รถหัดเดินจำเป็นต่อลูกน้อยแค่ไหน ช่วยหัดเดินได้จริงหรือเปล่า?

บทความนี้ขอแนะนำ “รถหัดเดินจำเป็นต่อลูกน้อยแค่ไหน ช่วยหัดเดินได้จริงหรือเปล่า?” รถหัดเดินนั้นนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมาก เพราะหลายคนเข้าใจว่ารถหัดเดินนั้นจะช่วยให้เด็กนั้นเริ่มเดินได้ไวมากขึ้น และสะดวกสบายแก่คุณพ่อคุณแม่ เพราะจับลูกใส่รดหัดเดิน ลูกก็จะใช้ขาไถเอง ไม่ต้องมาคอยพยุง คอยระวังว่าจะล้มไหม แต่รถหัดเดินนี้มันช่วยได้จริงไหม แล้วมีข้อดีจริงหรือเปล่านั้นลองไปอ่านบทความนี้กัน

Baby Walker Age: What Age Can a Baby Use a Walker?

รถหัดเดินคืออะไร 

รถหัดเดิน คือ รถที่มีลักษณะเป็นโครงวงกลม มีที่นั่งตรงกลางและมีล้อเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ รวมถึงอาจมีของเล่นติดอยู่เพื่อให้ความเพลิดเพลินแก่เด็ก รถหัดเดินผลิตขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เด็กวัยหัดเดินฝึกฝนการเดิน เนื่องจากมีโครงสร้างที่สามารถช่วยพยุงเด็กให้ยืนตัวตรงซึ่งอาจช่วยให้เด็กสามารถเดินได้เร็วขึ้น

รถหัดเดิน ทำให้ลูกเดินเร็วขึ้นได้จริงหรือไม่ ?

เมื่อคุณพ่อคุณแม่จับลูกใส่รถหัดเดินก็หวังจะช่วยให้ลูกนั้นเดินได้เร็วขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้วนั้น รถหัดเดินมีล้ออยู่แล้ว แค่เด็กขาขยับนิดหน่อย รถก็เลื่อนไปแล้ว ซึ่งหากมองถึงความจริงแล้ว การให้ลูกใช้รถหัดเดินบ่อย ๆ ไม่ได้ทำให้ลูกนั้นออกแรงอะไรเลยด้วยซ้ำ แต่อาจจะส่งผลที่ตรงกันข้ามกันด้วยซ้ำ อาจจะทำให้เขานั้นเริ่มเดินได้ช้ากว่าเดิม เพราะไม่ได้มีการขยับขาอย่างเต็มที่ และไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อด้วย แถมรถหัดเดินนั้นก็ยังมีข้อเสียมากกว่าด้วยซ้ำ บางครั้งยังสามารถทำให้เกิดอันตรายได้จากการเคลื่อนไหวของรถหัดเดินที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว และอาจตกลงจากที่สูง หรือเคลื่อนตัวไปชนสิ่งของจนตกล้มได้อีกด้วย

Baby Walkers Are Not Safe and Should Be Banned

รถหัดเดิน ส่งผลอันตรายอย่างไร      

รถหัดเดินนั้นจะมาพร้อมฐานที่มีความกว้างน้อย รวมทั้งโครงสร้างที่เปราะบาง เมื่อใช้ขาไถด้วยความเร็วนั้นอาจจะทำให้รถเกิดการคว่ำได้ หรือเมื่อไปเจอทางลาด พื้นต่างระดับสะดุดกับสิ่งของบนพื้น หรือแม้แต่ชน กับเสาหรือกำแพง ก็ทำให้รถคว่ำได้เช่นกัน หรืออาจะทำให้ลูกได้รับบาดเจ็บจากการกระแทก ส่งผลให้ศีรษะ แขน ขา ใบหน้าได้รับบาดเจ็บตามไปด้วย ซึ่งในบางรายอาจะถึงขั้นพิการเสียชีวิตได้

