ล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือ ไอเท็มสุดยอดสำหรับคุณแม่ ช่วยบรรเทาหวัด ขจัดเชื้อโรค

บทความนี้ขอแนะนำ “ล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือ ไอเท็มสุดยอดสำหรับคุณแม่ ช่วยบรรเทาหวัด ขจัดเชื้อโรค” คุณแม่มือใหม่ที่กำลังศึกษาวิธีเลี้ยงลูกอยู่อาจจะกลุ้มใจถ้าหากทารกป่วย เพราะไม่ทราบว่าสาเหตุเกิดจากอะไร อย่างเวลาที่ลูกหายใจไม่สะดวก หายใจติดขัด ก็พานให้กังวลไปต่าง ๆ นานา ทั้งนี้ ทราบหรือไม่ว่าคุณแม่ควรล้างจมูกให้ลูกบ้าง เพราะอาจมีน้ำมูกตกค้าง ทำให้เขาหายใจไม่คล่อง ซึ่งน้ำเกลือหยอดจมูกก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำความสะอาดภายในจมูกทารกได้ 

Cleaning Baby's Nose: Your How-To Guide

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือคืออะไร

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการทำความสะอาดภายในโพรงจมูก เพื่อชำระ หรือล้างเอาคราบน้ำมูก น้ำมูก สิ่งสกปรก และสิ่งแปลกปลอมภายในโพรงจมูกออกมา โดยจะใช้น้ำเกลือหยอดเข้าไปในรูจมูกเพื่อทำความสะอาด เพราะน้ำเกลือมีคุณสมบัติช่วยลดความเหนียวของน้ำมูก ลดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และไม่เสี่ยงต่อการระคายเคืองที่รุนแรง

คุณสมบัติของน้ำเกลือ

น้ำเกลือ หรือน้ำยาโซเดียมคลอไรต์ (0.9% Nacl) เป็นน้ำยาที่มีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกับน้ำหล่อเลี้ยงในเซลล์ของร่างกายคนเรา น้ำเกลือจึงเหมาะที่จะใช้เพื่อการละลายตัวยา หรือ ใช้ทำความสะอาดส่วนที่อยู่ภายในร่างกาย เพราะไม่ทำให้ระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย

Baby Nose Cleaner Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images - iStock

ทำไมถึงต้องล้างจมูกเด็ก

การล้างจมูกเด็กส่งผลที่ดีต่อร่างกายของเด็กได้ ดังนี้

– การล้างจมูกเด็กด้วยน้ำเกลือช่วยให้จมูกเด็กโล่งขึ้น หายใจได้สะดวก เพราะได้ล้างหรือกำจัดเอาพวกเศษน้ำมูก หรือคราบน้ำมูกแข็ง และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ออกไปจนหมด

– ช่วยให้ซิเลีย (Cilia) หรือขนขนาดเล็กในโพรงจมูกทำหน้าที่ในการโบกพัดสารคัดหลั่งและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ออกจากรูจมูกได้ดีขึ้น

– ป้องกันการติดเชื้อไซนัส

– ลดความเสี่ยงของอาการน้ำมูกไหลลงคอ

– บรรเทาอาการคัดจมูก หรือแน่นจมูกจนหายใจไม่ออก

– เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่เยื่อบุโพรงจมูก

– บรรเทาอาการหวัดเรื้อรังให้ทุเลาลง

ล้างจมูกทารกได้ไหม

คุณพ่อคุณแม่สามารถล้างจมูกทารกได้ตั้งแต่ทารกวัยแรกเกิดเป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพบว่าลูกมีอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ออก ก็สามารถทำการล้างจมูกได้ การล้างจมูกทารกนั้นไม่อันตรายหากทำอย่างเหมาะสม ล้างอย่างถูกต้อง และไม่ละเลยความสะอาด ก็ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงใด ๆ จากการล้างจมูกได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนล้างจมูกควรให้ลูกได้กินอาหารเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอาเจียน หรือการสำลักในขณะที่ล้างจมูก

ควรล้างจมูกทารกบ่อยแค่ไหน

หากพบว่าลูกมีอาการคัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ออก คุณพ่อคุณแม่ควรล้างจมูกให้ลูกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือช่วงเช้า และช่วงเย็น

How to thoroughly clean baby's nose ? | Cocooncenter®

วิธีล้างจมูกทารก ล้างอย่างไรให้ถูกวิธี

1.ก่อนจะเริ่มทำการล้างจมูกให้เด็ก คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่จะทำการล้างจมูกควรล้างมือให้สะอาดเสียก่อน

