คลอดธรรมชาติ น่ากลัวไหม?  มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง แล้วคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง คลอดธรรมชาติ น่ากลัวไหม?  มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง แล้วคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติ เป็นกระบวนการคลอดลูกที่เบสิกและคลาสสิคที่สุด ที่คุณแม่จะเบ่งทารกน้อยออกมาด้วยกำลังแรงกายทั้งหมดที่มี แต่คลอดธรรมชาติยังเหมาะสมกับยุคปัจจุบันอยู่ไหม คลอดลูกธรรมชาติอันตรายหรือเปล่า ไปหาคำตอบกัน

คลอดธรรมชาติคืออะไร

คลอดธรรมชาติ (Natural birth) คือ การคลอดลูกโดยแม่เป็นผู้คลอดเองด้วยการออกแรงเบ่งทารกออกมา และไม่ผ่านกระบวนการผ่าตัด ซึ่งการคลอดธรรมชาตินี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 37-40 ของการตั้งครรภ์ เพราะอาการเจ็บท้องคลอดจะเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้

ข้อดีของการคลอดธรรมชาติ

– แม่สามารถฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็ว

– เสียเลือดน้อย

– เจ็บแผลคลอดน้อย

– ความเสี่ยงของแผลติดเชื้อน้อย

– ไม่มีความเสี่ยงของการเกิดพังผืดในช่องท้อง

– โอกาสที่จะเกิดภาวะรกเกาะต่ำในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปมีน้อย

– ทารกที่คลอดธรรมชาติจะได้รับภูมิคุ้มกันในช่องคลอดมาด้วย

– ทารกมีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจน้อย

ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ

– ไม่สามารถกำหนดวันคลอดที่แน่นอนได้ ต้องรอให้มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเป็นสัญญาณ

– เสี่ยงที่จะเกิดภาวะสายสะดือทารกถูกกดทับ

– เสี่ยงที่ทารกจะขาดออกซิเจน หากการคลอดใช้เวลานาน

– อาจจำเป็นต้องใช้คีมคีบเด็กในกรณีที่แม่หมดสติ หรือหมดแรงคลอด

– ในกรณีที่ทารกมีขนาดตัวใหญ่ อาจทำให้คลอดลำบาก ช่องทางคลอดฉีกขาด เสียเลือดมากขึ้น

– ทารกเสี่ยงที่จะสำลักขี้เทา

คลอดธรรมชาติ มีขั้นตอนอะไรบ้าง

เราจะสามารถแบ่งขั้นตอนการคลอดธรรมชาติได้เป็น 3 ช่วงขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

– ส่งสัญญาณเตือน การเจ็บครรภ์ก่อนคลอด จะเริ่มต้นจนถึงปากมดลูกเปิดขยายเต็มที่ ใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมงสำหรับท้องแรก (ท้องถัดมาอาจจะเร็วขึ้น) โดยจะเริ่มเจ็บครรภ์มากขึ้นเรื่อย ๆ และถี่ขึ้นจากช่วงแรกทุก 5 นาที ซึ่งปากมดลูกเปิดขยายไม่เกิน 7 เซนติเมตร เป็นทุก ๆ 0.5-3 นาที ในช่วงปากมดลูกเปิดขยายประมาณ 8-10 เซนติเมตร ซึ่งคุณแม่อาจลดความเจ็บปวดด้วยการควบคุมลมหายใจให้ดี

– เบ่งคลอดลูก เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดขยายเต็มที่ พร้อมสำหรับการเบ่งคลอด ซึ่งคุณแม่จะรู้สึกถึงแรงดันช่วงล่างหรือที่เรียกว่า ลมเบ่ง และจะรู้สึกอยากเบ่งคลอดตามธรรมชาติ โดยคุณหมอจะแจ้งให้เริ่มเบ่งได้เมื่อเกิดการหดตัวของมดลูก ซึ่งแรงเบ่งของคุณแม่จะดันให้ลูกนำศีรษะเคลื่อนที่ลงอุ้งเชิงกรานและลงไปในช่องคลอดในที่สุด และร่างกายของลูกก็จะคลอดออกมาได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

