ลดความเสี่ยงการแพ้อาหารในเด็กทารก เป็นสิ่งที่สามารถหลีกเลี่ยงได้อยากและอันตรายมากกว่าที่คิด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสังเกตอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย เพื่อตรวจสอบและหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับลูกได้ การแพ้อาหารเกิดขึ้นหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แพ้อาหารประเภทนมวัว แพ้แป้งสาลี แพ้ถั่ว แพ้ไข่ ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้เราสามารถเรียนรู้และป้องกันได้ หากใครที่กำลังมีความกังวลในเรื่องนี้ วันนี้เรามีเคล็ดลับในการลดความเสี่ยงของการแพ้อาหารในเด็กทารกมาฝากกัน จะมีวิธีสังเกตและปฏิบัติอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย
1. เริ่มต้นด้วยการสังเกต
เป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่เราจะสามารถทราบได้ว่าลูกมีอาการแพ้อาหารหรือไม่ โดยการแพ้นั้นแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ อาการแพ้แบบเฉียบพลัน คือหากร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านั้นไปแล้ว ไม่เกิน 2 ชั่วโมงจะเกิดอาการแพ้แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น มีผื่นขึ้นที่ลำตัวหรือใบหน้า ปากบวม หายใจติดขัด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต อาการแพ้แบบเรื้อรัง คือ จะมีอาการถ่ายเหลว ลูกปวดท้องแบบเรื้อรัง หรือเด็กบางรายอาการหนักถึงขั้นถ่ายมีมูกเลือดปนได้ หรือเด็กบางคนอาจลำไส้อักเสบจนร่างกายไม่สามารถดูดซึมอาหารได้ และสุดท้ายคือ อาการแพ้แบบเฉียบพลันผสมกับเรื้อรัง เด็กจะมีอาการคัดจมูกเรื้อรัง มีน้ำมูก ถ่ายเหลว เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ต้องหยุดอาหารที่สงสัยทันที
2. เพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรงมากขึ้น
ด้วยการให้ลูทานนมแม่ให้ได้นานที่สุด อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์แบบที่สุด สนับสนุนให้เด็กทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เพราะนมแม่จะมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของเด็กทารกให้สมบูรณ์และแข็งแรงมากยิ่งขึ้น สามารถช่วยป้องกันและลดภาวะโรคภูมิแพ้ในเด็กลงได้มากเลยทีเดียว
3. เพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่
คุณแม่ที่ให้นมบุตร จำเป็นอย่างมากที่ต้องได้รับอาหารเสริม และควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อให้น้ำนมที่ออกมานั้นมีความข้นและเต็มเปี่ยมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ที่จะสามารถส่งต่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีได้ โดยแนะนำให้ลดอาหารกลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เด็กแพ้ได้ เช่น ถั่ว เน้นทานอาหารให้หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ ก็จะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อและส่วนต่างๆของร่างกายให้แข็งแรงสมวัยนั่นเอง
4. ให้อาหารเสริมตามช่วงวัยกับลูก
เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่จะช่วยเสริมร่างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง โดยแนะนำให้อาหารเสริมหลังเด็ก 6 เดือนขึ้นไป ค่อยๆเริ่มอาหารทีละประเภทและให้ซ้ำวนไปอย่างน้อย 3-4 วัน เพื่อสังเกตอาการแพ้ เช่น ข้าวสวยหุงสุกบดละเอียด เนื้อสัตว์ ผักบด เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไข่ขาว ปลาทะเล เพราะเด็กมีประวัติแพ้อาหารกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง
5. คัดกรองอาหารก่อนให้ลูกทานเสมอ
คุณแม่หลายท่านไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกทาน จึงอาจเน้นความสะดวก รวดเร็วเป็นหลัก หรืออาจแก้ไขปัญหาด้วยการซื้อกับข้าวนอกบ้านให้ลูกทาน หากลูกยังไม่ครบ 1 ขวบ คุณจะต้องมั่นใจในวัตถุดิบ และไม่ควรปรุงรสใดๆ เพราะไตของลูกยังไม่แข็งแรงพอที่จะขับของเสียเหล่านั้นออกจากร่างกาย ดังนั้นเพื่อลดอาการแพ้อาหารลงให้คุณคัดกรองอาหารให้ลูกทาน หลีกเลี่ยงขนม หรืออาหารเสริมที่ปรุงรส จะช่วยลดปัญหาลงได้มากเลยทีเดียว
6. ทำอาหารให้ลูกทาน
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพ้อาหารลงได้ การทำอาหารเองจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมวัตถุดิบได้เอง ทุกขั้นตอนจะมั่นใจว่าปลอดภัยสำหรับเด็ก และที่สำคัญหากลูกมีอาการแพ้เกิดขึ้น คุณจะสามารถทราบได้ทันทีว่าลูกแพ้อาหารประเภทใด ซึ่งถือว่าสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าเคล็ดลับ ในการลดความเสี่ยงการแพ้อาหารในเด็กทารก นั้นสำคัญและมีประโยชน์กว่าที่คิด การแพ้อาหารในเด็กทารกส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้น อาหารหรือนมที่ทานเข้าไปจึงจำเป็นที่จะต้องผ่านการคัดกรองอย่างดีแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการและพบว่าลูกมีอาการแพ้ หากวินิจฉัยได้เร็วว่าแพ้อาหารกลุ่มใด จะช่วยให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อลดอาการรุนแรงที่อาจอันตรายถึงชีวิตลงได้นั่นเอง บาคาร่าออนไลน์