก้ไขให้ถูกวิธีดีกว่า” ลูกนอนกรนอาจจะไม่ปัญหาเล็ก ๆ ที่ควรถูกมองข้าม เพราะการนอนกรนของลูก อาจจะมีภัยร้ายแอบแฝงอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นหากรู้แล้วหาวิธีรับมือ หรือรีบหาทางแก้ไขให้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า เพราะหากปล่อยไว้นาน ๆ จะมีผลตามมาอย่างแน่นอน 

5 tips to help you stop snoring while sleeping | ArabiaWeather |  ArabiaWeather

ลูกนอนกรน สาเหตุเกิดจากอะไร

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดในเด็กนอนกรน คือ เด็กมีต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์โต จนเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ เกิดการสั่นสะเทือนของโครงสร้างระบบทางเดินหายใจ คือลิ้นไก่และเพดานอ่อนจึงทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น หรือเกิดอาการแน่นจมูกเรื้อรัง เป็นโรคภูมิแพ้จมูก หรือในบางรายมีความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกใบหน้าผิดปกติแต่กำเนิด เช่น โรคดาวน์ซินโดรม โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงเด็กที่มีรูปร่างอ้วน จะมีไขมันรอบคอมาก ขณะหลับกล้ามเนื้อจะหย่อนตัว ไขมันรอบคอจะไปกดทางเดินหายใจมากขึ้นก็ทำให้เกิดเสียงกรนได้เช่นกัน

เด็กนอนกรนจะมีอาการ เช่น นอนกรนกัดฟัน, นอนหายใจทางปาก, หายใจติดขัด, หายใจเสียงครืดคราดในคอ หรือ เหงื่อออกเวลานอน ซึ่งอาจเป็นปัญหาต่อพัฒนาการของลูกน้อยในหลายๆด้าน 

Does Your Child Snore? 5 Signs of Trouble – Cleveland Clinic

อันตรายและผลข้างเคียง เมื่อลูกนอนกรน

1.อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การพัฒนาในด้านร่างกายและสติปัญญาผิดปกติ 

2.เสี่ยงต่อการเป็นเด็กสมาธิสั้น เรียนรู้ช้าผลการเรียนแย่ลง

3. ในตอนกลางคืนเขานั้นอาจจะหลับไม่สนิท และอาจจะเผลอหลับในห้องเรียนช่วงกลางวันได้ ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดได้ง่าย  เป็นเด็กมีโลกส่วนตัวสูง และอาจจะทำให้เขามีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้นเรียน

4.เด็กที่มีภาวะนอนกรนจากระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น อาจเติบโตช้า ส่งผลให้มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวมากขึ้น และซุกซนมากผิดปกติ แตกต่างจากเด็กทั่วไป

5.ในบางรายที่มีอาการกรนที่รุนแรงอาจทำให้มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เมื่อหยุดหายใจ ออกซิเจนในเลือดก็จะลดลง หากไม่ได้รับการดูแลรักษาและปล่อยให้เด็กมีภาวะนอนกรนในระยะยาว เด็กก็จะมีอาการหัวใจโต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

6.เด็กที่มีภาวะนอนกรนบางคนอาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน หรืออาจปัสสาวะรดที่นอนเป็นประจำ

Pediatric Sleep Apnea | Signs and Symptoms | Dr. Melissa Rozas

ลูกนอนกรนแบบไหน ที่ผิดปกติจนต้องไปพบแพทย์

1.การนอนกรน นอนกระสับกระสาย หยุดหายใจขณะหลับ ตื่นนอนบ่อย

2.ในช่วงที่ลูกหลับให้สังเกตการนอนของลูก  เช่น มีเหงื่อออกง่าย และหายใจเหนื่อยหอบตอนหลับ หน้าอกบุ๋ม คอบุ๋ม และท้องโป่ง

3.ลูกปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ๆ 

4.ลูกชอบง่วงนอนในตอนกลางวันแบบผิดปกติ เนื่องจากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอในตอนกลางคืน

