บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ริดสีดวงขณะตั้งครรภ์ อันตรายไหม รักษายังไง มีวิธีปฏิบัติตัวอย่างไร เคยได้ยินมาว่า ริดสีดวงกับคนท้องนั้น เหมือนเป็นไม้เบื่อไม้เมา จนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นของคู่กันเวลาตั้งครรภ์ ผู้หญิงมักจะเป็นริดสีดวงทวารขณะตั้งครรภ์ (Hemorrhoids During Pregnancy) กันมาก สาเหตุที่มักจะเป็นริดสีดวงทวารในช่วงที่ตั้งครรภ์นั้นเกิดจากอะไร และจะมีวิธีรับมือป้องกันได้อย่างไรบ้าง
ริดสีดวงในคนท้อง เกิดจากอะไร
คุณแม่ตั้งครรภ์มีโอกาสเป็นริดสีดวงได้มากกว่าคนทั่วไป สาเหตุของการเกิดริดสีดวงในคนท้อง โดยส่วนมากมักเกิดกับคนท้อง 38 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากการมีอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้มดลูกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นทำให้เกิดภาวะเลือดคั่งในเส้นเลือดดำจนทำให้เป็นริดสีดวงระยะ 4 ตอนท้องได้ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุของริดสีดวงในคนท้องได้แก่
1.มดลูกที่ขยายใหญ่แล้วไปกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้อง ทำให้หลอดเลือดดำที่อยู่บริเวณขา เท้า และก้น มีการไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจยากขึ้น จนเกิดอาการคั่งของเลือด จนเกิดเป็นริดสีดวงทวารได้
2.เกิดจากการนั่ง หรือยืนนาน ๆ จนเลือดไปรวมกันอยู่ตรงส่วนที่ต่ำของร่างกาย จึงทำให้เลือดไปคั่งที่เท้าทำให้เกิดอาการเท้าบวม หรือเส้นเลือดขอดขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดอาการริดสีดวงทวารหนักได้เช่นกัน
3.อาการท้องผูกที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งจะใช้เวลาในการถ่ายค่อนข้างนาน และ ต้อใช้แรงเบ่งในการถ่ายอุจจาระ ซึ่งทำให้อาการริดสีดวงทวารในระหว่างการตั้งท้องได้
4.ในระหว่างการตั้งท้องร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้ จะทำให้หลอดเลือดดำมีการขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้มีเลือดคั่งเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดริดสีดวงง่ายขึ้น
คนท้องเป็นริดสีดวง อันตรายไหม
ริดสีดวงคนท้องไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพใด ๆ และริดสีดวงคนท้องมักจะค่อย ๆ หายไปเองหลังจากที่คลอดลูกแล้ว ฉะนั้น ระหว่างที่คนท้องเป็นริดสีดวงควรดูแลเอาใจใส่ตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการริดสีดวงให้ดีขึ้น หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่า อาการไม่ดีขึ้น มีเลือดไหลออกมาจากทางทวารหนัก ปวดรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาอย่างถูกวิธี
การแบ่งระยะของริดสีดวงทวาร
ระยะที่ 1 มีเลือดออกแต่ไม่มีก้อนริดสีดวงทวารที่ยื่นออก
ระยะที่ 2 มีก้อนริดสีดวงทวารที่ยื่นออกขณะขับถ่าย และสามารถหดกลับเข้าได้
ระยะที่ 3 มีก้อนริดสีดวงทวารที่ยื่นออกขณะขับถ่าย แต่ไม่สามารถหดกลับเข้าได้เอง
ระยะที่ 4 มีก้อนริดสีดวงทวารที่ยื่นออกตลอดเวลาทั้งขณะขับถ่ายและไม่ขับถ่าย
อาการของริดสีดวงในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์
โดยส่วนมากอาการริดสีดวงที่มักพบบ่อยในตอนท้องหากไม่มีอาการมากนัก อาจจะมีอาการคันที่ก้นเล็กน้อย ไม่มีความรู้สึกเจ็บ และไม่มีติ่งโผล่ออกมาให้เห็น ไม่สามารถคลำเจอ แต่หากมีอาการมากมักจะมีเลือดออก ถ่ายเป็นเลือด หรือมีเลือดหยดหลังการถ่ายอุจจาระ มีเลือดติดกระดาษทิชชู่ ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดบริเวณที่ปากทวาร มีติ่งเนื้อริดสีดวงโผล่ออกมานอกขอบรูทวาร สามารถคลำเจอได้ มีอากรบวม อักเสบ และ มีอาการปวดบริเวณริดสีดวงร่วมด้วย ในคุณแม่ท้องบางรายที่มีอาการอักเสบรุนแรงอาจปวดระบมจนนั่งลำบาก
