บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง คุณแม่หลังคลอด คุณแม่ให้นมลูก กินยาคุมได้หรือไม่ หลังคลอดลูก คุณแม่ส่วนใหญ่จะยังไม่พร้อมที่จะเปิดอู่สำหรับตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และแพทย์ก็ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ใหม่จนเร็วเกินไป เพราะอาจส่งผลเสียทั้งต่อแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น คุณแม่หลายคนจึงมักจะทำการคุมกำเนิดหลังคลอดลูก ซึ่งหนึ่งในวิธีที่คุณแม่มักเลือกใช้ก็คือการคุมกำเนิดด้วยการกินยาคุม แต่ยาคุมให้นมลูกจะเป็นอันตรายไหม กินได้ไหม ไปหาคำตอบกัน
คุณแม่ให้นมลูก กินยาคุมกำเนิดได้ไหม
คุณแม่ให้นมลูกสามารถกินยาคุมกำเนิดได้ โดยควรเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
มีแต่โปรเจสตินอย่างเดียว ซึ่งสามารถเริ่มรับประทานได้เลยหลังคลอด และเพื่อให้มั่นใจว่ากินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้องทั้งตัวฮอร์โมน และ วิธีกิน คุณแม่ให้นมควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือ เภสัชกรเท่านั้น
แล้วจะเริ่มกินยาคุม ทันทีเลยได้หรือเปล่า
ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการคุมกำเนิด ต่างก็มีความเห็น ไม่ตรงกันว่า ควรจะเริ่มกิน ยาคุมกำเนิดเมื่อไหร่ บางคนก็บอกว่ากิน หลังจากคลอดลูกแล้ว 6 สัปดาห์ เพื่อให้กระบวนการ และ ปริมาณการผลิตน้ำนม คงที่เสียก่อน แต่เมื่อคุณไปหาหมอ เพื่อตรวจภายในหลังคลอด 1 เดือน คุณหมอจะถามเรื่องการ วางแผนในครอบครัว และ แนะนำเรื่องวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณ
ยาคุมที่ใช้ได้ระหว่างให้นมลูก
ยาคุมกำเนิด มี 2 ชนิด คือ กินกับฉีด(ฝัง)
1.ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดมี 2 แบบ คือ
– โปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (ยาที่ใช้ในบ้านเราได้แก่ Exluton)
เหมาะสำหรับการใช้ใน 6 เดือนแรก เพราะไม่มีฤทธิ์กดการหลั่งน้ำนม และไม่ทำให้คุณภาพของน้ำนมเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งนี้คุณแม่จะต้องให้นมลูกได้เต็มที่ด้วย
ข้อพึงระวัง คือ ยาตัวนี้ออกฤทธิ์ทำให้มูกที่ปากมดลูกข้นเหนียว ทำให้เชื้ออสุจิว่ายเข้าไปในโพรงมดลูกไม่ได้ ไม่กดการตกไข่ จึงต้องกินยาทุกวันและตรงเวลา หากผิดเวลาเกิน 3 ชั่วโมงแล้วล่ะก็ คุณแม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย ถึงจะได้ผล
– ฮอร์โมนรวม (เอสโตรเจน + โปรเจสเตอโรน)
ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ควรเริ่มเมื่อน้ำนมแม่สร้างเต็มที่แล้ว คือ หลังคลอด 6 สัปดาห์ แต่บางรายพบว่า การสร้างน้ำนมลดลง ถ้ามีอาการเช่นนี้ควรหยุดยาทันที และปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด ถ้าจะป้องกันปัญหานี้ แนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้หลังคลอด 6 เดือนไปแล้ว
2.ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด / ยาฝังคุมกำเนิด (โปรเจสเตอโรนอย่างเดียว)
เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ทั้งชนิดฉีด(คุมได้ 12 สัปดาห์) และยาฝัง
(คุมได้ 3 ปี) มีฤทธิ์กดการตกไข่ จึงคุมกำเนิดได้ผลดีกว่ายาคุมชนิดกินที่มีโปรเจสเตอโรน
อย่างเดียว
วิธีเลือกยาคุมสำหรับให้นมบุตร
ยาคุมกำเนิดหลังคลอดมีอยู่ด้วยกันหลายยี่ห้อ ยาคุมหลังคลอดยี่ห้อไหนดี แบบไหนดี
คุณแม่สามารถเลือกซื้อยาคุมหลังคลอดได้ ดังนี้
1.เลือกซื้อเฉพาะยี่ห้อที่เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
2.เลือกซื้อยาคุมให้นมบุตรยี่ห้อที่แพทย์แนะนำว่ามีความปลอดภัยสูง ไม่มีตัวยาอื่น ๆ ที่อาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของแม่และเด็ก
3.หลีกเลี่ยงยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมอยู่ด้วย ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อการผลิตน้ำนมและประสิทธิภาพของน้ำนม รวมถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตันด้วย
4.ก่อนตัดสินใจกินยาคุมกำเนิดหลังคลอด ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนการใช้ยา เพราะแม่แต่ละคนมีพื้นฐานสุขภาพที่แตกต่างกัน อาจไม่สามารถใช้ยาคุมแบบเดียวกันได้
คำแนะนำในการใช้ยาคุมสำหรับแม่ให้นมบุตร
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ให้นมบุตรที่ใช้ยาคุมกำเนิดหลังคลอด
1.ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดน้อยกว่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ดังนั้น นอกจากกินยาคุมแล้ว ยังต้องคุมกำเนิดด้วยการสวมถุงยางอนามัยด้วย
2.ควรกินยาให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ หากลืมกินยาบ่อย ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง
3.ก่อนซื้อยาคุมต้องอ่านฉลากให้ดี และควรหลีกเลี่ยงยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เพราะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมอยู่ด้วย ซึ่งมีผลข้างเคียงต่อการผลิตน้ำนมและประสิทธิภาพของนมแม่ รวมถึงอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตันด้วย
4.คุณแม่สามารถเริ่มกินยาคุมได้หลังจากคลอดลูกผ่านไปแล้ว 6 สัปดาห์
ยาคุมกำเนิดแบบไหนที่แม่ให้นมลูกควรเลี่ยง
คุณแม่ให้นมลูกควรเลี่ยงการกินยาคุมกำเนิดชนิดดฮอร์โมนรวม มีทั้งโปรเจสตินรวมกับ
เอสโตรเจน เพราะยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม มีผลทำให้ลดการสร้างน้ำนม ดังนั้น ในช่วงแรกหลัง
คลอดและให้นมลูกจึงไม่ควรกินยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม หากมีความจำเป็นต้องกินจริง ๆ ควรกินหลังจากลูกหย่านมแล้ว (หลัง 6 เดือน) หรือ ช่วงให้นมลูกแล้วอย่างน้อย 4 เดือนขึ้นไป ซึ่งจะเป็นช่วงที่ร่างกายปรับตัว และกระบวนการสร้างนมแม่สร้างน้ำนมได้อย่างเต็มที่แล้ว
บทส่งท้าย
คุณแม่สามารถกินยาคุมกำเนิดชั่วคราวในช่วงให้นมลูกได้ แต่ไม่ควรกินยาคุมกำเนิดในระยะยาว เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ เป็นต้น
เครดิตรูปภาพ www.babycenter.com mednow.ca www.singlecare.com parenting.firstcry.com