5.นอนกรนเสียงดัง และเสียงกรนดังเฮือก เหมือนคนขาดอากาศหายใจ และมีอาการสะดุ้งตื่นหลังเสียงกรน

6.ลูกมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการล่าช้า ผลการเรียนตกต่ำลง

7.ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย เป็นเด็กเอาแต่ใจตัวเอง ไม่เชื่อฟังพ่อแม่หรือครู

 8.สมาธิสั้น ซน และปัญหาด้านพฤติกรรมอื่นๆ

ADHD or Sleep Apnea? Children and CPAP Therapy - YouTube

ลูกนอนกรน รักษาอย่างไร

1.ควบคุมเรื่องโภชนาการ การทานอาหาร ขนม น้ำหวานต่างๆ หากเด็กมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน

2.การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐาน และได้ผลดีมากที่สุด คือ การผ่าตัดต่อมทอนซิล และ อะดีนอยด์ (Adenotonsillectomy) เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง แต่มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่ำ และมีผลต่อภูมิต้านทานหรือ การติดเชื้อภายหลังน้อยมาก

3.การรักษาด้วยยา เช่น การให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือ ยารักษาอาการจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้อักเสบเพื่อรักษาต่อมทอนซิล ซึ่งเลือกใช้ตามความเหมาะสมในแต่ละราย

4.รักษาด้วยเครื่องอัดอากาศ การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศชนิดแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง(Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) เป็นหน้ากากอันเล็กครอบบริเวณจมูกในระหว่างการนอนหลับ เพื่อประคับประคองไม่ให้ทางเดินหายใจส่วนบนปิดในขณะหลับ การรักษาวิธีนี้จะมีประโยชน์ในผู้ป่วยเด็กที่รักษาโดยการผ่าตัดไม่ได้ หรือ เมื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดแล้วไม่หาย

5.ดูแลเรื่องความสะอาดของห้องนอนและเครื่องนอน เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม และของใช้ในห้องนอน เพื่อไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองจมูกและป้องกันเชื้อโรคที่มีกับฝุ่นทำให้เกิดภูมิแพ้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ

6.ปรับท่านอนใหม่ โดยให้เด็กนอนในท่าตะแคง เพื่อลดอาการกรน

7.เข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเข้ารับคำปรึกษา และวิธีปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับไม่ให้รุนแรงมากขึ้น และไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

การตรวจวินิจฉัย

หากพบว่าเด็กมีอาการกรนผิดปกติควรพาไปพบแพทย์ โดยเด็กที่นอนกรนแพทย์จะทำการวินิจฉัย และตรวจร่างกาย รวมไปถึงตรวจการนอนหลับ(Sleep test)เพื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งการวินิจฉัยที่แม่นยำต้องอาศัยทั้งประวัติ ทั้งการตรวจร่างกาย ตั้งแต่ บริเวณ ศีรษะ ใบหน้า หู คอ จมูก และช่องปาก การตรวจปอด และหัวใจ หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังนิยมตรวจเพิ่มเติม เช่น การ X-ray บริเวณศีรษะด้านข้างเพื่อดูความกว้างของทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งในโรงพยาบาล หรือทำ Sleep test ที่บ้าน ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ความเหมาะสม และความสะดวกของแต่ละท่าน

บทส่งท้าย

อาการนอนกรน ใคร ๆ หลายคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่พอได้ลองอ่านและทำความเข้าใจใหม่ จะเห็นได้ว่าอาการนอนกรนของลูกนั้นแฝงไปด้วยอันตรายอย่างมาก เพราะหนักสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย หากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหนที่ลูกมีอาการนอนกรน แล้วกังวลใจให้รีบเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาจะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของลูก

เครดิตรูปภาพ www.arabiaweather.com health.clevelandclinic.org www.rozasdds.com kidsclinic.sg

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (194) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)