เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สบาย ต้องทำอย่างไรดี และยาประเภทไหนบ้างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน

บทความนี้ขอแนะนำ “เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่สบาย ต้องทำอย่างไรดี และยาประเภทไหนบ้างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน” ในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ ตั้งระวังและต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วย เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ถ้าเกิดป่วยขึ้นมา การทานยานั้นก็อาจจะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ด้วยเช่นกัน และยาชนิดไหนบ้างที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรทาน บทความนี้มีมาฝากกัน

Fever During Pregnancy: The Ultimate Guide | Peanut

อาการ ‘ไข้’ ของคุณแม่ตั้งครรภ์

โดยปกติแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นไข้ได้ง่ายเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ซึ่งไข้คือปฏิกิริยาหนึ่งที่ร่างกายของคนเราแสดงออกมาเมื่อมีการติดเชื้อหรือมีอาการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย ฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีไข้ ก็จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายกำลังมีการติดเชื้อหรืออักเสบเกิดขึ้น จึงต้องรีบหาสาเหตุโดยเร็วเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์

How to treat a cold during pregnancy | Pregnancy | Mother & Baby

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อคุณแม่ไม่สบาย

บางครั้งการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยหรืออาการไม่สบายที่ไม่รบกวนชีวิตประจำวันมากนัก คุณแม่ก็สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้โดยไม่ต้องไปพบคุณหมอ เช่น การเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น นอกจากนี้คุณแม่ยังสามารถกินยาสามัญทั่วไปเพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยอย่างปลอดภัย  ได้แก่

– ไข้หวัด สามารถกินยาลดไข้พาราเซตามอล (ไม่เกิน 8 เม็ดหรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยรับประทานในขนาด 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือ 1 เม็ด 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง) และยาลดน้ำมูกคลอเฟนิรามีน (ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 เวลา หลังอาหารหรือก่อนนอน ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วง ซึมได้) เพื่อบรรเทาอาการ พักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ (2 ลิตรต่อวัน) และระมัดระวังห้ามจิบยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

– ปวดเมื่อยตามร่างกาย สามารถใช้ยาทาหรือยานวดเฉพาะที่ตามตำแหน่งที่มีอาการปวดได้

– ถ่ายเหลวที่ไม่มีไข้หรือมูกเลือดปน สามารถดื่มน้ำเกลือแร่สลับกับน้ำต้มสุกเพื่อชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ได้

– ผื่นคันตามร่างกายที่ไม่มีไข้หรือตุ่มหนอง สามารถใช้ยาทาคาลาไมน์หรือรับประทานยาคลอเฟนิลามีนเพื่อลดอาการคันได้

เมื่อไหร่ถึงต้องไปพบหมอ

เมื่ออาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือคุณแม่รู้สึกกังวลใจกับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นว่าจะมีอันตรายต่อตนเองหรือลูกในครรภ์หรือไม่ แนะนำให้ไปพบคุณหมอทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการต่อไปนี้ ได้แก่ ไข้สูงลอยที่ไม่ดีขึ้นหลังกินยาพาราเซตามอล ไข้ออกผื่น ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว หายใจหอบเหนื่อยจนนอนราบไม่ได้ ปัสสาวะแสบขัด หรือถ่ายเหลวที่มีไข้หรือมีมูกเลือด เหล่านี้เป็นอาการนำของความเจ็บป่วยที่รุนแรงขณะตั้งครรภ์ แนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อรีบทำการตรวจและวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและให้การรักษาแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่จะหาวิธีการรักษาได้ทันท่วงที

13 Medications To Avoid During Pregnancy

คนท้องห้ามกินยาอะไรบ้าง ทำไมถึงกินไม่ได้

         ในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะมีอาการเจ็บป่วยได้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการจะกินยาหรือใช้ยาตัวไหนก็อาจจะตั้งเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นไปอีก เพราะไม่ได้ตัวคนเดียวแล้ว เพราะในช่วงที่ตั้งครรภ์ทุกอย่างที่คุณแม่กินเข้าไปจะถูกย่อยและลำเลียงผ่านรกไปเพื่อช่วยให้ลูกเจริญเติบโต แต่ยาบางชนิดที่ลำเลียงผ่านรกรวดเร็ว เช่น ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกโดยเฉพาะในช่วง 1-3 เดือนแรกได้ ทำให้ทารกเสี่ยงพิการ หรือหนักกว่านั้นอาจทำให้แท้งเลยทีเดียว คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงการกินยาเหล่านี้

1.ยาต้านเชื้อรา

          ยาต้านเชื้อรา เช่น Fluconazole (Diflucan) ที่ใช้รักษาเชื้อราในช่องปากและช่องคลอด หากใช้ในปริมาณ 400-800 มิลลิกรัมต่อวัน ในระยะยาวช่วงไตรมาสแรกอาจส่งผลให้ลูกมีความผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง กระดูกต้นขาโก่ง ซี่โครงบาง กระดูกยาว และโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แต่หากใช้เพียงครั้งเดียวในปริมาณ 150 มิลลิกรัม เพื่อรักษาเชื้อราในช่องคลอด จะไม่ส่งผลต่อลูกค่ะ ทั้งนี้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้งหากจำเป็นต้องใช้ยา

