อาการท้องแข็งในคุณแม่ตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากและจะอันตรายหรือเปล่า 

บทความนี้ขอแนะนำ “อาการท้องแข็งในคุณแม่ตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากและจะอันตรายหรือเปล่า” คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะท้องแรก ย่อมต้องใส่ใจดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะร่างกายมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้คุณแม่ต้องรับมือกับอาการคนท้องตลอดเวลา โดยเฉพาะอาการท้องแข็ง ซึ่งถือเป็นอาการเจ็บปวดอย่างหนึ่งที่ควรระวังเป็นพิเศษ ซึ่งอาการท้องแข็งแบบไหนที่ต้องระวัง บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน

Abdominal pain in the last 3 months of pregnancy: What you need to know |  Vinmec

อาการท้องแข็ง คืออะไร

อาการท้องแข็ง คือ อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายคุณแม่พร้อมคลอดลูกแล้ว ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากร่างกายหลั่ง ฮอร์โมนออกซิโทซิน ไปกระตุ้นให้มดลูกส่วนต้นหดรัดตัว โดยคุณแม่อาจจะรู้สึกแน่นท้อง หน้าท้องแข็ง และมีอาการปวดท้องคล้ายกับปวดประจำเดือน ปวดหน่วง และปวดอุจจาระ โดยในช่วงนี้คุณแม่พบอาการท้องแข็งจริง และ ท้องแข็งหลอก ได้เช่นกัน ทำให้หลายคนเข้าใจผิด และไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของอาการ ท้องแข็งจริง และท้องแข็งหลอกได้

Why do you have headaches in the 4th month of pregnancy? | Vinmec

สาเหตุของอาการท้องแข็ง

อาการท้องแข็งสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดอาการท้องแข็งคือ

 1.ท้องแข็งจากการที่ลูกโก่งตัว  เป็นอาการท้องแข็งที่พบได้บ่อยที่สุด คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องแข็งบางที่ นิ่มบางที่ ไม่แข็งทั่วทั้งท้อง เกิดจากเด็กในท้องดิ้นหรือโก่งตัวไปชนเข้ากับผนังมดลูกนั่นเอง จนทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของทารก เช่น ศอก ไหล่ เข่า หัว หรือก้นปรากฏนูนที่หน้าท้อง ภาวะท้องแข็งแบบนี้ไม่อันตราย เพราะเป็นการดิ้นตามธรรมชาติของทารก

2.ท้องแข็งจากการที่มดลูกบีบรัดตัว  อาการจากสาเหตุนี้มดลูกในท้องจะแข็งขึ้นมาทั้งหมด ไม่ได้แข็งเป็นบางจุดบางที่เหมือนตอนเด็กโก่งตัว อาการจะเหมือนกับปวดประจำเดือน ช่วงอายุครรภ์ที่พบมีอาการท้องแข็ง มดลูกบีบตัวก่อนกำหนดบ่อยที่สุด ก็คือช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ซึ่งก็เป็นช่วงที่ลูกในท้องดิ้นมากที่สุด การที่ลูกดิ้นมาก ๆ ก็อาจมีส่วนไปกระตุ้นทำให้มดลูกบีบตัวบ่อยขึ้นได้ด้วยเหมือนกัน ทำให้รู้สึกเหมือนเจ็บท้องคลอด แต่หากคุณแม่แข็งแรงและอดทนไหว ความเจ็บปวดจะค่อย ๆ หายไปภายใน 2 สัปดาห์ และสามารถคลอดลูกตามกำหนดได้ปกติ

3.ท้องแข็งเพราะกินมากเกินไป  เชื่อว่าหลายคนมีอาการนี้ในช่วงที่ท้องแก่ คือกินอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ ก็แน่นท้องจนท้องแข็งเป๊ก นั่นเป็นเพราะความจุช่องท้องมีพื้นที่จำกัด เมื่อท้องมดลูกก็โตขึ้นจนไปเบียดอวัยวะภายในไปหมด ยิ่งท้องแก่มดลูกก็ยิ่งโต กระเพาะอาหารก็ยิ่งถูกเบียดมากขึ้น กินอะไรนิดหนึ่งก็แน่น ท้องแข็ง ซึ่งไม่ได้เกิดจากมดลูกบีบตัวแต่อย่างใด วิธีแก้คือให้คุณแม่เปลี่ยนไปกินอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย ๆ แทน กินให้น้อย แต่กินถี่ และอย่าปล่อยให้ท้องผูก เมื่อได้ขับถ่ายจะรู้สึกดีขึ้น
Pregnancy Pain Images – Browse 33,606 Stock Photos, Vectors, and Video |  Adobe Stock