และเพราะเด็กอยู่ในรถหัดเดิน คุณพ่อคุณแม่อาจจะวางใจ แต่ใครจะรู้ว่าลูกนั้นอาจจะใช้ขาไถไปชนกับข้าวของเครื่องใช้ ที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อเขาก็ได้เช่น กาต้มน้ำร้อน จนอาจจะทำให้เขาถูกน้ำร้อนลวกก็ได้ เตารีด หม้อหุงข้าว มุมโต๊ะต่าง ๆ หรือถ้าคุณพ่อคุณแม่วางใจมากเกิน เรื่องที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นได้เช่น เขาอาจจะไถรถไปริมสระน้ำ จนตกน้ำได้ หรือไปชนเข้ากับถังน้ำ รถพลิกคว่ำหัวจุ่มลงไปในน้ำ หรือ อาจจะไถรถออกไปริมถนนได้ อาจจะถูกรถชน ซึ่งเคยมีกรณีนี้เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศไทยด้วย

ฝึกลูกให้หัดเดินอย่างไรดี

1. เริ่มจากการคลาน

พัฒนาการของเด็กนั้นจะเริ่มจากคลานก่อน ซึ่งการคลานนั้นจะทำให้เขาได้เริ่มเรียนรู้การเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในเด็กบางรายนั้นอาจจะมีพัฒนาการที่ไวกว่าโดยเริ่มที่การยืนไปเลย แต่ถ้าหากลูกของคุณเริ่มคลานได้คล่องแล้ว เด็กก็จะค่อย ๆ พยุงตัวเองเริ่มหาที่เกาะเพื่อทรงตัว แล้วเริ่มมีการก้าวขาบ้างเล็กน้อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น และพยายามให้เขานั้นได้ฝึกหัดเดินตามขั้นตอนของเด็กน่าจะดีกว่า

2. ค่อยๆ เดินเกาะไปเรื่อยๆ

หลังจากที่ลูกเริ่มยืนเกาะและทรงตัวได้แล้ว เขาก็เริ่มที่จะเรียนรู้การเดินด้วยตัวเองแล้ว เขานั้นจะเกาะสิ่งต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ และเมื่อลูกอายุประมาณ 9-10 เดือน เด็กจะเริ่มเรียนรู้การทรงตัว และอาจจะมีการเริ่มก้าวขาแล้ว ซึ่งในช่วงที่เขากำลังเริ่มทรงตัว และพยายามหัดก้าวเดิน คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง เขาอาจจะไปเกาะสิ่งของที่อาจจะร่วงหล่นในหัวของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้ามองอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ควรเข้าไปช่วยเขามากเกินไป ต้องปล่อยให้เขานั้นเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเอง

3. เริ่มเดินแบบปล่อยมือ

หลังจากที่ลูกเริ่มมีความมั่นใจว่าตัวเองสามารถเดินได้โดยไม่ต้องเกาะสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวแล้ว ลูกจะค่อย ๆ ทรงตัวและพยายามเดินด้วยตัวเอง  ซึ่งแน่นอนว่าอาจมีการล้มบ้าง คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้เขาได้หัดลุกขึ้นยืนได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ก้าวต่อไปของลูกมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น โดยเด็กจะเริ่มเดินได้เองอย่างอิสระเมื่ออายุ 12-14 เดือน หรืออย่างช้าที่สุดคือ 18 เดือน ซึ่งการเขาล้มนั้นเป็นเรื่องที่เขาต้องเรียนรู้ คุณพ่อคุณแม่ควรพูดชมและให้กำลังใจ ไม่ควรส่งเสียงอุทานจนเขาตกใจ ฝึกให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองมากที่สุด

บทส่งท้าย

ปัจจุบันรถหัดเดินนั้น ในต่างประเทศนั้นมีข้อห้ามและบังคับไม่ให้เรียกว่ารถหัดเดินแล้ว แต่ในบ้านเรานั้นได้มีการเปลี่ยนข้อกฎหมายและเปลี่ยนชื่อเรียกจากรถหัดเดินมาเป็น “รถช่วยพยุง” แทนแล้ว ซึ่งถ้าหากลองศึกษาข้อมูลดี ๆ ข้อเสียของรถหัดเดิน หรือรถช่วยพยุง ค่อนข้างมาก ก่อนซื้อควรตัดสินใจให้ดีอีกครั้ง ว่ามีประโยชน์ต่อลูกน้อยจริงหรือเปล่า

เครดิตรูปภาพ momsabc.com www.verywellfamily.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (155) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)