แคลเซียม สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทานแคลเซียม

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง แคลเซียม สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทานแคลเซียม เมื่อตั้งครรภ์แล้ว การได้รับโภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเติบโตและพัฒนาการที่สมบูรณ์ของลูกในท้อง  ซึ่งแคลเซียมและวิตามินดีสำหรับคุณแม่ ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อโครงสร้างกระดูกของร่างกายของคุณแม่และทารก ที่สำคัญคุณแม่ควรได้รับแคลเซียมควบคู่กับวิตามินดีที่จะช่วยให้กระดูกสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น 

แคลเซียมสำคัญกับคนท้องอย่างไร

อาหารที่มีแคลเซียม สำหรับคนท้อง ปกติร่างกายคนเราจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม แต่ปริมาณแคลเซียมที่แม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูงสำหรับคนท้องจึงมีความสำคัญมาก เพราะสารอาหารอย่างแคลเซียมจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์ แคลเซียมทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ซึ่งแคลเซียมในร่างกายแม่ท้อง จะถูกดึงไปใช้เสริมสร้างกระดูกทารกในครรภ์ ดังนั้น การที่แม่ท้องได้รับประทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายยังช่วยทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน

ทารกในครรภ์ดึงแคลเซียม จริงหรือไม่

ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมจากแม่ท้องไปใช้ประมาณ 2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่ โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 2 แต่หากแม่ไม่ได้กินแคลเซียมบำรุง ร่างกายก็จะยังมีแคลเซียมเพียงพอต่อการสร้างกระดูกของลูกในท้อง เพราะ 90% ของร่างกายคนเราจะมีแคลเซียมสะสมในกระดูกอยู่แล้ว แต่แม่ท้องอย่าชะล่าใจ เพราะถ้าแม่ได้รับแคลเซียมน้อยก็จะส่งผลเสียต่อตัวเองในระยะยาว ทำให้ฟันผุง่ายขึ้น กระดูกเปราะบางและผุได้ง่ายกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง ดังนั้น ในช่วงตั้งครรภ์ แม่ควรได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทานแคลเซียม

แคลเซียมมีความสำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์มาก ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ที่สามารถช่วยให้หลีกเลี่ยง ภาวะ pre-eclampsia ความดันโลหิตสูง รวมถึงช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ นอกจากนั้น คุณแม่ที่ต้องให้นมบุตร ก็ยังมีความต้องการแคลเซียม 800 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นเมื่อตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการ รับประทานอาหาร เลือกเมนูอาหารหรือนมสำหรับแม่ตั้งครรภ์ที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ เพราะแคลเซียมสำคัญมากสำหรับแม่ตั้งครรภ์ในทุกช่วงไตรมาส แม้แต่หลังคลอดไปแล้ว แคลเซียมมีส่วนช่วยคุณแม่ตั้งครรภ์และหลังคลอดได้ดังนี้

1. เสริมสร้างมวลกระดูก

ผลวิจัยระบุว่าผู้ คุณแม่ให้นม จะสูญเสียมวลกระดูก 3-5% อย่างรวดเร็ว และไม่มีสารอาหารอะไรจะช่วยเรื่องกระดูกได้ดีเท่าแคลเซียม เพื่อเสริมสร้าง บำรุงรักษากระดูกและฟัน

2. ให้อารมณ์ปกติขึ้น

นอกจากแคลเซียมจะอาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความดันโลหิตสูง แคลเซียมยังสามารถช่วยลดการกักเก็บของเหลวในร่างกาย และที่สำคัญ ควบคุมการหลั่งสารเคมีทางสมอง ที่ส่งผลต่ออารมณ์

3. ควบคุมน้ำหนักแม่

แคลเซียมจะช่วยควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถช่วยป้องกันการสะสมของไขมันไม่ให้มากเกินไป จากการกระตุ้นการสลายไขมันสะสม และนอกจากนี้ สารอาหารแคลเซียม ยังช่วยเรื่องสุขภาพอื่นๆ ได้อีกมากมาย ทั้งเรื่องสุขภาพหัวใจ สุขภาพของระบบประสาทอีกด้วย

