บทความนี้ขอแนะนำ “ขนมเยลลี่ เด็กทานบ่อยจะอันตรายหรือให้โทษหรือเปล่า” ขนมหวานเหนียว ๆ นุ่ม ๆ มีกลิ่นหอม รสผลไม้สีสันสวยงาม ยิ่งแช่เย็นยิ่งอร่อย ไม่ว่าจะเป็นเยลลี่ หรือ วุ้นเจลลาติน หรือ วุ้นคาราจีแนน ที่มีวางขายทั่วไปในแผนกหรือชั้นขนมเด็ก แม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ ยังชอบทาน ซึ่งคุณแม่หลายท่านอาจจะมีข้อสงสัยว่า เยลลี่ถ้าลูกทานบ่อย ๆ จะอันตรายหรือเปล่า บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน
เยลลี่ คืออะไร
เยลลี่ (jelly) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ซึ่งทำจากน้ำผลไม้ หรือน้ำผลไม้เข้มข้น ผสมกับสารที่ให้ความหวาน (sweetening agent) และสารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) เช่น เจลาติน (gelatin) คาร์ราจีแนน (carrageenan) กลูโคแมนแนน (glucomannan) อาจมีการผสมสี (coloring agent) และแต่งกลิ่นรส
ชนิดของเยลลี่
ผลิตภัณฑ์เยลลี่สำเร็จรูปที่จำหน่ายในท้องตลาดสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบดังนี้
1. เยลลี่ขนมหวาน
เป็นเยลลี่ที่มีเนื้อสัมผัสนุ่ม มีน้ำมาก ใช้ช้อนตักรับประทาน หรือใช้หลอดดูดได้มักรับประทานแบบแช่เย็น เป็นของหวาน เป็นอาหารว่าง หรือ หลังมื้ออาหาร อาจรับประทานกับไอศกรีม เยลลี่ประเภทนี้มีส่วนผสมของสารที่ทำให้เกิดเจล ได้แก่ คาร์ราจีแนน เจลาติน ผงบุก มีการเติมน้ำตาล กรดซิตริก สีผสมอาหาร และสารปรุงแต่งกลิ่นรสผลิตภัณฑ์มีทั้งรส หวานและรสเปรี้ยว เยลลี่ที่ดี ต้องมีลักษณะใสและมีเนื้อสัมผัส อ่อนนุ่มแต่ไม่เหนียวจนหนืดและไม่เหลว ต้องแข็งพอที่จะคงรูปเดิมเมื่อตัด ด้วยมีดก็เป็นเหลี่ยมตามรอยมีด
2. เยลลี่แห้ง
หรืออาจเรียกว่า กัมมี่เยลลี่ (gummy jelly) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน (confectionery) ที่ได้จากการนำสารที่ทำให้เกิดเจล เช่น เจลาติน คาร์ราจิแนน หรือวุ้น ผสมกับสารให้ความหวาน เช่น น้ำตาลทราย น้ำเชื่อมกลูโคส อาจผสมส่วนผสมอื่นๆ เช่น ผลไม้ผัก ธัญชาติ สมุนไพรแต่งสีผสมอาหาร สารให้กลิ่นรส ( กรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก นำส่วนผสมมาผสมให้เข้ากัน ให้ความร้อนจนมีความข้นเหนียวพอเหมาะที่อุณหภูมิที่เหมาะสม หยอดใส่พิมพ์ หรือตัดเป็นชิ้นหลังจากทิ้งไว้ให้เย็น ได้ผลิตภัณฑ์กัมมี่เยลลี่ มีลักษณะแห้งไม่ติดมือ มีเนื้อสัมผัสเหนียวหนึบ แล้วอาจคลุกด้วยน้ำตาลหรือแป้งบริโภคได้
รู้จักกับส่วนประกอบหลักของเจลลี่ ที่ควรรู้ก่อนรับประทาน
เป็นที่ทราบกันดีว่าเจลลี่ หรือเยลลี่นั้น มีส่วนประกอบสำคัญที่ทำมาจาก เจลาติน ซึ่งองค์ประกอบภายในเจลาตินนี้อุดมไปด้วยคอลลาเจน ที่มีศักยภาพในการเสริมสร้างความแข็งแรง ซ่อมแซมให้กับกระดูก เนื้อเยื่อภายในร่างกาย และมีโปรตีน กรดอะมิโนสูงถึง 98 – 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 1 – 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำกับวิตามิน รวมถึงแร่ธาตุเล็กน้อย รวมทั้งยังถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร ทำขนม หรือมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับรูปแบบ เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นด้วยการอัดเม็ดชนิดแคปซูลเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
ประโยชน์ของเยลลี่
1.ปรับปรุงสุขภาพของกระดูก
เนื่องจากเจลาตินที่ใช้ทำเจลลี่มีกรดไลซีน (lysine) ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวันได้ดี บางกรณีผู้คนรับประทานเจลาตินเพื่อลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และปกป้องไม่ให้กระดูกเสื่อมสภาพอีกด้วย
2.การย่อยอาหาร
