บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ชวนลูกเข้าครัวทำอาหาร กิจกรรมที่จะช่วยให้ลูกฉลาดและเก่งขึ้น บ้านไหนที่ลูก ๆ เข้าวัยอยากรู้อยากเห็น ในช่วง 3 – 4 ขวบ เด็ก ๆ ก็มักจะมาป้วนเปี้ยนเวลาที่คุณพ่อคุณแม่ทำอาหารอยู่ในครัวใช่ไหม อย่าปล่อยโอกาสนี้ไปควรใช้เวลานี้สอนลูกและเขามามีส่วนร่วมในการทำอาหารด้วย เพราะนอกจากลูกจะได้เรียนรู้การทำอาหารง่าย ๆ แล้ว เมนูง่าย ๆเหล่านี้ ยังเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกอีกด้วย
สอนลูกทำอาหารดีอย่างไร
ความรู้ทางโภชนาการอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะให้ความรู้แก่เด็ก ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของการกินเพื่อสุขภาพ หรือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เกี่ยวกับโภชนาการทางอาหารที่เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ในห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งนั่นไม่สามารถทำให้ลูกน้อยของคุณเข้าใจ และเข้าไม่ถึงเนื้อหาของการเรียนอย่างแท้จริง แต่การที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประสบการณ์การสัมผัส หรือกิจกรรมลงมือปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับอาหาร และอุปกรณ์ระหว่างการเตรียมอาหารจะทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ และรู้จักกับสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียด เพราะว่าพวกเขาได้สัมผัส ชิม ดู รู้สึก และการฟังเสียงจากการทำอาหารนั่นเอง
5 วิธีชวนลูกเข้าครัวทำอาหาร
1. เริ่มด้วยบทสนทนาที่น่าสนใจและช่วยสร้างทักษะกระบวนการคิดให้เป็นประโยชน์กับลูก อาทิ การกระตุ้นการเรียนรู้ของลูก เช่น รู้มั้ยทำไมคนเราต้องทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำไมอาหารถึงจำเป็นต่อร่างกาย หยิบจับวัตถุดิบต่างๆ มาถามลูกเกี่ยวกับสารอาหารในอาหาร 5 หมู่
2. แนะนำ อุปกรณ์ต่างๆ ในห้องครัว ว่ามีอะไร ใช้ทำอะไร ให้ลูกได้ลองสัมผัส ได้ลองใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น หม้อ กระทะ มีด เขียง และยังช่วยให้ลูกนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทเรียนมาถามตอบกับคุณแม่ ด้วยการเล่นคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องครัวได้อีกด้วย หรือคุณแม่อาจเตรียมอุปกรณ์สำหรับเด็กเอาไว้ เพื่อให้ลูกจับถนัดมือ เป็นการฝึกกล้ามเนื้อต่างๆให้ลูกได้ออกกำลัง
3. แนะนำเมนูที่จะทำในมื้อนั้นๆ รวมถึงวัตถุดิบต่างๆ ว่ามีอะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง หรืออาจจะหากิจกรรมสนุกๆก่อนเริ่มลงมือทำอาหาร เช่นการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ จากวัตถุดิบต่างๆ หรือจากสีสัน เป็นต้น
4. ควรให้ลูกๆเริ่มจากการเป็นลูกมือ เป็นอีกวิธีในการช่วยปรับพื้นฐานทางอารมณ์และบุคลิกภาพ เพราะว่าในการล้างผัก ล้างวัตถุดิบต่างๆให้สะอาด การเตรียมวัตถุดิบ เช่นการหั่นผักเป็นชิ้นๆ หรือการปลอกเปลือก ต้องมีสมาธิและให้ลูกเรียนรู้ความผิดพลาดจากการหยิบจับสิ่งต่างๆ และช่วยชี้แจงให้ลูกแก้ไข ก็จะเป็นการสอนลูกในเรื่องของการแก้ไข อดทน และพยายาม เพื่อให้อาหารจานนั้นออกมาน่ารับประทานที่สุด
5. เมื่อปรุงอาหารเสร็จ ให้ลูกเพิ่มจินตนาการและใส่ไอเดีย ด้วยการให้ลูกๆเป็นคนจัดจาน จัดตกแต่งให้จานอาหารดูมีสีสันน่ารับประทาน นอกจากจะได้อาหารจานใหม่ที่ดูแปลกตาแล้วยังเพิ่มความภาคภูมิใจให้กับลูกอีกด้วย
ประโยชน์ของการให้ลูกเข้าครัว
1.ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก
