บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง อุ้มลูกบ่อย ๆ ลูกจะติดมือ ความเชื่อนี้จริงหรือไม่ คุณแม่มือใหม่หลายคนคงเคยได้ยินผู้ใหญ่ใกล้ชิดเตือนว่าอย่าอุ้มลูกมาก เดี๋ยวลูกจะติดมือ เป็นการตามใจลูก พอวางแล้วลูกจะร้อง อุ้มบ่อย ๆ เด็กจะติดมือชอบให้อุ้ม คำเตือนนี้จริงหรือไม่ ไปหาคำตอบกัน
อุ้มลูกบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่า “ลูกติดมือ”
ทารกมักชอบร้องให้อุ้มโดยเฉพาะทารกที่อยู่ในช่วงวัยแรกเกิด ยิ่งทารกบางคนหากพ่อแม่ไม่ยอมอุ้มก็จะยิ่งร้องไห้แผดเสียงดังจนเหนื่อยหอบ ดูน่าสงสาร คุณพ่อคุณแม่ที่ไหนจะทำใจได้ที่เห็นลูกน้อยร้องไห้เจ็บปวดอยู่ตรงหน้าแล้วไม่ยอมอุ้มขึ้นมา แต่พออุ้มลูกบ่อย ๆ ก็กลัวจะเป็นเหมือนดังคำที่ผู้ใหญ่ชอบพูดว่าการอุ้มลูกบ่อย ๆ จะทำให้พวกเขาเอาแต่ใจและติดมือจนพ่อแม่มือใหม่ไม่เป็นอันทำอะไรต้องคอยสลับกันมาอุ้มลูก
แต่อยากบอกคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายว่าไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะที่เด็กน้อยร้องไห้งอแงบ่อย ๆ เกิดจากการที่พวกเขายังไม่คุ้นชินกับสภาพของโลกภายนอก ที่แตกต่างออกไปจากท้องแม่ ทั้งการที่ได้ลอยอยู่ในน้ำคร่ำอุ่น ๆ และยังได้ยินเสียงจังหวะการเต้นของหัวใจของผู้เป็นแม่ตลอดเวลา และนี่จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมเด็กน้อยถึงสงบลงได้ในยามที่ได้อยู่ในอ้อมอกโดยเฉพาะอ้อมอกของคุณแม่
นอกจากนี้การเอาลูกเข้าเต้าของคุณแม่เองก็ทำให้ลูกสงบลงได้ เช่นเดียวกันเพราะเขาจะได้กลิ่นนมแม่ ซึ่งเป็นกลิ่นเดียวกับกลิ่นน้ำคร่ำที่พวกเขาคุ้นเคย นอกจากนี้เวลาที่เด็ก ๆ ร้องไห้บ่อย ๆ เอง ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยเพราะสาเหตุของการร้องไห้อาจมาจากการที่พวกเขาไม่สบายตัว เช่นเป็นไข้ ผ้าอ้อมเต็ม หรืออยากเรอ เป็นต้น
อุ้มลูกบ่อย ทำให้ลูกติดมือจริงไหม
เป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนคงจะสงสัยกัน โดยคำตอบของคำถามนี้คือ การอุ้มลูกบ่อย ๆ ไม่ได้ทำให้ลูกติดมือเสมอไป เพราะการสร้างความผูกพัน และให้ความอบอุ่นแก่ลูกเป็นสิ่งสำคัญ แต่การฝึกให้ลูกน้อยมีความเป็นอิสระก็จำเป็นเช่นกัน
อุ้มลูกบ่อย ๆ ลูกติดมือดีกับลูกไหม
เด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก ๆ เคยชินกับการอยู่ในท้องของแม่ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา
ในถุงน้ำคร่ำที่ห่อหุ้มตัวลูกน้อยเอาไว้ ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น แถมตอนอยู่ในมดลูกยังได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจแม่ พอคลอดออกมาเด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย จึงแสดงออกถึงความกลัวด้วยการร้องไห้ การอุ้มทารกเข้าแนบอก ให้ลูกได้ยินเสียงหัวใจและความอบอุ่นจากอ้อมกอด ทำให้ลูกรู้สึกคุ้นเคย โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก แม่ ๆ จึงต้องให้เวลาทารกแรกเกิดได้ปรับตัวในสภาพแวดล้อมใหม่
อุ้มลูก ดีอย่างไร
1.การอุ้มลูกจะช่วยให้ลูกปรับอุณหภูมิร่างกายได้ดีขึ้น