นอกเหนือจากกรดไซลีน (lysine) ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีกรดกลูตามิก (glutamic acid) ใน เจลาติน ที่เป็นสารอย่างหนึ่งอาจช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารแข็งแรงขึ้น ทำให้ย่อยอาหารได้โดยง่าย และกระตุ้นกระบวนการผลิตน้ำย่อย ทำให้อาหารที่ลงผ่านลำคอไปยังกระเพาะนั้นลื่นขึ้น ไม่ติดขัดในท่อลำเลียง
3.ดูแลผิวพรรณ
ในส่วนประกอบของเจลาตินนี้ ถูกสร้างมาจากคอลลาเจนเสียส่วนใหญ่ จึงช่วยให้ผิวพรรณ แลดูอ่อนเยาว์ เพราะร่างกายของเราที่เติบโตขึ้น ทำให้เกิดริ้วรอยตามวัย เช่น รอยเหี่ยวย่นบนหน้าผาก การบริโภคคอลลาเจน สามารถปรับปรุงร่องรอยอันไม่พึงประสงค์บนใบหน้า และยังเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ทำให้ผิวพรรณดูสุขภาพดีอยู่เสมอ
4.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
งานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกระบุไว้ว่ากรดอะมิโนในเจลาติน ช่วยให้ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานในประเภทที่ 2 ที่ช่วยปรับปรุงสภาพภายในบรรเทาอาการอักเสบลง และลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
5.บำรุงผม และเล็บ
บางคนอาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น แคปซูลที่มีส่วนผสมของผงเจลาติน ซึ่งช่วยให้เพิ่มความหนา ความแข็งแรง ลดอาการเส้นผมหลุด ทั้งนี้ยังป้องกันไม่ให้เล็บเปราะบาง จนเกิดการฉีกขาดง่าย
6.ปรับปรุงปัญหาด้านการนอนหลับ
จากข้อมูลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ปี 2006 เมื่อรับประทานเจลาตินในปริมาณ 3 กรัม ก่อนนอน ชี้ให้เห็นว่าเมื่อตื่นขึ้นมาในยามเช้าทำให้รู้สึกถึงความตื่นตัว มีชีวิตชีวา สดชื่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมิได้แนะนำว่าควรบริโภคตลอดเวลา หรือต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หากคุณมีปัญหาด้านการนอนหลับจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมถึงวิธีการแก้ไขในเบื้องต้น
ข้อเสียของ เยลลี่ หากรับประทานมากเกินควร
การรับประทานเจลาตินมากเกินไป อาจทำให้คุณมีอาการดังนี้
1.รู้สึกหนักท้อง หากทานในปริมาณมาก ๆ ในคราวเดียวก็อาจจะย่อยไม่ทัน ทำให้ท้องตึง จนเกิดความรู้สึกหนักท้องได้
2.ท้องอืด ความรู้สึกว่ามีลมในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ ทำให้อึดอัดไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดท้องคลื่นไส้ หรืออยากอาหารน้อยลง
ข้อควรระวังในการรับประทานเยลลี่
1. เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี “ห้าม” รับประทาน
2. เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี หากรับประทาน ควรรับประทานอย่างถูกต้อง ควรคุมหรือสอนก่อนให้กิน
3. เวลาแกะฝาออกแล้ว ให้ใส่ภาชนะแล้วตักกิน ปลอดภัยกว่ากินตรงๆ
4. เวลากิน ให้กดก้นถ้วยให้เยลลี่ขึ้นมาก่อนแล้วจึงกัดเป็นชิ้นๆ ไม่ให้เอาไปอมแล้วดูดออกมาอยู่ในปากทั้งชิ้นแล้วเคี้ยว
5. ห้ามกินด้วยวิธีบีบก้นถ้วยแรง ๆ โดยไม่เปิดฝา แล้วให้มันพุ่งเข้าปาก
6. เยลลี่ที่ทำจากบุก น่ากลัวกว่าที่ทำจากคาราจีแนน เพราะเนื้อแน่นกว่า
7. เยลลี่ถ้วยเล็ก น่ากลัวน้อยกว่าเยลลี่ถ้วยใหญ่จัมโบ้นิดนึง
8.เยลลี่แช่เย็นจนเกือบแข็ง เพิ่มความเสี่ยงในการสำลักประมาณ 4-5 เท่า
9. การกินเยลลี่ ต้องกินอยู่กับที่ ห้ามเดินไปกินไปหรือวิ่งเล่นขณะกิน
บทส่งท้าย
แม้จะเป็นขนมที่เด็ก ๆ ชอบทาน และหาทานได้อย่างง่ายแล้ว ยังมีประโยชน์อีกด้วย ซึ่งหากทานมากไปก็อาจจะส่งผลเสียตามมาได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังและให้ลูกทานแต่พอดีจะดีกว่า จึงจะได้ประโยชน์มากกว่า
เครดิตรูปภาพ www.eatthis.com www.123rf.com stock.adobe.com www.goodrx.com www.istockphoto.com