2.เตรียมอุปกรณ์สำหรับการล้างจมูก ได้แก่

– น้ำเกลือ 0.9% หรือใช้น้ำเกลือขวดขนาด 100 ซีซีก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรใช้น้ำเกลือขวดใหญ่ เพราะในทุก ๆ การเปิด-ปิดขวดน้ำเกลืออาจทำให้เกิดการสะสมเชื้อโรคได้ ควรเลือกน้ำเกลือขนาด 100 ซีซี เพราะเพียงพอต่อการใช้งานในแต่ละครั้ง

– ภาชนะสะอาดหรือถ้วยสำหรับใส่น้ำเกลือ

– กระบอกฉีดยาแบบไม่ใส่เข็ม หรือจะใช้ขวดยาหยอดตาก็ได้เช่นกัน

– ลูกยางแดงสำหรับดูดน้ำมูก

– กระดาษชำระ หรือผ้าสะอาดสำหรับเช็ดทำความสะอาด

3. ก่อนจะเริ่มขั้นตอนต่อไป ให้นำน้ำเกลือมาทำการอุ่นก่อน โดยทำการต้มน้ำ แล้วเทน้ำใส่ภาชนะ จากนั้นนำขวดน้ำเกลือลงไปอุ่นในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที การอุ่นน้ำเกลือจะช่วยให้น้ำเกลือมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับโพรงจมูก และหลังจากอุ่นน้ำเกลือแล้ว ให้นำขวดน้ำเกลือมาแนบกับหลังมือ เพราะความอุ่นของน้ำเกลือนั้น ควรจะอุ่นในลักษณะที่หลังมือของเราสามารถทนได้ ไม่ควรร้อนจนเกินไป

4.เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้ว ให้เริ่มเทน้ำเกลือลงในกระบอกฉีดยา(ที่ไม่ใส่เข็ม)จนเต็ม หรือใครสะดวกใช้ขวดยาหยอดตาก็ได้เหมือนกัน

5.หากเด็กดิ้น หรือไม่ยอมให้ความร่วมมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดห่อตัวเด็กไว้

6.จัดท่าทางให้เด็กนอนอยู่ในท่าที่ศีรษะสูง ป้องกันไม่ให้เกิดการสำลัก แต่ถ้าเป็นเด็กโตที่สามารถสั่งน้ำมูกเองได้แล้ว ก็เพียงแค่ให้เด็กแหงนหน้าขึ้นเล็กน้อย

7.จับหน้าของเด็กให้นิ่ง อย่าให้ขยับหรือเคลื่อนไหว แล้วค่อย ๆ หยดน้ำเกลือลง 2-3 หยด หรือฉีดเข้าจมูกแค่เพียงครั้งละ 0.5 ซีซี

8.สำหรับเด็กที่ยังสั่งน้ำมูกเองไม่ได้ ให้ใช้ลูกยางแดงในการดูดเอาน้ำมูกออกมา แต่เด็กที่สามารถสั่งน้ำมูกได้ ก็ให้สั่งน้ำมูกออกมาพร้อมกันทั้งสองข้างได้เลย

9.ทำซ้ำจนกระทั่งไม่มีเสมหะตกค้างในจมูกแล้ว

10.ล้างและจัดเก็บทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยล้างด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาล้างจาน และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ส่วนน้ำเกลือที่เหลือให้ทิ้งให้หมด ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ เมื่อจะล้างรอบต่อไปก็ให้ใช้น้ำเกลือขนาดขวด 100 ซีซีขวดใหม่

ข้อควรระวังในการล้างจมูก

1.ควรใช้น้ำเกลือ 0.9% Sodium Chloride ชนิดปราศจากเชื้อเพื่อความปลอดภัย

2.ห้ามใช้ “น้ำเปล่า” ล้างโพรงจมูก

3.ไม่ควรฉีดน้ำเกลือเข้าจมูกแรง ๆ อาจทำให้โพรงจมูกเกิดการระคายเคือง หรืออักเสบได้

4.สั่งน้ำมูกเบา ๆ และเช็ดจมูกเบาๆ 

5.การใช้ยาพ่นจมูก ควรรอให้โพรงจมูกแห้งก่อน อย่างน้อย 3-5 นาที จึงค่อยพ่นยา

6.ผู้ที่รูจมูกอุดตันด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำการล้างจมูก

7.การล้างจมูกในเด็กสามารถทำได้อย่างปลอดภัยตามแนะนำของแพทย์ 

บทส่งท้าย

ด้วยปัจจุบันโรคหวัด โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ เป็นปัญหาสำหรับเด็กทำให้มีน้ำมูก เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการสั่งน้ำมูกอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จึงมีความจำเป็นต้องล้างทำความสะอาดจมูก และดูดเอาน้ำมูกออกร่วมด้วย เพื่อไม่ให้มีการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก

เครดิตรูปภาพ www.healthline.com www.istockphoto.com www.medicinenet.com www.cocooncenter.co.uk

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (155) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)