– คลอดรก หลังจากคลอดลูกออกมาแล้ว ร่างกายจะทำการคลอดรกและเยื่อหุ้มเซลล์ออกมาตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องเบ่งแรงเท่าคลอดลูก และคุณหมอจะตรวจเช็กว่ารกคลอดออกมาหมดหรือไม่ เพื่อป้องกันอาการเลือดออกหรือติดเชื้อ

Giving Birth: Labor & Delivery Tips from an OBGYN for First-Time Moms

คลอดลูกเอง ใช้เวลาพักฟื้นกี่วัน

โดยทั่วไปหากคุณแม่เลือกวิธีคลอดลูกแบบธรรมชาติ ทางโรงพยาบาลจะกำหนดให้พักฟื้นที่โรงพยาบาลจำนวน 2 คืน ซึ่งระหว่างพักฟื้น คุณหมอและพยาบาลจะคอยช่วยตรวจเช็กสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อย ถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ เลือดออกทางช่องคลอดหลังคลอด การแข็งตัวของมดลูก ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมน รวมถึงภาวะตัวเหลืองของลูก เป็นต้น ทั้งนี้คุณแม่ที่คลอดธรรมชาติยังสามารถให้นมลูกได้โดยทันทีหลังคลอด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นน้ำนมของคุณแม่ และแนะนำให้นำลูกมาเข้าเต้าทุก ๆ 2-3 ชั่วโมงต่อเนื่องสม่ำเสมอ 

ทั้งนี้มีข้อควรระวังเกี่ยวกับแผลฝีเย็บเล็กน้อย คือควรงดมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดประมาณ 4-6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในโพรงมดลูก โดยควรกลับมาตรวจแผลหลังคลอดและให้คุณหมอประเมินและยืนยันอีกครั้งว่าแผลหายดีและปิดสนิทแล้ว และคุณแม่ควรงดออกกำลังกายหลัง

คลอดประมาณ 6 สัปดาห์ และให้เริ่มออกกำลังกายแบบเบา ๆ ไปก่อน เช่น โยคะ การเดิน เป็นต้น

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้คลอดธรรมชาติไม่ได้

การคลอดธรรมชาติต้องอาศัยความแข็งแรงสมบูรณ์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ และสุขภาพของทารกในครรภ์ประกอบร่วมกัน โดยหากเมื่อมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจส่งผลให้คุณแม่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติตามที่คาดหวังไว้ได้

1.ตรวจพบภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจส่งผลอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่และลูกในครรภ์ได้

2.ภาวะรกเกาะต่ำ อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่เคยผ่าตัดมดลูก หรือทำการผ่าคลอดในท้องแรก หรืออาจเคยมีประวัติรกเกาะต่ำ

3.ทารกในครรภ์มีขนาดโต หรือท่าทางของทารกในครรภ์ไม่เหมาะสมกับการคลอดธรรมชาติ เช่น เด็กไม่กลับหัว เป็นต้น

4.คุณแม่ตั้งครรภ์มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ หรือโรงมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจมีผลเสียและเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถคลอดลูกด้วยวิธีธรรมชาติ

การคลอดธรรมชาติเจ็บหรือไม่ จำเป็นต้องบล็อกหลังหรือไม่

อาการเจ็บปวดระหว่างคลอดธรรมชาตินั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการบีบตัวของมดลูก ท่าทางของทารกและความอดทนต่อความเจ็บของคุณแม่ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการระงับความเจ็บระหว่างคลอดได้หลายวิธี เช่น การฉีดยาลดปวดเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ การฉีดยาชาเข้าที่ฝีเย็บ หรือแม้กระทั่งการบล็อกหลังโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งวิธีการบล็อกหลังนี้จะช่วยลดความเจ็บได้ตั้งแต่ระยะรอคลอด ไปจนถึงการตัดฝีเย็บเลยทีเดียว

บทส่งท้าย

การตัดสินใจที่ดีที่สุดของคุณแม่ในการเลือกวิธีการคลอดลูก คือ ควรปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ และให้คุณหมอช่วยประเมินสุขภาพของทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์และลูกในครรภ์ รวมถึงศึกษาข้อดีและข้อเสียของการคลอดในแต่ละวิธี โดยเลือกแนวทางที่คุณแม่รู้สึกมั่นใจ คลายความกังวล และรู้สึกปลอดภัยมากที่สุด

เครดิตรูปภาพ www.news24.com www.independent.co.uk www.dailymail.co.uk

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (174) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (172) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)