ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด คุณแม่ต้องดูแลอย่างไรให้ลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัย

บทความนี้ขอแนะนำ “ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด คุณแม่ต้องดูแลอย่างไรให้ลูกน้อยในครรภ์ปลอดภัย” การมีลูกแฝดอาจเป็นเรื่องที่ถูกมองว่าดี น่ารัก ตั้งครรภ์ครั้งเดียวแต่ได้ลูกถึง 2 คน ซึ่งในคุณแม่เมื่อมีครรภ์แฝดครั้งแรก คุณแม่อาจตื่นเต้นมาก แต่รู้หรือไม่ว่าการตั้งครรภ์แฝด ถือว่าเป็นการตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง  มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนกับคุณแม่และลูกน้อยระหว่างตั้งครรภ์ได้ 

What To Expect When You're Pregnant With Twins - Netmums

ครรภ์แฝด เกิดขึ้นได้บ่อยแค่ไหน

ถ้าในสมัยก่อนอัตราก็จะอยู่ที่ 3 ใน 1,000 แต่ในปัจจุบันพบว่าการตั้งครรภ์แฝดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ แต่หลักๆ แล้วโอกาสที่จะทำให้เกิดครรภ์แฝดได้มีอยู่ 2 ประการ คือ

1.ประวัติครอบครัวมีครรภ์แฝดมาก่อน

2.เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการเจริญพันธุ์ ทั้งการใช้ยากระตุ้นให้ไข่ตก การทำเด็กหลอดแก้ว การใส่ตัวอ่อน และ อื่นๆ ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยทำให้โอกาสเกิดครรภ์แฝดมีสูงขึ้น

ท้องแฝด เกิดจากอะไร

การตั้งท้องลูกแฝด ถือเป็นความเสี่ยงหนึ่งของการตั้งครรภ์ เพราะการอุ้มท้องลูกมากกว่า 1 คน ในท้องเดียวกันนั้น อาจนำไปสู่ความผิดปกติของการตั้งครรภ์หลายประการ ตั้งแต่การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น โดยท้องแฝดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ แฝดแท้ และ แฝดเทียม

– แฝดแท้ เกิดจากการที่ตัวอ่อนซึ่งผ่านการปฏิสนธิและฝังตัวที่มดลูกแล้ว แต่จู่ ๆ ก็มีการแบ่งตัวอ่อนขึ้นมาอีก 1 ตัว โดยตัวอ่อนทั้งสองตัว อาจจะมีรกและถุงน้ำคร่ำเป็นของตัวเอง หรือใช้รกและถุงน้ำคร่ำร่วมกันก็ได้ ซึ่งแฝดแท้จะมีรูปร่างหน้าตาและลักษณะที่คล้ายกันมาก และมักจะเป็นเพศเดียวกัน เช่น แฝดชาย-ชาย หรือ แฝดหญิง-หญิง

– แฝดเทียม เกิดจากการที่มีไข่ตกมากกว่า 1 ใบ และไข่แต่ละใบนั้นก็ได้รับการปฏิสนธิและฝังตัวอ่อนในมดลูกพร้อม ๆ กัน ตัวอ่อนทั้งสองตัวมีรกและถุงน้ำคร่ำเป็นของตัวเอง โดยแฝดเทียมอาจจะมีลักษณะเหมือนหรือไม่เหมือนกันเลยก็ได้ อาจจะเป็นแฝดชาย-ชาย แฝดหญิง-หญิง หรือแฝดชาย-หญิง ก็ได้เช่นกัน
At-Risk Twin Pregnancies Benefit from an Intervention Called Cerclage |  Jefferson Health

ภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝดขณะตั้งครรภ์

จุดที่สังเกตจากภาวะแรกที่เด่นชัด คือ การที่คุณแม่มีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงมากกว่าปกติ สังเกตจากการคลื่นไส้อาเจียนหนัก และเกิดขึ้นบ่อย หรือมีอาการแสบร้อนกลางอกบ่อย ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือช่วง   ก่อนคลอด ดังนี้