ในช่วงแรกเกิดร่างกายของเด็กจะมีร่างกายที่บอบบาง ระบบต่าง ๆ ของร่างกายยังไม่พัฒนาจนแข็งแรง โดยเฉพาะระบบการปรับอุณหภูมิของร่างกาย การสัมผัส การอุ้ม ทำให้ทารกจะได้สัมผัส รับรู้ถึงอุณหภูมิร่างกายของพ่อแม่ ได้รับความอบอุ่นจากร่างกาย
2.เด็กมีพัฒนาการที่ดี
เด็กที่ได้รับการสัมผัสมากพอ เซลล์สมองจะเติบโตและขยายตัว ประสาทสัมผัสจะว่องไว เรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กที่ไม่มีคนอุ้ม หรือได้รับการสัมผัส ซึ่งจากผลการวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด พบว่าเด็กที่มีพ่อแม่กับคนดูแลอุ้มบ่อย ๆ จะตอบสนองกับการสัมผัสได้ดีมากกว่าเด็กที่ไม่ค่อยมีคนดูแล ไม่มีคนคอยอุ้ม
3.เด็กจะรู้สึกมีความมั่นคงทางอารมณ์
เด็กจะรับรู้ได้ถึงความเอาใจใส่ ความรัก ทำให้การที่พ่อแม่อยู่ใกล้ชิดกับลูก อุ้มลูกบ่อย ๆ หรือแสดงความรักต่อลูก ไม่เพียงทำให้ลูกมีความสุข และอุ่นใจ แต่ยังเป็นการวางพื้นฐานการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นในอนาคตด้วย
4.ปอดและหัวใจแข็งแรง
การอุ้มลูกน้อยไว้ในอกนั้น ความใกล้ชิดจะทำให้เจ้าตัวน้อยได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่เป็นจังหวะอย่างชัดเจน จึงทำให้เขามีการหายใจที่เป็นจังหวะไปพร้อมกับหัวใจที่เต้นของคุณแม่ จึงทำให้ปอดและหัวใจของเขาพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย เพราะได้ยินเสียงที่คุ้นเคย
5.สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้ดี
อิทธิพลของความรักและการเอาใจใส่จากแม่ลิงที่มีต่อพฤติกรรมของลูกลิงเมื่อโตขึ้น
พบว่า ลูกลิงที่ได้รับการสัมผัส ดูแลจากแม่ลิง บ่อย ๆ ในช่วงสัปดาห์แรกของชีวิต จะมีความสามารถในการปรับตัวต่อสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้ดีกว่าลูกลิงที่ไม่ได้รับการสัมผัสจากแม่
วิธีแก้ไขปัญหาลูกติดมือ
1.สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและปลอดภัย กอด จูบ และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ สร้างกิจกรรมที่ทำร่วมกัน เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม หรือร้องเพลง
2.กำหนดเวลาในการอุ้ม กำหนดเวลาที่ชัดเจนในการอุ้มลูก ค่อย ๆ ลดเวลาการอุ้มลงทีละน้อย
3.ฝึกให้นอนหลับเอง สร้างกิจวัตรก่อนนอนที่สม่ำเสมอ ปล่อยให้ลูกได้ร้องไห้บ้างในช่วงแรก ๆ แต่คอยดูแลอยู่ใกล้ ๆ
4.หาตัวแทนความอบอุ่น โดยใช้ผ้าห่มหรือตุ๊กตาที่หอมกลิ่นคุณแม่มาให้ลูกกอด
5.ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หากปัญหาไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เด็กหรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
บทส่งท้าย
ปัญหาลูกติดมือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับเด็กวัยเล็ก การแก้ไขปัญหานี้ต้องใช้ความอดทนและความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก หากคุณพ่อคุณแม่ให้ความรักและการดูแลที่
เหมาะสม ลูกน้อยจะเติบโตเป็นเด็กที่มีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
เครดิตรูปภาพ raisingchildren.net.au immunifyme.com www.mothering.com