บทความนี้ขอแนะนำ “เมื่อคุณแม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ ต้องดูแลตัวเองอย่างไร ถึงจะมีสุขภาพดีทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์” การดูแลสุขภาพในช่วงการตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ และควรใส่ใจอย่างมาก เพราะคุณแม่ต้องคอยระมัดระวังอย่างมาก ถ้ากินหรือทำอะไรที่ไม่ควรจะกินเข้าไป มันจะไม่ได้ส่งผลแค่ตัวคุณแม่เท่านั้น แต่มันจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วย ดังนั้นคุณแม่จะต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้างนั้น บทความนี้มีมาฝากกัน
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
1.ไปฝากครรภ์ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล
คุณแม่มือใหม่เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ สิ่งแรกที่ควรทำคือ ไปฝากครรภ์ เพื่อให้คุณหมอตรวจสุขภาพร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกับแม่หละลูก อีกทั้งการไปฝากครรภ์ยังได้รับคำแนะนำที่ดีจากคุณหมอ เพื่อให้คุณแม่มือใหม่ดูแลตัวเองและลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง
2.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และต้องมีประโยชน์
ต้องกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควรมีประโยชน์เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกในครรภ์ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองและเด็ก
3. ให้เริ่มรับประทานโฟลิคและวิตามินD
การที่คุณแม่นั้นรับประทาน โฟลิค ในขั้นต้นกรดโฟลิคนั้นจะช่วยป้องกันการไม่ให้เด็กนั้นมีพัฒนาการด้านหลอดประสาทที่ผิดปกติ
4. เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลง
การที่คุณแม่นั้นดื่มกาแฟที่มีปริมาณคาเฟอีนเพียงเล็กน้อยในแต่ละวัน จะไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าคุณแม่นั้นดื่มกาแฟที่เข้มข้น และมีปริมาณคาเฟอีนที่อยู่ในระดับที่สูง จะส่งผลผ่านผนังรกไปสู่ทารกเช่นเดียวกับกับแอลกอฮอล์ได้
5.หลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างในขณะที่ตั้งครรภ์
อาหารบางชนิดนั้นอาจทำให้ตัวคุณแม่เองหรือลูกน้อยในครรภ์เจ็บป่วยได้ ซึ่งรวมไปถึงชีสบางชนิด เนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาดิบ ๆ และไข่ที่ปรุงไม่สุกด้วย
6.หยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ไม่มีใครที่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นต้องดื่มไม่เกินเท่าไหร่ถึงจะปลอดภัย แต่ถ้าจะดื่มมันในช่วงที่ตั้งครรภ์ทางเลือกที่ดีที่สุดคืออย่าไปดื่มมันเลย
7. พักผ่อนเพิ่มขึ้น
เพราะการที่คุณแม่นั้นตั้งครรภ์ จะทำให้คุณแม่นั้นรู้สึกเหนื่อยเป็นอย่างมาก ร่างกายของคุณแม่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นแล้วคุณแม่ควรที่จะหาเวลาพักผ่อนให้มาก ๆ เพื่อที่สุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์นั้นจะได้แข็งแรง
8.หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ติดตามข่าวสาร พัฒนาการของลูกน้อย จากแหล่งข้อมูลในโลกออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ หรือเข้ากลุ่มคนท้อง เพื่อแชร์ประสบการณ์หรือหาคำตอบจากบรรดาแม่ ๆ ทั้งหลาย
9.คุยเรื่องยากับหมอ
ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรว่ามียาใดบ้างที่คุณแม่สามารถรับประทานได้เป็นปกติในขณะที่ตั้งครรภ์ ในตอนที่รู้สึกเจ็บป่วย ปวดหัว หรือมีไข้
10.ดูแลจิตใจให้ผ่องใส ไม่วิตกกังวล
ความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีความเครียด สารเคมีในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทันที ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่ และกระทบต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยเมื่อแรกเกิด มีความเสี่ยงเป็น ออทิสติก หรือบกพร่องทางภาษา รวมทั้งมีความเสี่ยงในพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรอารมณ์ดีเข้าไว้ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี
การดูแลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์
1.อาหารบำรุงครรภ์ควรเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางสูง
2.อาหารที่ช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง เช่น น้ำขิง และยังช่วยเร่งการผลิตน้ำนมได้เป็นอย่างดี
3.ผักผลไม้ โดยเฉพาะผักสีเขียว, ผักสีส้ม เพราะมีประโยชน์ให้ลูกน้อยเจริญเติบโตอย่างสมวัยและช่วยให้สุขภาพของคุณแม่แข็งแรงอีกด้วย
4.เริ่มทานอาหารที่จะช่วยเร่งน้ำนม เช่น แกงเลียง ยำหัวปลี และผัดขิง เป็นต้น
5.ปรับตัวในเรื่องการเดิน การนั่ง การนอน ต้องระมัดระวังมากขึ้น ทุกอย่างต้องช้าลง คนท้องไม่ใช่คนป่วยก็จริง แต่ก็ควรระมัดระวังไว้จะดีกว่า