2.ยารักษาสิว

          ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมนในร่างกานมีการเปลี่ยนแปลง คุณแม่บางท่านก็จะมีสิวขึ้นตามใบหน้า ทำให้เกิดความกังวลใจได้ อาจจะต้องการรักษาสิวให้หายโดยการใช้ยา แต่ในยารักษาสิวโดยเฉพาะยากลุ่มกรดวิตามินเอ เช่น ไอโซเตรติโนอิน (Accutane) ซึ่งใช้รักษาสิวขั้นรุนแรง จะไปเพิ่มความเสี่ยงของการพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติของหัวใจและสมอง และความผิดปกติทางร่างกายในทารก นอกจากนี้ยากลุ่ม Tetracyclines เช่น Doxycycline (Doryx) ที่ใช้รักษาสิวและการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้ฟันของทารกเปลี่ยนสีอย่างถาวร ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงยาทั้ง 2 ประเภทนี้ในระหว่างตั้งครรภ์

3. ยานอนหลับ หรือยาคลายวิตกกังวล

          เช่น ยา Diazepam หากใช้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกปากแหว่งเพดานโหว่และเป็นไส้เลื่อนที่ขาหนีบ หากใช้ในช่วงไตรมาสที่ 2 อาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบเลือดและหัวใจของทารก และหากมีการใช้ปริมาณเกินขนาดในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือมีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ทารกเกิดมามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม มีอาการเกร็ง สั่น กระวนกระวาย ท้องเสีย คลื่นไส้ และเจริญเติบโตช้า

Self-medication in pregnancy

4. ยาต้านซึมเศร้า

          ยาต้านซึมเศร้าบางประเภท เช่น Fluoxetine จะส่งผลให้ปอดทารกเกิดความผิดปกติ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด แต่การหยุดใช้ยาต้านซึมเศร้าในคุณแม่ที่กำลังรักษาโรคนี้อยู่อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ได้ จึงควรมีแพทย์คอยดูแลและแนะนำอย่างใกล้ชิด

5. ยากันชัก ยาแก้โรคลมชัก

          การกินยากันชัก อาทิ ยา Topiramate ซึ่งนำมารักษาอาการปวดหัวไมเกรนและโรคทางจิตเวชอื่น ๆ อาจทำให้เกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ในทารก นอกจากนี้ยากลุ่ม Valproate และ Phenobarbital ก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสสุดท้าย เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดเนื่องจากขาดวิตามินเค และยังทำให้เกิดภาวะขาดโฟลิกในคุณแม่ได้อีกด้วย แต่หากไม่ใช้ยาเลยก็อาจอันตรายต่อโรคประจำตัวของคุณแม่ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์และพยายามใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุด

6. ยาแก้ไอ ชนิดที่มีไอโอดีน

          สำหรับยาแก้ไอที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงคือยาชนิดที่มีไอโอดีน เพราะไอโอดีนจะไปสะสมอยู่ในต่อมไทรอยด์ของลูก อาจทำให้ลูกเกิดอาการคอพอกและมีอาการผิดปกติทางสมองได้

7. ยาแก้คัน หรือยาแก้แพ้

          ที่เรารู้จักกันดีคือ ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ซึ่งเป็นยาลดอาการคัน อาการแพ้ต่าง ๆ และช่วยลดน้ำมูกได้ แต่หากใช้ยานี้ติดต่อกันไปนาน ๆ อาจทำให้คุณแม่มีเกล็ดเลือดต่ำ ส่งผลให้ลูกมีอาการเลือดไหลผิดปกติ และอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้

8. ยารักษาโรคเบาหวาน

          สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน ห้ามกินยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) เด็ดขาด เนื่องจากยานี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารก หากจำเป็นต้องรักษาเบาหวานควบคู่กันแนะนำให้ฉีดอินซูลินแทนจนกว่าจะคลอด

บทส่งท้าย

หากคุณแม่เป็นหวัด เป็นไข้ ก็อาจจะทายาลดไข้ได้บ้าง แต่ไม่เยอะ ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์ด้วย แต่ในขณะเดียวกันคุณแม่อาจจะมีอาการป่วยแบบอื่นขึ้นมาด้วย และอาจจะรักษาด้วยตัวเองแบบไม่ต้องพึ่งพายาก็อาจจะไม่หาย แต่ยาบางตัวนั้นก็ไม่ควรทานเพราะอาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นถ้ามีอาการเจ็บป่วย ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ไวที่สุด

เครดิตรูปภาพ www.peanut-app.io www.freepik.com www.momjunction.com fundaciondewaal.org

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (190) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)