ท้องแข็งอาการเป็นอย่างไร

ท้องแข็งเป็นอาการของสัญญาณใกล้คลอด ที่มักจะเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 40 ของการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่อาจต้องเผชิญกับอาการท้องแข็งจริง และท้องแข็งหลอก ซึ่งเราสามารถแยกแยะอาการของท้องแข็งจริง และท้องแข็งหลอก ได้ดังนี้

ท้องแข็งจริง

สำหรับอาการของท้องแข็งจริง คุณแม่อาจรู้สึกแน่นท้อง และรู้สึกหน้าท้องแข็งเมื่อสัมผัส และยังมีอาการปวดท้อง ไม่สบายท้อง คล้ายกับปวดประจำเดือน หรือปวดหน่วง ๆ คล้ายกับปวดอุจจาระ ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นนั้น จะเป็นจังหวะ ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกปวดเพียงเล็กน้อย จนถึงขั้นปวดอย่างรุนแรง โดยอาการท้องแข็งจะเกิดทุก 15-20 นาที และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ และหายค่อย ๆ เกิดบ่อยขึ้นในช่วงใกล้คลอด

ท้องแข็งหลอก

โดยทั่วไปแล้ว อาการท้องแข็งหลอกมักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 28-40 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้คุณแม่สับสน และเข้าใจผิดว่าอาการท้องแข็งหลอก เป็นสัญญาณของการใกล้คลอดแล้ว โดยคุณแม่อาจมีอาการรู้สึกเหนื่อย มีภาวะขาดน้ำ รู้สึกแน่นท้อง หรือไม่สบายท้อง แต่อย่างไรก็ตามอาการปวดท้องหลอก จะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรงมากนัก และมักจะหายไปเมื่อปัสสาวะ และเปลี่ยนท่าทางการนั่งหรือนอน ทั้งนี้คุณแม่สามารถดื่มน้ำบ่อย ๆ ออกกำลังกายเบา ๆ และเปลี่ยนท่าทางการนั่ง และการนอน เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องหลอกได้
Vaccines you need during pregnancy—and the ones you shouldn't get - Today's  Parent

ท้องแข็งแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

หากคุณแม่พบว่ามีอาการท้องแข็งผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของการคลอดก่อนกำหนดได้ ดังนั้นหากคุณแม่มีอาการท้องแข็ง ร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

– ปากมดลูกเปิด และถุงน้ำคร่ำแตก

– ปวดท้อง และไม่สบายท้องอย่างรุนแรง

– แน่นท้อง และรู้สึกหน้าท้องแข็งเวลาสัมผัส

– มีเลือด หรือมูกเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด

– มีอาการท้องแข็งก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์

– รู้สึกปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน คล้ายกับการถูกกดทับ

– อาการปวดท้องไม่ทุเลาลง แม้ว่าจะพักผ่อน และกินยาบรรเทาแล้ว

ดูแลตัวเองยังไง เมื่อมีอาการท้องแข็ง

– ทำกิจกรรมคลายเครียด  คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก  และหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง และนอนหลับพักผ่อน ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

– ไม่กลั้นปัสสาวะ  การกลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ อาจทำให้กระเพาะปัสสาวะโตจนไปเบียดมดลูกได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องแข็งตึง ดังนั้นเมื่อคุณแม่ปวดปัสสาวะ ควรรีบไปเข้าห้องน้ำทันทีเพราะเมื่อปัสสาวะแล้ว อาการท้องแข็งตึงก็จะหายไปนั่นเอง

– อาบน้ำอุ่น  การอาบน้ำอุ่น และการประคบเย็นบริเวณหน้าท้อง หรือบริเวณหลัง ช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลาย ขจัดความเครียด และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการท้องแข็ง

– เดินย่อยหลังการรับประทานอาหาร  หลังจากรับประทานอาหารเสร็จ คุณแม่ควรเดินย่อยสักครู่ ไม่ควรนอนทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการจุกเสียด

– ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสสุดท้าย  เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะไปกระตุ้นแถวบริเวณปากมดลูก ทำให้มดลูกมีการบีบตัวตามมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการตั้งครรภ์

บทส่งท้าย

ท้องแข็ง ถือเป็นอาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจต้องเผชิญ เพราะเมื่อถึงเวลาใกล้คลอด อาการท้องแข็งก็มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามนอกจากอาการท้องแข็งแล้ว คุณแม่อาจต้องเผชิญกับอาการ ท้องแข็งหลอก ที่ทำให้รู้สึกแน่นท้อง และไม่สบายท้องเช่นกัน ดังนั้นต้องพยายามสังเกตอาการให้ดี

เครดิตรูปภาพ www.vinmec.com stock.adobe.com www.todaysparent.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)