คุณแม่ตั้งครรภ์ขับรถได้หรือไม่ มีข้อควรระวังอย่างไรบ้างเพื่อให้ขับขี่ปลอดภัย

บทความนี้ขอแนะนำ “คุณแม่ตั้งครรภ์ขับรถได้หรือไม่ มีข้อควรระวังอย่างไรบ้างเพื่อให้ขับขี่ปลอดภัย” หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องขับรถไปทำงานเป็นประจำ และเป็นกังวลว่าเมื่อตั้งท้องแล้ว คนท้องขับรถได้ไหม คาดเข็มขัดนิรภัยจะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า และยังมีอะไรอีกบ้างที่คุณแม่ท้องขับรถควรรู้หากต้องขับรถเอง

Pregnant women warned even minor shunts on the roads can lead to birth  complications

คนท้องควรขับรถหรือเปล่า

อันที่จริงแล้วสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรขับรถ เพราะการขับรถทำให้เกิดความเครียดที่จะมีผลต่อลูกในท้อง การขับขี่ของหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการแท้งมากขึ้น ทางที่ดีที่สุดคือให้คุณพ่อช่วยรับส่ง หรือโดยสารรถขนส่งสาธารณะ

เทคนิคขับขี่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

1. ใช้สัญชาตญาณของตัวเองในการขับรถ หันมองรอบข้างอยู่เสมอ ระมัดระวังรถคันอื่นที่ขับมาใกล้ รวมถึงมีสมาธิกับการมองถนน

2. ทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าประมาณ 2-3 คันรถ เพื่อให้มีระยะเบรคมากขึ้น

3. ระหว่างขับรถควรตื่นตัวเสมอ หากรู้สึกเหนื่อยหรือเพลีย ไม่ควรขับรถเด็ดขาด เนื่องจากการขับรถต้องใช้ประสาทสัมผัสที่ไว โดยเฉพาะการขับรถบนถนนมอเตอร์เวย์ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ความเร็วสูง ดังนั้น หากรู้สึกเหนื่อย ควรนอนหลับ เพื่อให้หายจากอาการเพลียเสียก่อน

4. สถานการณ์การขับขี่ที่อันตราย ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การขับรถเมื่อถนนเปียกหรือขรุขระ

5. คุณแม่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่หรือแม้แต่การพิมพ์ข้อความตอบโต้

6. การขับรถอย่างปลอดภัย ควรมีระยะเวลาให้ตัดสินใจประมาณ 3 วินาที ดังนั้น คุณแม่ไม่ควรขับรถชิดกับคันอื่นมากเกินไป โดยควรมีระยะตัดสินใจเบรคประมาณ 3 วินาที

7. คุณแม่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำคัญ อย่าลืมปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่ามียาชนิดใดบ้างที่ส่งผลต่อความสามารถในการขับขี่
Car Safety for Pregnant Women - familydoctor.org

ข้อควรรู้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ต้องขับรถเอง

1. ช่วงไหนที่แม่ท้องไม่ควรขับรถ

ช่วงไตรมาสแรก คุณแม่อาจมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงนอนง่าย ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการขับรถ หากเลี่ยงได้ให้คนอื่นขับรถให้นั่งจะดีที่สุด และ หากต้องขับรถเป็นเวลานาน แนะนำให้หยุดพักรถเป็นระยะ เพื่อยืดแข้งยืดขา หมุนข้อเท้า ขยับนิ้วเท้าให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น แล้วค่อยขับรถต่อจะดีกว่า

– ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่อุ้ยอ้ายเต็มที่แล้ว หรืออยู่ในช่วงใกล้คลอด ไม่แนะนำให้ขับรถ เพราะท้องของคุณแม่อาจใหญ่จนไปค้ำพวงมาลัย ทำให้ขับรถยาก และอึดอัด หากเบรกกะทันหัน ท้องอาจกระแทกพวงมาลัย ทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด และเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้ แนะนำให้คุณแม่ย้ายมานั่งสวย ๆ ที่เบาะหลังแทน และอย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ด้วย