เด็กๆ จะได้ฝึกการหยิบจับสิ่งของเครื่องใช้ในครัวและวัตถุดิบต่างๆ คุณแม่อาจให้ลูกช่วยล้างผัก หรือหยิบส่วนผสมต่างๆ ลองให้ลูกจับตะหลิวหรือหั่นวัตถุดิบดูบ้างก็ได้ (ควรให้ลูกใช้มีดพลาสติก) และถ้าทำอาหารที่มีการปั้น แล้วลูกช่วยปั้นก็จะพัฒนากล้ามเนื้อมือของลูกได้อย่างดีเลย
2.ฝึกสมาธิ
การทำอาหารก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้สมาธิอยู่เหมือนกัน เพราะลูกต้องจดจ่อเวลาทำสิ่งได้สิ่งหนึ่ง เช่น ถ้าเราลองให้ลูกหั่นวัตถุดิบแล้วเขาไม่มีสมาธิ ไม่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำก็อาจทำให้ถูกมีดบาดได้
3.ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์
เด็กๆ อาจจะรังสรรค์เมนูของตัวเองขึ้นมาก็ได้ เขาอาจลองใส่วัตถุดิบที่ตัวเองชื่นชอบลงไปในอาหาร แม้ว่าบางครั้งของเหล่านั้นไม่ได้มีความเข้ากัน เราก็ต้องปล่อยให้เขาลองทำดู และเมื่อทำเสร็จก็ให้เขาลองชิม ตอนนั้นลูกก็จะเรียนรู้ว่าอันไหนเข้าหรือไม่เข้ากัน ถือเป็นการพัฒนาฝีมือไปในตัวด้วย
4.เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
การทำอาหารตามสูตรนั้นเปิดการเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ การรู้จักตัวเลข มาตราวัด มาตราตวงต่าง ๆ รวมถึงการบวกลบเลขแบบง่าย ๆ และไม่เพียงแค่นั้นแต่สูตรอาหารก็เหมือนเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์เล็ก ๆ ที่ลูกน้อยของคุณนั้นจะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสถานะต่าง ๆ ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ การเปลี่ยนสี เนื้อสัมผัส และการเปลี่ยนรูปแบบได้ นอกจากนี้คุณสามารถบอกพวกเขาเกี่ยวกับการคาดการณ์หากพวกเขาทำบางสิ่งมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งมีผลต่อผลลัพธ์ของอาหารได้อีกด้วย
5.เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ
การเข้าครัวจะทำให้ลูกได้เรียนรู้คำศัพท์หลายๆ ด้าน ตั้งแต่วัตถุดิบ อุปกรณ์เครื่องครัว รวมไปถึงวิธีทำอาหารให้รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งลูกจะได้เรียนรู้ศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวกับการทำอาหารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเลย
6.สอนเรื่องความสะอาด
ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ในการทำอาหาร ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบที่สด สะอาด ในระหว่างที่ทำอาหารก็ต้องระมัดระวังอย่าให้มีเส้นผมตกลงไป รวมไปถึงเวลาชิมอาหารที่ทำก็ต้องสอนให้เขาใช้ช้อนกลาง และที่สำคัญหลังทำเสร็จก็ต้องรู้จักเก็บล้าง ทำความสะอาดให้เรียบร้อย
7.สอนเรื่องความอดทนและการทำงานร่วมกับคนอื่น
หากลูกน้อยของคุณเป็นคนใจร้อน การช่วยพวกเขาเข้าครัวและมาทำอาการร่วมกันนั้นช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้พวกเขาฝึกความอดทนที่จะต้องใช้เวลาในการเตรียมอาหารอีกด้วย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะเตือนให้ลูกน้อยได้อย่างดี
8.ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
การทำอาหารเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่สามารถทำเป็นงานอดิเรกได้เลย ดีกว่าให้ลูกเล่น
สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเป็นไหน ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่คนในครอบครัวอีกด้วย
บทส่งท้าย
กับการ ชวนลูกเข้าครัว ฝึกทักษะ ทำกับข้าว เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจที่คุณสามารถนำไปใช้กับลูก ๆ ได้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว รวมถึงช่วยเสริมสร้าง และกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยของคุณได้อีกด้วย
เครดิตรูปภาพ www.motherbabychild.com experiencelife.lifetime.life