บทความนี้ขอแนะนำ “ภูมิแพ้กำเริบช่วงตั้งครรภ์กินยาแก้แพ้ได้ไหม และอันตรายกับลูกในครรภ์ไหม” ในกรณีที่เกิดอาการแพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหลระหว่างตั้งครรภ์คงเป็นเรื่องที่ทรมานกายใจคุณแม่ไม่น้อย ซึ่งในกรณีนี้ยาแก้แพ้ อาจช่วยรักษาและบรรเทาอาการต่างๆ ของภูมิแพ้ได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์จะสามารถทานยาแก้แพ้ได้หรือเปล่า บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน
โรคภูมิแพ้กำเริบตอนท้อง ควรทำอย่างไร
การตั้งครรภ์ ย่อมหมายถึงการต้องใส่ใจเป็นพิเศษกับทุกสิ่งที่คุณทาน การใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนการใช้ยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงอาการภูมิแพ้กำเริบแพ้ โดยทั่วไป เนื่องจากบางครั้งการตั้งครรภ์ทำให้การแพ้แย่ลง หรือทำให้เกิดปัญหาไซนัสอักเสบที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ซึ่งเรียกว่าโรคจมูกอักเสบจากการตั้งครรภ์
อาการคัดแน่นจมูกในหญิงตั้งครรภ์ อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเพิ่มระดับสูงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย รวมถึงในจมูกทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ สิ่งนี้สามารถทำให้มีอาการเหมือนเป็นหวัดหรือเป็นภูมิแพ้ ซึ่งหากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้เลือดกำเดาไหลในระหว่างตั้งครรภ์ และหรือไซนัสลงคอที่อาจทำให้คุณไอตอนกลางคืน
เมื่อเกิดอาการภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่
– ไอ
– จาม
– อาการคันตา
– คัดจมูก น้ำมูกไหล
คนท้องกินยาแก้แพ้ ได้ไหม
หากอาการของคุณไม่รุนแรง คุณแม่สามารถป้องกันภูมิแพ้ด้วยตัวเองด้วยวิธีการใช้สเปรย์น้ำเกลือพ้นจมูก แต่ถ้าอาการภูมิแพ้เป็นปัญหาใหญ่ เช่น ทำให้นอนหลับยาก การทานยาบรรเทาอาการอาจดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อย หากคุณเป็นโรคหอบหืดจากภูมิแพ้ คุณต้องทานยาตามที่กำหนด โรคหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงระหว่างตั้งครรภ์
แต่การไม่ทานยารักษาโรคภูมิแพ้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่สำหรับผู้ที่มีอาการภูมิแพ้ทำให้นอนไม่หลับและไม่สามารถทำงานได้ การใช้ยาโดยได้รับอนุญาตจากแพทย์อาจดีกว่าสำหรับทั้งแม่และทารกในครรภ์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคหอบหืดจากภูมิแพ้ในการใช้ยาตามที่กำหนด โรคหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งยารักษาโรคภูมิแพ้หลายชนิดอาจใช้ได้ดีในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ควรปรึกษาหารือกันเพื่อที่คุณจะได้สบายใจ
แม้จะกินยาแก้แพ้ได้ แต่ก็ต้องระวังเป็นพิเศษ
– ช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ก่อนใช้ยาแก้แพ้ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง เพื่อแพทย์จะได้แนะนำตัวยาที่มีความปลอดภัยให้คุณแม่ท้อง
– หากมีประวัติแพ้ยาก่อนตั้งครรภ์ ช่วงตั้งครรภ์ยิ่งไม่ควรกิน
– ไม่ควรกินยาแก้แพ้ร่วมกับวิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
– ไม่ควรกินติดต่อกันนานเกิน 2-3 วัน
– หากไปซื้อยาแก้แพ้เองที่ร้านขายยา ควรแจ้งว่าตั้งครรภ์ เพื่อเภสัชกรจะได้เลือกตัวยาที่ปลอดภัยให้
– หากกินแล้วอาการไม่ดีขึ้น ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการอย่างละเอียดอีกครั้ง
วิธีรับมืออาการแพ้ที่เหมาะกับคนท้อง
1.หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ให้ได้มากที่สุด
สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ ฝุ่นละออง จัดเป็นตัวกระตุ้นอาการของโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งยังหลีกเลี่ยงได้ยากที่สุดด้วย แต่ถึงแม้จะยากแค่ไหน คุณแม่ก็ควรหาวิธีหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เหล่านี้ให้ได้มากที่สุด เช่น
– ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ เพื่อป้องกันฝุ่นละออง เชื้อรา ขนสัตว์สะสมอยู่ในบ้านมากเกินไป
– หลังออกกำลังกาย หรือไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ควรรีบอาบน้ำทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน
– พยายามอย่าให้สัตว์เลี้ยงเข้าห้องนอน
– อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อขจัดสะเก็ดผิวหนังและขนสัตว์ที่หลุดร่วง
2.หากอาการไม่รุนแรง ให้รักษาด้วยวิธีธรรมชาติ
– ใช้เครื่องทำความชื้น การหายใจเอาอากาศที่มีความชื้นมากขึ้นสามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สบายและอาการภูมิแพ้ได้
– สูดดมไอยูคาลิปตัส จะช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและหน้าอกได้อย่างเป็นธรรมชาติ จับคู่กับน้ำร้อนสะอาดซึ่งช่วยคลายเสมหะ กลายเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาการแน่นจมูกและความรู้สึกไม่สบายทางเดินหายใจส่วนบน
– สวนล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ สเปรย์น้ำเกลือธรรมดาไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาและให้น้ำในช่องจมูกระคายเคืองเท่านั้น แต่ยังช่วยล้างไซนัสของสารระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้ ขจัดโพรงที่แห้ง แข็ง และบรรเทาอาการคัดจมูก
– ปรุงรสอาหารด้วยขมิ้น ซึ่งสามารถช่วยลดอาการแน่นจมูกและอาการภูมิแพ้ ยิ่งไปกว่านั้น มันคือสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยรวมได้
3.ลองบรรเทาอาการด้วยยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
หากอาการโรคภูมิแพ้รุนแรง ใช้ยาที่ซื้อจากร้านขายยาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ลองบรรเทาอาการด้วยยาเสียรอยด์พ่นจมูก เพราะปริมาณที่แนะนำถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่คนท้องสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
บทส่งท้าย
เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย ไม่ควรซื้อยาทานเอง ควรไปพบคุณหมอให้เขาวินิจฉัยอย่างละเอียดจะดีกว่า คุณแม่ท้องจะได้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเสี่ยงอันตรายจากโรคประจำตัว การกินยาต่าง ๆ ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัยไว้ก่อน
เครดิตรูปภาพ www.mumii.co.uk parenting.firstcry.com www.verywellhealth.com