2. เข็มขัดนิรภัยจำเป็นอย่างไร

จากรายงานการศึกษาหนึ่งในสหรัฐอเมริกาพบว่า แม่ท้องที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ในขณะเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ มีความเสี่ยงที่จะคลอดทารกน้ำหนักน้อยมากเป็น 1.3 เท่าของแม่ท้องที่ไม่ได้เกิดอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ และจะมีโอกาสเลือดออกมากขณะคลอด 2.1 เท่า และทารกเสียชีวิตมากเป็น 2.8 เท่า เมื่อเทียบกับแม่ท้องที่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะเกิดอุบัติเหตุ แสดงให้เห็นว่า เข็มขัดนิรภัย นอกจากจะลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุให้กับแม่ท้องแล้ว ยังช่วยลด และ ป้องกันอันตราย ต่อลูกน้อยในครรภ์ ขณะเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์อีกด้วย

Free Photo | Young pregnant woman testing a car in car showroom

3.วิธีคาดเข็มขัดนิรภัยที่ถูกต้องสำหรับคนท้อง

การคาดเข็มขัดนิรภัยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำเวลานั่งรถอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นให้คุณแม่พาดจากจุดข้างสะโพกไป โดยพาดผ่านต้นทั้งสองข้าง แต่อยู่ระดับต่ำกว่าท้องของคุณแม่ สายบนนั้นควรอยู่ช่วงราวนม และ คอ ส่วนสายล่างให้ปรับไม่ให้ตึงมากและวางไว้ใต้พุง โดยเว้นสามเหลี่ยมไว้ตรงช่วงท้อง วิธีนี้จะช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากการกระชากกลับเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุได้ ถึงแม้การคาดเข็มขัดจะทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยจะไปรัดลูกน้อยในท้อง หากทำตามคำแนะนำ คืออย่าให้สายพาดรัดบนหน้าท้อง ก็จะไม่เกิดอันตรายต่อลูกน้อย 

4.ท่านั่งขับรถที่ถูกต้องสำหรับคนท้อง

เนื่องจากพุงคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้นขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรปรับเบาะให้ถอยห่างจาก พวงมาลัยมากขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร ปรับเบาะเอนกว่าเดิมเล็กน้อย และปรับพวงมาลัยสูงขึ้น เพื่อป้องกันหากเบรกกะทันหัน ท้องจะไม่กระแทกพวงมาลัย รวมทั้งแอร์แบคไม่กระแทกใส่ท้องคุณแม่ด้วย ทั้งนี้คุณแม่ ต้องแน่ใจว่านั่งสบาย สามารถควบคุมคันเร่ง และ เบรกได้ถนัดเหมือนเดิม ไม่เช่นนั้นอาจทำให้คุณแม่ขับรถไม่ถนัด เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น

5. ตัวช่วยบรรเทาอาการปวดหลังขณะขับรถ

สรีระที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์ทำให้คุณแม่ปวดหลังได้ง่ายอยู่แล้ว ยิ่งหากคุณแม่ต้องขับรถเอง ก็ยิ่งมีโอกาสปวดหลังง่ายขึ้น คุณแม่อาจหาลูกไม้แก้ปวดมาติดที่เบาะ เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังขณะขับรถ ซึ่งลูกไม้นี้จะช่วยนวดหลังให้คุณแม่ และ ไม่มีอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แต่อย่างไร นอกจากนี้ คุณแม่อาจใช้เบาะรองหลัง และ เบาะรองนั่งที่ออกแบบมาสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดจากการขับรถนาน ๆ ได้

6.อันตรายจากการขับรถที่พบบ่อย

แม้จะไม่ได้เกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนรุนแรง แต่การกระแทก กระเทือน หรือ ขับรถตกหลุมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แม้ว่าลูกน้อยในครรภ์ จะมีน้ำคร่ำช่วยลดแรง กระทบกระเทือน จากภายนอกลงได้ก็ตาม แต่หากบังเอิญ ขับรถตกหลุมอย่างแรงก็อาจเป็น อันตรายถึงลูกได้ เพราะฉะนั้นให้คุณแม่สังเกต ตัวเองดังต่อไปนี้ หากเจ็บท้องตลอดเวลาหลังเกิดอุบัติเหตุ หรือ เดี๋ยวเจ็บเดี๋ยว หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด รวมถึงลูกดิ้นน้อยลงให้รีบไปพบคุณหมอทันที

บทส่งท้าย

แม้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถขับรถยนต์เองได้ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ยังมีอาการแพ้ท้องอยู่อาจจะมีอาการเวียนหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ซึ่งอาจจะส่งผลขณะขับรถยนต์ได้ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถเองจะดีกว่า

เครดิตรูปภาพ www.telegraph.co.uk familydoctor.org www.freepik.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)