วิธีรับมือกับลูกติดโทรศัพท์ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคสมัยปัจจุบันนี้โทรศัพท์มือถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสื่อสารที่เข้ามาส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของเด็กในยุคนี้มากที่สุด คงมีคุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลยที่ต้องกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ แต่โทรศัพท์มือถือก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการเรียนรู้และมีประโยชน์มากหากใช้ถูกวิธี ดังนั้นวันนี้เราจึงมีเคล็ดลับในการรับมือแล้วจัดการกับวิธีการใช้โทรศัพท์มือถือของลูกให้มีประโยชน์สูงสุดมาฝากกัน จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นไปติดตามกันเลย
1. มีเวลาอยู่กับลูกให้มากยิ่งขึ้น
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในปัจจุบันนี้คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่นั้นมักจะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หรือมีระยะเวลาในการเลี้ยงลูกจำกัดดังนั้น มือถือจึงเข้ามาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการและดูแลกับลูกได้มากยิ่งขึ้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่าทุกครั้งที่คุณยึดโทรศัพท์มือถือให้กับลูกนั้นเหมือนเป็นดาบสองคม ที่ทำร้ายลูกทางอ้อม ถ้าหากลูกใช้ผิดวิธี และเกิดการติดโทรศัพท์มือถือขึ้นมาจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกโดยตรง
จากการสำรวจแล้วพบว่าเด็กส่วนใหญ่ที่พ่อแม่มีเวลาเล่นด้วยกันมากขึ้น เด็กจะไม่สนใจอุปกรณ์สื่อสารเลย ดังนั้นถ้าหากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาที่ลูกติดโทรศัพท์มือถืออย่างหนักอยู่นั้นแนะนำให้คุณหาเวลาให้ลูกมากยิ่งขึ้น จะช่วยสานสัมพันธ์กับลูกให้เขาลดความสนใจโทรศัพท์มือถือเหล่านั้นลง โดยคุณสามารถหากิจกรรมสนุกสนานมาดึงดูดความสนใจลูกเช่น การเล่นบอร์ดเกม การเล่นกีฬาที่มีความท้าทาย จะช่วยได้มากเลยทีเดียว
2. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก
ข้อนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะธรรมชาติของเด็กแล้วนั้นจะชอบเลียนแบบพฤติกรรมของคนรอบตัว ดังนั้นก่อนที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกให้เลิกติดโทรศัพท์มือถือนั้น ควรเริ่มต้นจากคุณพ่อคุณแม่ให้มีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในเชิงบวก ใช้งานโทรศัพท์มือถือเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เช่น ไม่เล่นมือถือขณะทานข้าว หลีกเลี่ยงการตอบแชทหรือท่องโลกโซเชียลขณะทำกิจกรรมกับลูก ไม่เล่นโทรศัพท์ก่อนนอน และที่สำคัญต้องลดการใช้โทรศัพท์มือถือเมื่ออยู่ต่อหน้าลูก จะช่วยปลูกฝังลักษณะนิสัยของเขาให้สนใจเทคโนโลยีเหล่านี้ลดน้อยลง
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โทรศัพท์มือถือนั้นก็ยังคงมีประโยชน์และสามารถให้ความรู้กับเด็กได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรปลูกฝังวินัยในการใช้อุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้ให้ลูกอย่างเหมาะสม จะช่วยลดภาวะและลดความเสี่ยงที่ลูกจะได้รับอันตรายจากแสงสีฟ้าน้อยลงด้วย และที่สำคัญ จะลดการส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านอื่นๆของลูกลงได้เป็นอย่างดี
3. อธิบายผลกระทบอาการติดโทรศัพท์ให้ลูกได้รับรู้
จากบทความของนักกิจกรรมบำบัดแล้วพบว่าเด็กในช่วง 3-6 ปีจะมีพัฒนาการทางด้านความคิดที่มีเหตุและมีผลมากยิ่งขึ้น เขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวได้มากยิ่งขึ้น เป็นเรื่องที่ดีที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถปลูกฝังและอธิบายถึงผลกระทบจากการติดโทรศัพท์มือถือให้ลูกได้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้เขาตระหนักถึงผลเสียของการใช้โทรศัพท์มือถือได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
4. ปลูกฝังให้ลูกมีวินัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ
ถึงแม้ว่าโทรศัพท์มือถือนั้นจะเปรียบเสมือนดาบสองคมแต่ในปัจจุบันนี้เราปฏิเสธการใช้โทรศัพท์มือถือได้ยากมาก ดังนั้นสิ่งที่คุณทำได้คือการปลูกฝังวินัยการใช้โทรศัพท์ให้ลูกอย่างเหมาะสม เช่นการจัดตารางเวลาในการใช้โทรศัพท์ ซึ่งถือเป็นข้อตกลงร่วมกัน การลดภาวะการติดโทรศัพท์มือถือของลูกลงได้มากเลยทีเดียว สิ่งที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องเคารพกติกาที่ตั้งขึ้นมา เพราะมิเช่นนั้นจะทำให้ลูกมีความยืดหยุ่นและกลายเป็นติดโทรศัพท์มือถือได้ในอนาคตนั่นเอง
5. กำหนดช่วงเวลาการเล่นโทรศัพท์มือถือ
เป็นอีกหนึ่งข้อที่สามารถช่วยลดภาวะการติดโทรศัพท์ของลูกลงได้ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการใช้โทรศัพท์มือถือต้องไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นการฝึกระเบียบวินัยและความอดทนของลูก
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับ วิธีรับมือกับลูกติดโทรศัพท์ ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่าพ่อแม่นั้นมีความสำคัญต่อพฤติกรรมของลูกเป็นอย่างมาก หากอยากลดความเสี่ยงที่ลูกจะติดจอ ต้องเริ่มจากที่คุณก่อนเลย แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่นั้น เคล็ดลับที่เรานำมาฝากในวันนี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ลูกสนใจโทรศัพท์มือถือน้อยลง ซึ่งวิธีต่างๆเหล่านี้ สามารถปฏิบัติตามกันได้และรับรองว่าเห็นผลอย่างแน่นอน บาคาร่าออนไลน์