คุณแม่ตั้งครรภ์ คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ไม่เกินเกณฑ์

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง คุณแม่ตั้งครรภ์ คุมน้ำหนักอย่างไรให้พอดี ปลอดภัย ไม่เกินเกณฑ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ล้วนอยากให้ลูกมีสุขภาพดีคลอดออกมาอย่างแข็งแรงและปลอดภัย น้ำหนักตัวเหมาะสม ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่จึงสรรหาของที่มีประโยชน์มาบำรุง เลือกทานอาหารที่ดีเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกในท้อง แต่การบำรุงมากจนเกินไปอาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้คุณแม่บางท่านเกิดความกังวลใจได้

น้ำหนักคนท้อง ที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เกิดจากอะไรบ้าง? - Amarin Baby &  Kids

ทำไมเรื่องน้ำหนักถึงสำคัญ

จริง ๆ แล้ว การลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ หรือการควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพื่อให้ร่างกายมีความสมดุล ไม่อ้วน หรือผอมเกินไป และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์เท่านั้น เนื่องจากแม่ท้องที่ผอมเกินไปมักเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ ลูกที่คลอดออกมามักจะมีน้ำหนักน้อย ในขณะที่คนที่อ้วนเกินไปมักมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคอื่น ๆ ที่คนท้องเสี่ยงที่จะเป็น เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งอาจยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือคลอดยาก เนื่องจากลูกมีขนาดค่อนข้างใหญ่ 

รวมถึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด และยังมีโอกาสตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

ท้องแล้วกินเยอะ จริงหรือ

โดยธรรมชาติของคนท้องมักจะหิวบ่อยและกินในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพราะร่างกายต้องการพลังงานสำหรับคน 2 คน หรือในกรณีที่มีครรภ์แฝดคุณแม่จะต้องกินเพิ่มอีก 2 เท่า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของทั้งร่างกายแม่และเด็กในครรภ์ ดังนั้นเมื่อคุณแม่จะกินอาหาร ต้องเลือกกินในสิ่งที่เหมาะสมด้านคุณค่าทางโภชนาการ และกินในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่กินมากเกินไป หรือกินน้อยจนเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกในครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์กินอย่างไรไม่ให้อ้วน 

– เลือกกินอาหารมีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว และกินวิตามินจากพืชผักและผลไม้ ไม่เน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และอาหารที่มีน้ำตาลสูง

– กินอาหารย่อยง่ายและมีกากใย เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา และวิตามินจากผัก

– เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เพราะขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน  จะทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้น้อยลง คุณแม่ตั้งครรภ์จึงมีอาการท้องจะอืดและท้องผูกได้ง่ายกว่าปกติ

Weight and weight gain | HiPP Organic

น้ำหนักช่วงตั้งครรภ์ ของคุณแม่ควรเพิ่มขึ้นเท่าไหร่

ก่อนอื่น แม่ท้องต้องรู้ตัวและเตรียมพร้อมว่าระหว่างการตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น

เรื่อย ๆ โดยการตั้งครรภ์ที่ปกตินั้น น้ำหนักตัวของคุณแม่ท้องควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม แต่การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักแต่ละช่วงจะไม่เท่ากันค่ะ สามารถแบ่งออกได้เป็น  3 ระยะ คือ

– ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักคุณแม่อาจยังไม่เพิ่มขึ้น หรือบางคนอาจลดลง เพราะอาการแพ้ท้อง ทานอะไรก็อาเจียนออกมาหมด ในช่วงนี้คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลว่าน้องจะไม่ได้รับสารอาหารนะ เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงไข่แดง ยังไม่ได้ทานอาหารผ่านทางคุณแม่ ตลอด 3 เดือนแรกน้ำหนักคุณแม่มักเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม ซึ่งมักจะยังดูไม่ออกว่าคุณแม่กำลังมีน้อง

– ต่อมาในช่วง 4-6 เดือน น้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ขึ้นประมาณ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งคนอื่นพอจะสังเกตออกแล้วว่าคุณแม่เริ่มอ้วนขึ้น แต่ยังสามารถใส่ชุดปกติได้ ในบางรายหากน้ำหนักขึ้นมากอาจอึดอัดและต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้องแทน

– ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย น้ำหนักของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 5-6 กิโลกรัมตลอด 3 เดือน

ควรกินอย่างไรให้น้ำหนักตัวได้มาตรฐาน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักเพราะจะทำให้ลูกขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการแท้งมากขึ้น ส่วนคุณแม่ที่มีน้ำหนักขึ้นน้อยก็ต้องดูแลเรื่องการกินให้เหมาะสม ซึ่งวิธีควบคุมน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้สารอาหารสำหรับทารกและน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์สามารถทำได้ดังนี้

1.ทานอาหารเพิ่มขึ้น ความต้องการพลังงานของผู้หญิงก่อนตั้งครรภ์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เมื่อมีการตั้งครรภ์ก็ควรเพิ่มอีกประมาณ 300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและการเติบโตของลูก อาจแบ่งเป็นข้าว 3 ทัพพีต่อมื้อ เนื้อสัตว์ 4-5 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ ผลไม้ 6-8 คำต่อมื้อ และควรเสริมนมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย 2 กล่องต่อวัน

2.กินบ่อยๆ แม่ตั้งครรภ์จะกินไม่ได้มากเท่าปกติเพราะระบบการย่อยเปลี่ยนไปและกระเพาะถูกเบียด แทนที่จะกินมื้อใหญ่ 2-3 มื้อ ควรแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ วันละ 5-6 มื้อแทน ลำไส้จะได้ทำงานสะดวกและดูดซึมอาหารดีขึ้น

3.กินให้ครบคุณค่า คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเน้นอาหารประเภทโปรตีนครบทั้ง 3 มื้อ เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของลูกน้อย และคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานในการทำกิจวัตรประจำวัน เสริมด้วยผักและผลไม้ที่มีกากใย ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้วต่อวัน และเลือกเสริมอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ให้เพียงพอ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยให้ไม่หงุดหงิด เหนื่อยง่าย และยังลดอาการแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ได้ด้วย

4.กินอาหารธรรมชาติ ควรกินอาหารธรรมชาติ เช่น อาหารสดใหม่ ผ่านขั้นตอนการปรุงน้อยเพื่อคงคุณค่าอาหารไว้ และควรหลีกเลี่ยงอาหารบรรจุกระป๋อง ของหมักดองทุกชนิด

5.เลี่ยงอาหารไขมันสูงและน้ำตาลสูง อาหารมัน ๆ ทอด ๆ และอาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นสิ่งที่ต้องห้ามเพราะน้ำมันจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกินกำหนด แต่ลูกน้อยอาจไม่ได้อ้วนตามไปด้วย แถมยังส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณแม่ด้วย

บทส่งท้าย

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่ควรใช้วิธีอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักเพราะจะทำให้ลูกขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการแท้งมากขึ้น ส่วนคุณแม่ที่มีน้ำหนักขึ้นน้อยก็ต้องดูแลเรื่องการกินให้เหมาะสม

เครดิตรูปภาพ

www.delish.com www.tasteofhome.com www.news-medical.net

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (155) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)