ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบนี้หมายความว่ายังไง การดิ้นของลูกในท้องเป็นสัญญาณที่คุณแม่ควรรู้

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้นแบบนี้หมายความว่ายังไง การดิ้นของลูกในท้องเป็นสัญญาณที่คุณแม่ควรรู้ การดิ้นของทารก ไม่ได้เป็นเพียงสัญญาณให้คุณแม่และครอบครัวรู้สึกตื่นเต้นและดีใจเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพของทารกด้วย คุณแม่จึงควรจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงไว้อยู่เสมอ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย

การดิ้นของลูกสำคัญอย่างไร ลูกดิ้นบอกอะไรได้บ้าง

การดิ้นของลูก เป็นการบ่งบอกถึงระดับพัฒนาการขั้นต้น ทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบแล้วว่าขณะนี้ลูกสามารถที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคุณพ่อคุณแม่ได้ เช่น มีการเตะหรือดิ้น หรือขยับแขนขาเมื่อได้ยินเสียงดนตรี เสียงร้องเพลง เสียงเล่านิทาน หรือเสียงคุยกันของคุณพ่อคุณแม่ มากไปกว่านั้น การดิ้นของลูกก็ยังสามารถเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติได้ด้วยเหมือน เช่น คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง หรือไม่ดิ้นเลย จากที่ปกติจะดิ้นเป็นประจำ

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน การดิ้นของทารกบอกอะไรเราได้บ้าง

ทารกในครรภ์จะเริ่มดิ้นตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 7-8 สัปดาห์ แต่คุณแม่ส่วนใหญ่จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นได้ชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 3 การดิ้นของลูกน้อยเกิดจากการพัฒนาของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ ลักษณะการดิ้นของลูกน้อยแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป บางคนอาจดิ้นแรงและถี่ บางคนอาจดิ้นเบาและช้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น

– ช่วงเวลา ทารกในครรภ์มักจะดิ้นร่าเริงในช่วงเวลาที่คุณแม่นอนพัก หรือหลังทานอาหาร

– ปริมาณน้ำตาลในเลือด หลังจากรับประทานอาหาร ปริมาณน้ำตาลในเลือดของคุณแม่จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลูกน้อยมีพลังงานในการดิ้นมากขึ้น

– กิจกรรมของแม่ การเคลื่อนไหวร่างกายของแม่ อาจส่งผลให้ลูกน้อยรู้สึกเหมือนถูกกล่อมจนหลับ และดิ้นน้อยลง

ลูกดิ้น คุณแม่จะมีความรู้สึกอย่างไรนะ

เวลาที่ลูกดิ้น เตะ หรือเคลื่อนไหว คุณแม่จะรู้สึกราวกับว่ามีอะไรกำลังกระพืออยู่ภายในท้อง คล้ายกับเวลาที่ผีเสื้อกระพือปีก หรือรู้สึกเหมือนมีวงคลื่นเล็ก ๆ อยู่ในท้อง คล้ายกับวงคลื่นเวลาที่ปลาว่ายน้ำ อย่างไรก็ตาม ระยะแรกคุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกตัวว่าลูกดิ้น และอาจแยกไม่ออกว่าเป็นอาการจุกเสียด หรือเป็นเพราะลูกกำลังดิ้น แต่แม่ที่ตั้งท้องครั้งที่ 2 หรือ 3 จะสามารถแยกแยะการดิ้นได้ดีกว่า เพราะมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว 

วิธีการนับลูกดิ้น ที่นิยมจะมี 2 วิธี

1.วิธีของ Cardiff (count-to-ten)

– นับการดิ้นหลังจากตื่นนอน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า จนครบ 12 ชั่วโมง

– ถ้านับการดิ้นได้ น้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 12 ชั่วโมง แปลว่าผิดปกติ ให้พบแพทย์

2.วิธีของ Sadovsky

– นับการดิ้นหลังทานอาหารแต่ละมื้อ (เช้า, กลางวัน, เย็น) โดยนับการดิ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร

– ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 ชั่วโมง แปลว่าปกติ

– ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง ภายใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่อไปอีกจนครบ 4-6 ชั่วโมง

– ถ้านับการดิ้นได้ 4 ครั้งขึ้นไป แปลว่าปกติ และติดตามการดิ้นหลังมื้ออาหารถัดไป

– ถ้านับการดิ้นได้น้อยกว่า 4 ครั้ง แปลว่าผิดปกติ ให้พบแพทย์

– ถ้านับการดิ้นทั้งหมดได้ น้อยกว่า 12 ครั้ง ต่อวัน แปลว่าผิดปกติ ให้พบแพทย์

ลูกดิ้นแบบไหนอันตราย

อย่างที่ได้กล่าวไปตั้งแต่แรกแล้วว่า การดิ้นของลูกไม่เพียงแต่บอกถึงการมีสุขภาพแข็งแรงและมีพัฒนาการสมวัยเท่านั้น บางครั้งลูกดิ้น ก็เป็นสัญญาณอันตรายได้ด้วยเหมือนกัน 

โดยลักษณะการดิ้นของลูกที่เป็นอันตราย มีดังนี้ 

1.ลูกดิ้นมาก การที่ลูกดิ้นบ่อยนั้นเป็นเรื่องปกติ แสดงว่าลูกมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่จะมีบางกรณีที่ควรระวังคือ จู่ ๆ ลูกก็ดิ้นมากผิดปกติอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็หยุดดิ้นไปเสียดื้อ ๆ โดยไม่มีการดิ้นต่อ หากเกิดกรณีเช่นนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 

2.ลูกดิ้นน้อย หากลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งต่อชั่วโมง หรือในช่วงเวลา 12 ชั่วโมง ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 

3.ลูกไม่ดิ้น ลูกดิ้นเป็นสัญญาณปกติของการตั้งครรภ์ แต่ลูกไม่ดิ้นก็เป็นสัญญาณปกติเช่นกัน เพราะในบางครั้งลูกอาจะกำลังหลับอยู่ ทำให้ไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป ทารกก็จะเริ่มดิ้นน้อยลง เนื่องจากมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น และมดลูกไม่สามารถขยายเพื่อรองรับขนาดตัวของทารกได้อีก ทำให้ทารกเคลื่อนไหวได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ลูกดิ้นน้อยลง ก็แปลว่าลูกยังดิ้นอยู่ แต่ถ้าคุณแม่พยายามกระตุ้นให้ลูกดิ้นหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่มีการตอบสนองใด ๆ ตอบกลับมา ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ 

บทส่งท้าย

ทารกในครรภ์ดิ้นเป็นการเคลื่อนไหวและอากัปกิริยาต่างๆของทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่สามารถรู้สึกได้จากการขยับเขยื้อนในร่างกาย สัญญาณความเปลี่ยนแปลงจากการเจริญเติบโตเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ และคอยสังเกตความผิดปกติ เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์

เครดิตรูปภาพ parenting.firstcry.com www.bellefit.com www.istockphoto.com www.parents.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (172) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)