เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยอันตรายที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภัยอันตรายที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่ และยังส่งผลกระทบถึงลูกน้อยในครรภ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ควรต้องระมัดระวัง และดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ Gestational Diabetes เป็นอาการของคุณแม่ที่อาจจะเป็นเบาหวานมาก่อนหรือระหว่างการตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากภาวะรกในครรภ์ทำการสร้างฮอร์โมนหรือสารเคมีบางอย่าง เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลิน และทำให้ไปรบกวนการทำงานของอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด ระหว่างนี้คุณแม่ต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ดี เพื่อรักษาชีวิตของทารกน้อยในครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ แต่บางรายอาจเผชิญภาวะนี้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ส่วนใหญ่แพทย์จะตรวจพบภาวะดังกล่าวได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด แต่หญิงตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ปากแห้ง และรู้สึกเหนื่อยหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งบางอาการค่อนข้างคล้ายคลึงกับอาการของคนตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับอาการที่เผชิญอยู่

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สัญญาณเตือนที่คุณแม่สังเกตได้

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นที่บอกถึงว่าอาจมีภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

– ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ

– มีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา

– การมองเห็นของดวงตาพร่ามัวทั้งสองข้าง

– น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์

– ริมฝีปากแห้งมาก

– รู้สึกกระหายน้ำมาก ดื่มน้ำบ่อย

– แผลต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์จะหายช้า

Diabetes & Pregnancy - i-Health

ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีปัจจัยเสี่ยงจากอะไรบ้าง 

1.คุณแม่มีอายุมากขณะตั้งครรภ์ (30 ปีขึ้นไป)

2.มีน้ำหนักเกินก่อนการตั้งครรภ์

3.มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน (เครือญาติฝั่งคุณแม่)

4.ในครรภ์แรกคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน

5.มีน้ำตาลในปัสสาวะสูง

6.ครรภ์แรกคลอดลูกมีน้ำหนัก 4 กิโลกรัม

7.มีประวัติทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ หรือเสียชีวิตระหว่างคลอด

ภาวะแทรกซ้อนของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ผลกระทบต่อทารกในครรภ์

1.มีน้ำหนักตัวมาก ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่สูงมากของหญิงตั้งครรภ์อาจขัดขวางการทำงานของตับอ่อน โดยจะกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคลอด หากเกิดภาวะดังกล่าว แพทย์อาจประเมินให้ทำการผ่าคลอดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของช่องคลอด

2.ตัวเหลือง ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำอาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะตัวเหลืองหลังคลอด ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องเข้ารับการรักษาต่อในโรงพยาบาล

3.ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทารกแรกเกิดบางรายอาจเผชิญภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากเกินไป และอาจทำให้ทารกมีอาการชักได้ อย่างไรก็ตามการให้นมบุตรและการฉีดกลูโคสเข้าทางหลอดเลือดดำสามารถปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

4.คลอดก่อนกำหนด เด็กอาจคลอดในช่วงก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์และอาจเผชิญภาวะหายใจลำบากซึ่งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจนกว่าปอดของทารกจะสมบูรณ์เต็มที่ แต่ทารกที่เกิดจากแม่ซึ่งป่วยเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ก็อาจเผชิญภาวะหายใจลำบากได้เช่นเดียวกัน แม้จะไม่ได้คลอดก่อนกำหนดก็ตาม

ผลกระทบต่อมารดา

1.ภาวะน้ำคร่ำมาก ปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และอาจเกิดปัญหาอื่นๆขึ้นในระหว่างคลอดได้

2.เบาหวานหลังคลอด ผู้ที่เคยเผชิญภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นเบาหวานอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ลูกคนต่อไป และอาจป่วยด้วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 หลังคลอดได้ ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าว

3.ครรภ์เป็นพิษ ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์

คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เลือกกินอาหารอย่างไรดี

สิ่งที่ควรกิน

– ในหนึ่งวันควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 3 มื้อ อาจจะเสริมมื้อว่างให้ห่างจากมื้อหลัก 2-4 ชั่วโมง

– ควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮวีท ฯลฯ

– เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก-ผลไม้ เพื่อช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด

– เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ ปลา แซลมอน ไข่ เต้าหู้ นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม

– เลือกไขมันดี จากอะโวคาโด ถั่ว มะกอก

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

– ลดอาหารประเภทแป้ง หลีกเลี่ยงของหวาน น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์

– หลีกเลี่ยงของทอด โดยเฉพาะอาหารที่ชุบแป้งทอด ฟาสต์ฟู๊ด เช่น พิซซ่า โดนัท แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ

– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก, เบคอน, แฮม, กุนเชียง, หมูยอ) ผลไม้ดอง-แช่อิ่ม อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ฯลฯ

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ถ้าไม่รีบไปปรึกษาแพทย์จะเป็นอย่างไร

– ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์

– ทารกในครรภ์มีพัฒนาการการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์

– ทารกมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

– ทารกมีแคลเซียม และแมกนีเซียมในเลือดต่ำ

– ทารกมีระบบทางเดินหายใจผิดปกติ

– ตัวเหลืองหลังคลอด

– คลอดออกมาพิการ

การรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การรักษาคือลดระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงคนปกติให้มากที่สุดโดยการ คุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และการฉีดอินซูลิน และควรจะเจาะเลือดเพื่อปรับขนาดอินซูลินแนวทางการรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้แก่

– การรับประทานอาหาร

– การเจาะเลือดเพื่อควบคุมโรค

– การรักษาด้วยยา

– การออกกำลังกายเป็นประจำ

บทส่งท้าย

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามเบาหวานสามารถควบคุมได้ หากคุณแม่มีการเลือกรับประทานอาหารให้สมดุล ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสมดุลควบคู่กันไปด้วย

เครดิตรูปภาพ

wexnermedical.osu.edu torontek.com www.myhealthexplained.com www.stlukeshealth.org

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (159) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)