“เบบี้คริสตัล” คืออะไร สีสันสวย แต่ทำไมถึงแฝงไปด้วยอันตรายต่อเด็ก

บทความนี้ขอแนะนำ “”เบบี้คริสตัล” คืออะไร สีสันสวย แต่ทำไมถึงแฝงไปด้วยอันตรายต่อเด็ก” “เบบี้คริสตัล” กลายเป็นกระแสไวรัล หลังจากที่มีคุณแม่ท่านหนึ่งเผยว่าลูกชายได้กินเบบี้คริสตัลเข้าไปจนทำให้ลำไส้อุดตันและต้องผ่าออกมา จึงทำให้หลายคนอยากรู้ว่าสิ่งนี้คืออะไรและมีอันตรายอย่างไร และคุณพ่อคุณแม่ควรระวังยังไงดี

Maine mom raises the alarm after her baby daughter nearly dies from  swallowing a water bead | Fox News

เบบี้คริสตัลคืออะไร

         “เบบี้คริสตัล” (Baby Crystal) หรืออีกชื่อเรียกคือ น้ำตานางเงือก เป็นพอลิเมอร์ มีสาร 2 ชนิด คือ พอลิอะคริลาไมด์ (Polyacrylamide) และสารไวนิลอะซีเตด-เอทิลีนโคพอลิเมอร์ (Vinylacetate-ethylene copolymer) มีขนาดเท่ากับไส้ดินสอ มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำจำนวนมาก เมื่อยังไม่ดูดน้ำจะมีขนาดเล็กเท่ากับเม็ดสาคู หากดูดน้ำแล้วจะขยายพองตัวขึ้นจนมีขนาดพอๆ กับลูกปิงปอง มีหลากสีสันสดใส เช่น สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีฟ้า สีม่วง สีส้ม จึงดึงดูดใจเด็กๆ มักจะนำมาเล่นแช่น้ำให้พองตัวขึ้น ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนคล้ายวุ้นหรือเจลใส และเมื่อนำก้อนโพลีเมอร์ที่อุ้มน้ำนั้นมาตากแดด หรืออบด้วยความร้อนเพื่อไล่น้ำแล้วก็จะได้สารโพลีเมอร์กลับคืนมาเหมือนเดิม โดยจุดประสงค์จริง ๆ ของพอลิเมอร์เหล่านี้จะถูกนำมาใช้กับผ้าอ้อมสำเร็จรูป ผ้าอนามัย รวมถึงดินวิทยาศาสตร์ ที่เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้

เบบี้คริสตัล อันตรายสำหรับเด็กยังไง

          ด้วยความที่มีลักษณะสีสันสดใส ราคาถูก จึงทำให้เด็ก ๆ ซื้อมาเล่นได้ง่าย แต่จะเป็นอันตรายกับลูกมากหากเผลอกินเข้าไป เนื่องจากเบบี้คริสตัลสามารถพองตัวในร่างกายมนุษย์ได้ถึง 5 เท่า โดยจะซึมซับเอาน้ำจากร่างกาย เช่น น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หากเข้าไปในลำไส้ก็จะทำให้อุดตันและดึงน้ำออกจากโพรงลำไส้ ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและติดเชื้อ ข้อสำคัญคือ เมื่อเบบี้คริสตัลพองตัวถึงระดับหนึ่งก็จะแตกตัวออกมา เมื่อตัวใหม่ดูดน้ำเข้าไปอีกก็จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนแตกตัวใหม่ออกไปอีก อาการคือ ทำให้เด็กจุกเสียด แน่นท้อง โดยเฉพาะหากเบบี้คริสตัลไปค้างในหลอดอาหารส่วนต้น หรือสำลักเข้าหลอดลม จะทำให้เกิดการอุดกลั้นและหายใจล้มเหลวเฉียบพลันหากไม่สามารถเอาออกมาได้ จนอาจจะเสียชีวิตได้

เบบี้คริสตัล ใช้ทำอะไรได้บ้าง

สารที่อยู่ใน เบบี้คริสตัล ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในวงการแพทย์ วงการอุตสาหกรรม และถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเกษตรเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากมีคุณสมบัติช่วยเก็บกักน้ำได้มาก ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำบ่อยๆ อีกทั้งยังใช้เพื่อเพิ่มการดูดซับและเก็บกักน้ำของดินในพื้นที่แห้งแล้ง หรือหน้าแล้ง เพื่อช่วยอุ้มน้ำในดินให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 30% อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบางประเทศที่นำเบบี้คริสตัลมาประยุกต์เป็นสื่อการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ และนำมาใช้ปลูกต้นไม้และประดับตู้ปลาอีกด้วย

