อย่าปล่อยให้ลูกต้องทรมานกับอาการหอบ หืด วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น และการรับมือที่ถูกต้อง

บทความนี้ขอแนะนำ “อย่าปล่อยให้ลูกต้องทรมานกับอาการหอบ หืด วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น และการรับมือที่ถูกต้อง” อาการหอบหืดในเด็ก โรคร้ายใกล้ตัวลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม บางครั้งลักษณะอาการเช่นนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย แต่หากปล่อยปละละเลยทิ้งเอาไว้นานเด็กๆ ก็มีโอกาสเป็น “หอบหืดเรื้อรัง” แทนที่จะรักษาหายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

Respiratory Issues | Pediatric Healthcare in Harlem NYC

เข้าใจอาการหอบ หืด 

เด็กที่เป็นหอบ หืด หลอดลมจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ เช่น เมื่อไหร่ที่เจอสารที่แพ้ อย่างฝุ่นละออง ขนสัตว์ หลอดลมจะเกิดการเกร็งตัวและหดเล็กลง แต่เยื่อบุข้างในจะบวมขึ้นและมีเมือกเหนียว ๆ ซึ่งทำให้หลอดลมที่หดเกร็งนั้นเล็กลงไปอีกสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเด็ก ๆ จะเริ่มหายใจยากขึ้น ทำให้ต้องหายใจถี่ ๆ ถ้าบางคนที่มีอาการค่อนข้างหนักก็จะทำให้ขาดออกซิเจน และอาการจะดีขึ้นเมื่ออาเจียนออกมา แต่ในบางรายอาจจะเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ต้นเหตุ

โรคหอบหืดเด็ก เกิดจากอะไร

1. กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภูมิแพ้ โอกาสที่เด็กจะเป็นโรคนี้ก็จะมีมากขึ้น

2. การติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น ไซนัสอักเสบหรือเป็นหวัด

3. การออกกำลังกายมาก ๆ หรือหักโหม อาจทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อย และเป็นตัวกระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบได้

4. สิ่งกระตุ้นต่าง ๆ โดยการหายใจเข้าไป หรือยาที่รับประทาน เช่น ฝุ่น, ตัวไรฝุ่น, เกสรดอกไม้, ควันบุหรี่, มลพิษในอากาศ, ขนและรังแคสัตว์ เป็นต้น อีกทั้งยังอาจเกิดจากการรับประทานอาหาร เช่น ไข่, นม และอาหารทะเล เป็นต้น

 5. การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น อากาศร้อนจัด, เย็นจัด หรือฝนตก เป็นต้น
Great ways to ease the pain when your child has a cough or cold - Your  Health

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นหอบหืด อาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต

ในเด็กอาจต้องอาศัยการสังเกตอาการ เพราะเด็กไม่สามารถบอกอาการเองได้ ทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นหลอดลมอักเสบหรือปอดบวมบ่อยๆ โดยลักษณะหรืออาการที่อาจเป็นโรคหืด     มีดังนี้

1.ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี  เด็กที่มีอาการ ไอ หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อยบ่อย ๆ  เกิน       3 ครั้งขึ้นไป

2.ได้ยินเสียงหายใจวี๊ด

3.ไอนาน ๆ หายใจเสียงวี๊ดนาน ๆ หลังจากติดเชื้อ

4.อาการไอ หรือหายใจวี๊ด มักเป็นตอนกลางคืน หรือหลังได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้   ออกกำลังกาย หัวเราะ ร้องไห้

5.อาการไอ หรือหายใจวี๊ด เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่มีไข้หรือการติดเชื้อในทางเดินหายใจ

6.มีประวัติปอดติดเชื้อ หรือหลอดลมอักเสบบ่อย ๆ

7.ภายหลังจากที่ได้รับการพ่นยาขยายหลอดลมเเล้วไอลดลง

8.มีประวัติ คุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องเป็นโรคหืด

9.เด็กมีอาการของภูมิแพ้ เช่น ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้หรือเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือเคยทดสอบภูมิแพ้แล้วผลเป็นบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ในอาการหรืออาหารบางชนิด

10.ในเด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี สามารถตรวจสมรรถภาพปอดแล้วพบผลผิดปกติ
Child Asthma

ในเด็กที่เป็นโรคหืด หากลูกมีอาการหอบ หรือหืดจับต้องทำอย่างไร

1.หากลูกน้อยมีอาการหอบในช่วงที่กำลังวิ่งเล่น หรือออกกำลังกาย ให้หยุดพักทันที โดยให้นั่งพักบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และไม่ร้อนจนเกินไป

2.พ่นยา หรือรับประทานยาแก้หอบตามที่แพทย์สั่ง ถ้ามียาขยายหลอดลมแบบพ่นชนิดออกฤทธิ์เร็ว ให้พ่น 2 พัฟ ซ้ำได้ 3 ครั้ง ห่างกัน 20 นาที หากอาการดีขึ้นให้พ่นยาทุก 4-6 ชั่วโมง ต่ออีกประมาณ 24-48 ชั่วโมง หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันที

3.ให้ลูกน้อยสูดลมหายใจเข้าทางจมูก และหายใจออกทางปาก โดยค่อย ๆ เป่าลมออกจากปอดทีละน้อยให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้

 4.หาน้ำอุ่น ๆ ให้พวกเขาดื่ม

วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นโรคหอบหืด

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการหอบหืดกำเริบ เช่น ฝุ่น, ตัวไรฝุ่น, เกสรดอกไม้, ควันบุหรี่, มลพิษในอากาศ, ขนและรังแคสัตว์ เป็นต้น

2.หลีกเลี่ยงให้ลูกอยู่ในที่ร้อนจัด หรือเย็นจนเกินไป เพราะอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้

3.ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวลูกน้อยได้

4.ควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยา หรือซื้อยามากินเองโดยเด็ดขาด

5.ผู้ปกครองควรพกยาพ่น หรือยาที่ลูกต้องกินติดตัวไว้เสมอ เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยิบออกมาใช้ได้ทันที

6.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว และออกกำลังกายแต่พอดี เช่น ว่ายน้ำ หรือโยคะ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคหืด  

– หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ

–  การคลอดปกติ

– การให้นมแม่อย่างน้อยจนถึงอายุ 4-6 เดือน

– หลีกเลี่ยงใกล้ชิดกับป่วยเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในช่วงอายุ 1 ปีแรก

– หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคือง โดยเฉพาะควันบุหรี่

บทส่งท้าย

หากคุณพ่อคุณแม่ทราบแน่ชัดแล้วว่าลูกมีอาการเป็นหอบ หืด ให้ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้อาการหอบ หืด กำเริบได้ ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ถ้าปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ได้ดี อาจจะหายขาด หรืออาการอาจจะบรรเทาลงได้ หากลูกมีอาการเข้าข่ายให้รีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย จะได้หาวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า

เครดิตรูปภาพ www.yourhealth.net.au www.sunwaymedical.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (193) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)