6.การนอนคว่ำในช่วงไตรมาสแรกอาจไม่ได้ส่งผลอะไร แต่เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ท้องเริ่มใหญ่ขึ้นควรนอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะช่วยพยุงท้องได้ดีและช่วยให้คุณแม่หายใจได้สะดวกมากขึ้น
7.การทานยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
8.ผิวแตกลาย เป็นผลข้างเคียงจากการที่ท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว การป้องกันโดยทาครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอไรเซอร์ อาจช่วยลดรอยแตกลายได้บ้าง
9.อึดอัด แน่นท้อง สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานอาหารให้น้อยลงแต่แบ่งเป็นหลายมื้อๆ
10.การออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่งเสริมให้กล้ามเนื้อต่างๆ แข็งแรงขึ้นและช่วยให้คุณแม่นอนหลับสบายวันละประมาณ 7-9 ชั่วโมง ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี ท้องไม่ผูก
11.การพักผ่อน ให้มากกว่าปกติและควรได้พักผ่อนในช่วงกลางวันด้วย
12.การแต่งกาย ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม ไม่รัดรูป, ปรับขนาดยกทรงให้พอเหมาะกับเต้านมที่เพิ่มขนาดขึ้น รองเท้าควรใส่ไม่มีส้น
อาการที่พบขณะตั้งครรภ์
1. คลื่นไส้ อาเจียน ที่เรียกกันว่าแพ้ท้อง พบได้ตั้งแต่ประจำเดือนเริ่มขาด ควรรับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง ไม่เคร่งเครียด และกังวลใจจนเกินไป ถ้ามีอาการมากควรปรึกษาแพทย์
2.ปัสสาวะบ่อย เป็นเพราะมดลูกที่โตขึ้นไปกด และเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะออกบ่อย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน เนื่องจากจะทำให้กระเพาะปัสสาวะ และกรวยไตอักเสบได้
3. ท้องอืด เนื่องจากกระเพาะอาหาร และลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก ของหมักดอง อาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดลม หรือแก๊สมาก
4. ท้องผูก พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เพราะการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้าลง ควรรับประทานอาหารที่มีกากใน เช่น ผัก ผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายบ้าง และขับถ่ายเป็นประจำทุกวัน ถ้าท้องผูกมากควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยาระบายท้องรับประทานเอง
5.เส้นเลือดขอด เกิดจากการที่มดลูกขยายใหญ่ขึ้น และไปกดการไหลกลับของเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนขา ทำให้เลือดมาคั่งอยู่ในบริเวณที่ต่ำกว่าตั้งแต่โคนขาลงมาจนถึงเท้า เมื่อเลือดคั่งอยู่นาน ทำให้เส้นเลือดโป่งพองขึ้น ควรนอนยกเท้าให้สูงกว่าลำตัวบ้าง ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือนั่งห้อยเท้า ควรมีโต๊ะวางปลายเท้าให้สูง เปลี่ยนอิริยาบถทุก 1 ชั่วโมง
6. ตกขาว พบได้ตลอดระยะตั้งครรภ์ เนื่องจากเลือดมาเลี้ยงช่องคลอดมากขึ้น จึงขับมูกขาวออกมาก ถือเป็นเรื่องปกติ ควรรักษาความสะอาด แต่ถ้ามีตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีอาการคันร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์
7. ตะคริว มักเป็นที่ปลายเท้า และน่อง พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เกิดจากระดับแคลเซียมในเลือดลดต่ำ และจากการไหลเวียนของเลือดที่ขาช้าลง ควรนอนยกขาให้สูง นวด และใช้น้ำอุ่นประคบ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม กุ้ง ปลาตัวเล็ก ๆ ปลากระป๋อง ผักใบเขียวจัด เป็นต้น
8. เด็กดิ้น คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกในครรภ์เป็นครั้งแรก เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4-5 เดือน ความรู้สึกจะแผ่ว ๆ เหมือนปลาตอดเบา ๆ เมื่อใกล้คลอดเด็กในครรภ์โตขึ้นจะดิ้นแรง ถ้ารู้สึกลูกดิ้นน้อยลงควรพบแพทย์
อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์
เมื่อมีอาการเหล่านี้ หรืออาการที่คิดว่าผิดปกติอื่น ๆ ควรรีบพบแพทย์ หากทิ้งไว้นานจะมีอันตรายต่อคุณแม่ และลูกที่อยู่ในครรภ์
– คลื่นไส้ อาเจียนมากว่าปกติ
– ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
– ปัสสาวะขัดแสบ มีไข้สูง
– ตกขาว มีกลิ่นเหม็น มีสีเขียวปนเหลือง คันช่องคลอด
– บวมตาหน้า มือ และเท้า
– ลูกดิ้นน้อยลงจนผิดสังเกต อย่ารอจนลูกไม่ดิ้น
– มีเลือดออกทางช่องคลอด
– มีน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะออกทางช่องคลอด
– ปวดท้อง หรือท้องแข็งเกร็งบ่อยมาก
– มีเลือดออกทางช่องคลอด
บทส่งท้าย
คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรที่จะเข้มงวดกับการดูแลตัวเอง เพื่อให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ดี แข็งแรงสมบูรณ์ และไม่มีอาการเสี่ยงใดๆ ทั้งนี้เมื่อคุณแม่ทราบเทคนิคในการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ปกป้องสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
เครดิตรูปภาพ www.oviahealth.com www.vitabiotics.com parenting.firstcry.com kumparan.com www.parentcircle.com