Water Beads: Ideas and Uses of Water Beads - SYP STUDIOS

เบบี้คริสตัล การจำหน่ายถือว่ามีความผิด

          อันที่จริงแล้วเบบี้คริสตัลเป็นของอันตรายที่ถูกห้ามขายในลักษณะของเล่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 โดยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ห้ามขายสินค้าที่เรียกว่า “ของเล่นชนิดพองตัว เมื่อแช่น้ำหรือตัวดูดน้ำ” เนื่องจากเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะเด็กเล็ก พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษ หากพบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนผลิตเพื่อขาย สั่ง หรือนำเข้ามาในประเทศ เพื่อขาย หรือขายสินค้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วิธีป้องกัน ระวัง หรือสังเกตลูก เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าปาก

          เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ขวบ มักจะไม่รู้ว่าสิ่งใดอันตรายหรือไม่ และจะหยิบสิ่งนั้นเข้าปากด้วยความอยากรู้อยากเห็นตามพัฒนาการ ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ

– ระมัดระวังและเก็บบ้านให้เรียบร้อย ไม่ให้มีชิ้นส่วนของเล่นหรือวัสดุเล็ก ๆ อยู่บนพื้นที่เด็ก ๆ สามารถเอื้อมคว้าเข้าปากได้

– สังเกตอาการลูกเสมอ หากเด็ก ๆ กลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไปมักจะมีอาการดังนี้ ไอ สำลัก หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ ไม่ยอมกลืนน้ำลาย หรือมีน้ำลายไหลเยอะผิดปกติ อาเจียนมีเลือดปน ปวดท้อง หากพบอาการเหล่านี้ควรพาไปพบแพทย์ทันที

– ถ้ารู้ว่าลูกกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ไม่ควรล้วงคอ หรือทำให้อาเจียน เนื่องจากอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น หรือสิ่งแปลกปลอมอาจหลุดมาอุดทางเดินหายใจทำให้เสียชีวิตได้ ควรพาไปพบแพทย์ทันที

ของเล่นอันตรายอื่น ๆ ที่พ่อแม่ควรระวัง

          นอกจากเบบี้คริสตัลแล้ว ยังมีของเล่นอีกหลายชนิดที่พ่อแม่ควรระวังไม่ให้ลูกน้อยเล่น โดยเฉพาะเด็กวัยต่ำกว่า 3 ขวบ เพราะอาจเผลอนำของเล่นเหล่านั้นเข้าปากจนเกิดอันตรายได้ อาทิ

1.นกหวีด  นกหวีดเป่าลม แตรเป่าลม หรือของเล่นตระกูลที่มี “ไส้นกหวีด” อยู่ด้านใน เพราะขณะที่เด็ก ๆ เป่าอาจหลุดเข้าคอไปยังหลอดลมได้

2.สไลม์  วัตถุนุ่มหยุ่นที่เด็ก ๆ ชอบ แต่บางครั้งวัสดุที่ใช้ทำก็มีอันตรายไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นสารอันตรายอย่างสารบอแรกซ์ สารหนู ตะกั่ว รวมถึงโลหะหนัก และยังใช้กาวอีกด้วย จึงทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกาย ยิ่งถ้าเผลอเอาเข้าปากยิ่งอันตรายหนัก

3.ของเล่นที่มีเชือก  เนื่องจากอาจรัดคอลูกน้อยได้

4.ลูกปัดแม่เหล็ก  เนื่องจากมีขนาดเล็ก และอาจเข้าคอลูกน้อยได้เช่นกัน

5.ของเล่นอื่น ๆ ที่มีขนาดชิ้นส่วนเล็ก ๆ หรือแม้แต่เหรียญต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอันตราย เพราะเสี่ยงที่เด็กจะเอาเข้าปากและหลุดลงหลอดลมได้ง่าย

บทส่งท้าย

แม้ว่าเบบี้คริสตัลจะเป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีขนาดจิ๋ว สีสันสวยงาม แต่กลับแฝงไปด้วยอันตรายมากมาย เพราะถ้าหากเด็ก ๆ เผลอเอาเข้าสู่ร่างกายเมื่อไหร่ มันจะขยายใหญ่จนอาจทำให้เราสูญเสียคนที่รักไปได้เลยทีเดียว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จะซื้อของเล่นอะไรให้กับลูกก็ควรระมัดระวังอย่างมาก

เครดิตรูปภาพ www.foxnews.com www.funathomewithkids.com sypstudios.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (155) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)