1.ครรภ์เป็นพิษ  การเกิดครรภ์เป็นพิษช่วงครรภ์แฝด เกิดจากความเสี่ยงที่จะเป็นความดันโลหิตสูงมากขึ้นของแม่ท้องแฝด ซึ่งเป็นภาวะอันตราย หากมีความดันสูงประกอบกับปริมาณโปรตีนที่มากในปัสสาวะร่วมด้วย จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่ไม่มีแม่ท้องคนไหนอยากเสี่ยงแน่นอน แต่ถ้าหากแม่ท้องทำการฝากครรภ์ไว้จะเพิ่มความปลอดภัยได้เช่นกัน

2.เพิ่มโอกาสเสียบุตร  แม้การมีลูกแฝดจะเห็นได้ทั่วไปหลายครั้ง แต่แม่ท้องรู้หรือไม่ว่า การมีลูกแฝด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร เสี่ยงต่อการสูญเสียทารกในครรภ์ไปมากกว่าปกติด้วยเช่นกัน

3.เสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ  แม่ท้องหลายคนอาจกังวลเกี่ยวกับบางโรคที่มักพบเจอในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และภาวะโลหิตจาง ซึ่งการมีลูกแฝดเอง หากดูแลไม่ดี ก็เสี่ยงทำให้คุณแม่เสี่ยงโรคเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน

4.คลอดก่อนกำหนด  โดยทั่วไปแล้วครรภ์แฝดจะช่วยเพิ่มโอกาสเกิดการคลอดก่อนกำหนด ยิ่งมีทารกมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงมากเท่านั้น ซึ่งการที่ทารกคลอดก่อนกำหนด จะทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการ และการเติบโตได้ 

5.อันตรายจากการคลอด  โดยทั่วไปแล้วการคลอดครรภ์แฝด แพทย์จะต้องใช้เครื่องมือช่วยมากกว่าปกติ นอกจากนี้การคลอดครรภ์แฝด ยังมีสถิติระบุว่ามีโอกาสทำให้คุณแม่เสียชีวิตมากกว่าการคลอดครรภ์ทั่วไปถึง 2.5 เท่า
Why Twins Constitute a High-Risk Pregnancy: OBGYN Westside, PLLC:  Obstetrics & Gynecology

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนในครรภ์แฝด

– การมีครรภ์แฝดที่ปลอดภัยมากที่สุดควรเริ่มจากการไปฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพราะการฝากครรภ์ครอบคลุมไปถึงการตรวจครรภ์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้สามารถตรวจพบภาวะความผิดปกติต่าง ๆ ได้

– คอยสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอดเวลา หากพบความผิดปกติ เช่น มีอาการอาเจียนมาก ปวดท้องรุนแรง ใบหน้ามือ และเท้าบวมเฉียบพลัน เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันที นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาการอื่น ๆ ที่คุณแม่อาจไม่สบายใจ หรือมีความสงสัย ก็ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

– ระมัดระวังเรื่องของการทานอาหารจะต้องทานให้ครบ 5 หมู่ อะไรที่แพทย์ห้ามทานก็ต้องไม่กินจริง ๆ ประกอบกับการกินยาต่าง ๆ แม้จะกินเป็นปกติก่อนตั้งครรภ์ แต่การกินยาทุกชนิดในตอนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

– ดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด นอกจากนี้ควรงดแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เล่นโยคะ หรือการ    ว่ายน้ำ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ

– ควรห่างจากบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าหากแม่ท้องมีพฤติกรรมติดบุหรี่ ไม่ใช่แค่ครรภ์แฝดเท่านั้น แต่ครรภ์ทั่วไปก็จะได้รับผลกระทบ จากการที่รกจะต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนไปให้ทารก

บทส่งท้าย

ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดนั้น ต้องดูแลตัวเองอย่างดีที่สุด ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะการตั้งครรภ์แฝดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่มารดาในระยะตั้งครรภ์ได้ ดังนั้นหากมีเรื่องสงสัยหรือกังวลใจก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้ไว เพื่อความปลอดภัยต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

เครดิตรูปภาพ www.netmums.com www.jeffersonhealth.org www.obgynwestside.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)