บทความนี้ขอแนะนำ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ” ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแล้ว ซึ่งหลังคลอดนั้นฮอร์โมนนั้นอาจจะยังไม่ปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งการดูแลเด็กแรกเกิดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างช่างท่วมท้น รับมือไม่ไหว เกิดความรู้สึกอารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาการจะเป็นแบบไหนบ้างนั้นบทความมีข้อมูลมาฝากกัน
ซึมเศร้าหลังคลอดคืออะไร
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อารมณ์ของแม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)
เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)
มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป บางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูก ระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)
มักเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก
สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ?
1.มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เคยมีภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมาก่อนหน้านี้
2.มีปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว เป็นต้น
3.สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
4.ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ต้องมีการดูแล หรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ
5.คุณแม่มีปัญหาในการให้นมบุตร ไม่มีน้ำนมให้ลูกทาน หรือมีน้ำนมน้อย ปัญหาเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นสิ่งที่คุณแม่คิดโทษตัวเอง จนเกิดเป็นความเครียดสะสมได้
6.ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน เรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นทุกวัน อาจจะทำให้คุณแม่คิดไม่ตก จนกลายเป็นความเครียดและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้
7.การตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อมหรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
อาการอย่างไรถือว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
อาจมีอาการตั้งแต่ 2-3 วันแรกหลังคลอดบุตร จนถึง 1-2 สัปดาห์ โดยมักมีอาการ
– วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน
– รู้สึกทุกอย่างท่วมท้น รำคาญใจ
– เศร้า ร้องไห้
– ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
– ทานอะไรไม่ลง
2.ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
จะมีอาการรุนแรงและยาวนานกว่า ซึ่งอาจยาวนานถึงหนึ่งปี อาการมักแสดงในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด อาการที่มักพบได้แก่
– อารมณ์แปรปรวนรุนแรง วิตกกังวลอย่างหนัก หรือมีภาวะตื่นตระหนก
– รู้สึกไร้ค่า คิดว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ
– ร้องไห้บ่อย
– ไม่รู้สึกผูกพันกับบุตร
– รู้สึกสิ้นหวัง คิดเรื่องการทำร้ายตัวเองและบุตร ความตาย และการฆ่าตัวตาย
– ไม่อยากอาหาร หรือทานอาหารมากผิดปกติ
– นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
– อ่อนล้า หมดความสนใจหรือไม่มีความสุขกับเรื่องที่เคยชอบ
– แยกตัว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือเพื่อน
– สับสน ไม่มีสมาธิ
3.ภาวะโรคจิตหลังคลอด
พบได้น้อย เป็นอาการที่รุนแรง อาการอาจเริ่มตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอด ควรได้รับการรักษาทันที หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ผู้ป่วยคิดหรือทำพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการของภาวะโรคจิตหลังคลอด ได้แก่
– หมกมุ่นเรื่องบุตร
– พยายามทำร้ายตัวเองหรือบุตร
– หวาดระแวง งุนงงสับสน
– ประสาทหลอน หลงผิด ได้ยินเสี่ยงแว่ว
– การนอนหลับผิดปกติ
– กระตือรือร้น มีพลังทำสิ่งต่าง ๆ มากผิดปกติ ภาวะกายใจไม่สงบ
การรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
1.การทานอาหารที่มีประโยชน์
2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพแจ่มใสขึ้น
3.หาเวลาพักระหว่างวัน หากในช่วงที่ลูกนอนหลับ ก็หากิจกรรมที่ตัวเองชอบทำ เพื่อให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น
4.ให้คุณพ่อหรือคนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกน้อยบ้าง คุณแม่จะได้รู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยว
5.ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง การได้เล่าความทุกข์ ความอึดอัดในใจให้คนอื่นฟังบ้าง จะช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีมากขึ้น
6.มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง หาเวลาออกไปมีความสุขนอกบ้าน หรือพยายามทำให้ตัวเองรู่สึกสบายและมีความสุขที่สุด
7.ลดการรับข่าวสารที่ชวนให้เครียด เพื่อลดความกดดันและความกังวลในตัวเอง
8.ปรึกษาแพทย์
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร
ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ หรือสงสัยว่ามีอาการของอารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือภาวะโรคจิตหลังคลอด ไม่ควรผัดผ่อนหรือเลื่อนนัดแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้
1.มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันหรือดูแลบุตร
2.คิดเรื่องการทำร้ายตัวเองและบุตร
3.อาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านไป 2 สัปดาห์
วิธีการรักษา
1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
ดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์ ระหว่างที่มีอาการผู้ป่วยควรหาเวลาพักผ่อนเมื่อทำได้ ขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ เพื่อจะได้ไม่รู้สึกว่ากำลังเผชิญสิ่งนี้อยู่เพียงลำพัง ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดใด ๆ เพราะจะทำให้อาการแย่ลง
2.ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถรักษาด้วย
จิตบำบัด การได้พูดคุยกับแพทย์หรือนักวิชาการสุขภาพจิตจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายผ่อนคลายความวิตกกังวล และร่วมกันหาวิธีเพื่อรับมือกับสถานการณ์และอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
การใช้ยา ส่วนใหญ่แล้วสามารถรับประทานยาต้านเศร้าในช่วงให้นมบุตรได้ หากมีความกังวล ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของยาก่อนใช้
3.ภาวะโรคจิตหลังคลอด
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการของภาวะโรคจิตหลังคลอด
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า หากอาการไม่ตอบสนองต่อยาหรือการรักษาอื่น ๆ แพทย์อาจแนะนำให้ทำ การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสมอง เพื่อปรับเปลี่ยนสารเคมีในสมอง
การใช้ยา แพทย์จะจ่ายยาต้านอาการทางจิต ยาควบคุมอารมณ์ และยาเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) ซึ่งเป็นกลุ่มของยานอนหลับ เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาบางตัวอาจไม่เหมาะหากกำลังให้นมบุตร
บทส่งท้าย
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่รวดเร็วในช่วงหลังจากคลอดลูก ทำให้คุณแม่หลายท่านต้องพบเจอกับภาวะซึมเศร้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นคุณพ่อ และคนในครอบครัว ต้องคอยดูแลคุณแม่ และคอยสังเกตอาการของคุณแม่ด้วย อย่าปล่อยให้คุณแม่ต้องคิดว่าตัวเองอยู่เพียงลำพัง และยาดีอีกตัวที่จะช่วยรักษาและเยียวยาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ก็คือ “ครอบครัว” เพราะครอบครัวคือกำลังใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่หายจากอาการซึมเศร้าได้มากที่สุด แต่ถ้าคุณแม่อาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบพาคุณแม่เข้ารับการรักษากับแพทย์เพื่อตรวจประเมินอีกครั้ง และจะได้รักษาได้อย่างรวดเร็ว
เครดิตรูปภาพ www.istockphoto.com www.motherandbaby.co.uk www.medpagetoday.com
credit : ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