วิธีรับมือกับปัญหาคนท้องเป็นริดสีดวง
โดยปกติแล้ว ริดสีดวงในคุณแม่ตั้งครรภ์มักไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ และมักจะหายไปเองหลังจากที่คุณแม่คลอดลูก แต่ในระหว่างนี้ คุณแม่ที่เป็นริดสีดวงอาจลองนำวิธีดังต่อไปนี้ไปใช้เพื่อบรรเทาอาการ
– รับประทานอาหารที่มีใยอาหารให้มากขึ้น เช่น ผักและผลไม้
– ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
– หลีกเลี่ยงการอั้นอุจจาระ การเบ่งอุจจาระอย่างรุนแรง และการนั่งอุจจาระนานเกินไป
– ออกกำลังกายให้มากขึ้นเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
– หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมติดต่อกันนาน ๆ โดยให้แบ่งเวลาลุกขึ้นเดินทุก ๆ ชั่วโมง
– ประคบเย็นบริเวณที่ปวด และหากคุณแม่สามารถแช่น้ำอุ่นได้ ก็อาจจะแช่น้ำอุ่นร่วมด้วย โดยให้ทำครั้งละ 10–15 นาที วันละ 2–3 ครั้ง
– หากมีอาการคันหรือเจ็บปวดที่ไม่รุนแรง อาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ว่านหางจระเข้หรือน้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่มีอาการ
– รักษาความสะอาดบริเวณที่เกิดอาการให้ดี โดยเฉพาะหลังจากอุจจาระ
– ฝึกท่ากระชับช่องคลอดเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้กลับกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักและลดโอกาสเกิดริดสีดวง
– ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยารักษาริดสีดวง
คนท้องเป็นริดสีดวงกี่วันหาย
โดยส่วนใหญ่อาการริดสีดวงทวารในคนท้องมักจะหายไปภายใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด แต่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์บางรายอาจมีอาการของริดสีดวงแบบเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งแพทย์จะรอให้คลอดก่อนจึงจะแนะนำให้รับประทานยาริดสีดวงเพื่อรักษาริดสีดวงต่อไป ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เป็นริดสีดวงที่รุนแรงขึ้นได้
คนท้องกินยาริดสีดวงได้ไหม
จริง ๆ แล้ว อาการริดสีดวงทวารในกลุ่มคนท้องสามารถรักษาได้หลายวิธี โดยวิธีที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของอาการที่เป็น ซึ่งส่วนมากจะแนะนำให้มีการรักษาร่วมไปกับการรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ ดูแลรักษาบริเวณริดสีดวงให้สะอาด และแห่งอยู่เสมอ รวมถึงมีการแช่น้ำอุ่นจัดเป็นประจำทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 7-10 วัน วันละ 15-20 นาที ควบคู่ไปกับการรับประทานยาในกลุ่มแก้ปวดและยาทาหรือใช้สเปรย์รักษาริดสีดวง แต่แนะนำให้หลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ยากลุ่มสเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน
บทส่งท้าย
วิธีเหล่านี้เป็นเพียงการดูแลตัวเองสำหรับปัญหาคนท้องเป็นริดสีดวงเท่านั้น อีกทั้งแม้ริดสีดวงจะพบได้ในคนท้องค่อนข้างบ่อย คุณแม่ที่มีปัญหานี้ก็ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเองเสมอ และไปพบแพทย์หากเห็นว่าอาการไม่ดีขึ้น เพราะช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่คุณแม่ทุกคนต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงที่สุดเพราะสุขภาพของแม่ย่อมส่งผลไปถึงลูกน้อยในครรภ์ได้
เครดิตรูปภาพ www.sierrapacificsurgical.com www.istockphoto.com thevagwhisperer.com