แคลเซียมคนท้องกินตอนไหน

หากคุณแม่ไม่ได้มีภาวะร่างกายที่จำเป็นจะต้องเสริมแคลเซียม การกินอาหารและดื่มนมในทุก ๆ วัน ก็ถือว่าเพียงพอแล้วที่จะได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน คุณแม่หลายคนจึงอาจจำเป็นจะต้องกินวิตามินเสริมแคลเซียม แล้วยาแคลเซียมคนท้องกินตอนไหนถึงจะดีกันล่ะ ยาเสริมแคลเซียมควรกินตอนที่ท้องว่างหรือกินพร้อมมื้ออาหาร แต่เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุด คุณแม่สามารถแบ่งเป็นแคลเซียมมื้อเช้า 500 มิลลิกรัม และแคลเซียมมื้อเย็นอีก 500 มิลลิกรัม

แหล่งแคลเซียมสำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง

อย่างแรกคือ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต แต่ควรกินในปริมาณเท่าเดิม ไม่ต้องโด๊ป ไม่ต้องเบิ้ล เพราะคนท้องกินนมวัวมากไป บำรุงลูกในท้อง ด้วยอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ เพิ่มความเสี่ยงลูกเป็นภูมิแพ้ สำหรับคนท้องที่ไม่ชอบดื่มนม ไม่ค่อยทานผลิตภัณฑ์ที่มีนมเป็นส่วนประกอบ ให้เลือกบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงสำหรับคนท้อง ดังต่อไปนี้

– ปลาตัวเล็กตัวน้อย เช่น ปลาข้าวสาร ปลากะตัก เป็นต้น คุณแม่นำมาทอดกรอบ กินได้ทั้งตัว ช่วยเสริมแคลเซียมได้ดีไม่แพ้นมเลยทีเดียว

– ธัญพืช ธัญพืชจำพวกถั่ว ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วแดง เต้าหู้ ลูกเดือย เป็นต้น นำมาประกอบอาหารเพิ่มแคลเซียมได้ไม่ต่างจากนม แถมยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเพิ่มคุณค่าสารอาหารมากยิ่งขึ้น

– อาหารไทย แม่ท้องสามารถรับประทานอาหารไทย ๆ ที่มีกะปิเป็นส่วนประกอบก็ได้ เช่น แกงเลียง ต้มส้ม แกงเผ็ดต่าง ๆ

– ผักและผลไม้หลากสี คุณแม่ควรรับประทานผักและผลไม้หลากสีให้มากขึ้น เพื่อเสริมคุณค่าสารอาหารให้ร่างกาย เช่น ผักบรอกโคลี คะน้า ผักโขม แครอท แคนตาลูป เป็นต้น

– ไข่ แม่ท้องควรทานไข่ให้ได้อย่างน้อยวันละ 1 ฟอง เพื่อทดแทนในส่วนของโปรตีน

– เนื้อสัตว์ เช่น หมู ไก่ ปลาให้ได้ทุกวันเพิ่มเสริมโปรตีน ที่สำคัญควรทานปลาให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

– อาหารทะเลอื่น ๆ คุณแม่ควรทานอาหารทะเลอื่น ๆ ก็มีประโยชน์ ช่วยป้องกันการขาดสารไอโอดีน ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรกินเฉพาะเนื้อปลา แต่ควรกินอาหารทะเลชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้ง หรือ ใช้เกลือทะเลเกลือที่เสริมธาตุไอโอดีนปรุงอาหาร ก็จะช่วยบำรุงสมอง และส่งเสริมความฉลาดของลูกในท้องได้ ควรทานปลาให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

บทส่งท้าย

แคลเซียมจำเป็นอย่างมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์  แคลเซียมจะช่วยส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ รักษาความหนาแน่นของกระดูกโดยการสร้างและป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกของแม่เอง ทำให้กระดูกแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

เครดิตรูปภาพ www.pampers.co.uk myexpertmidwife.com torontek.com www.smartparenting.com recipes.net

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (172) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)