เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว ควรรับมือและแก้ปัญหานี้่อย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว ควรรับมือและแก้ปัญหานี้อย่างไรดี ลูกไม่กินข้าวหรือลูกกินยาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักใจ และน่ากังวลสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน เพราะกลัวลูกจะตัวเล็กกว่าเพื่อน ไม่แข็งแรงหรือเจริญเติบโตตามวัย เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารบางอย่างและอาจส่งผลต่อการพัฒนาทางร่างกายและสมอง เรามาดูกันว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกกินยากกัน

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินข้าว คืออะไร

 1.การเลือกกิน เด็กมีปัญหาในการเลือกรับประทานอาหารบางอย่าง เนื่องจากไม่ชอบเนื้อสัมผัส รสชาติ หรือกลิ่นของอาหารนั้น ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพฤติกรรมการเลือกรับประทานของลูก เพื่อให้ทราบว่าลูกไม่ทานอะไรบ้าง เด็กที่ไม่ได้ลองกินอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหรือรสชาติแปลกใหม่ตั้งแต่อายุยังน้อยมีแนวโน้มเกิดพฤติกรรมการเลือกกินได้สูง

2.อาการแพ้อาหาร เด็กเล็กเกิดการแพ้อาหารส่วนใหญ่แล้ว เด็กมักแพ้นม ถั่วเหลือง ไข่ ข้าวสาลี ถั่วต่าง ๆ และอาหารทะเล โดยจะเกิดอาการท้องร่วง อาเจียน มีผื่นขึ้น หรือปวดท้อง นอกจากนี้ เด็กเล็กยังเกิดภาวะที่ร่างกายรับอาหารบางอย่างไม่ได้ เด็กที่เกิดการแพ้อาหาร มักแพ้แลคโตส ข้าวโพด หรือกลูเตน โดยจะเกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องร่วง และปวดท้อง จะปรากฏอาการช้าหลังรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไป แต่อาจเกิดอาการป่วยนานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน

3. ไม่คุ้นชินกับอาหาร อาจเป็นเพราะในช่วงแรกที่มีการปรับเปลี่ยนจากการรับประทานนมมาเป็นอาหาร ทำให้เด็กรู้สึกไม่คุ้นเคย ไม่คุ้นชินกับการต้องเคี้ยวอาหาร และเพราะลักษณะของอาหารนั้นมีเนื้อสัมผัสที่หยาบกว่านมที่เคยรับประทานอาจทำให้เด็กไม่อยากรับประทานอาหารและกลัวการทานอาหาร

4.ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการกิน ปัญหาสุขภาพบางอย่างอาจส่งผลให้เด็กรับประทานลำบาก โดยอาจดูด เคี้ยว หรือกัดอาหารไม่ถนัด สำลักหรือรู้สึกพะอืดพะอมเมื่อรับประทานอาหาร รวมทั้งรู้สึกเจ็บปวดหรือเกิดอาการท้องผูก หากสังเกตว่าเด็กมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบแพทย์

5.ผู้ปกครองเป็นต้นแบบที่ทำให้เด็กชอบกินจุกจิก อีกหนึ่งสาเหตุที่เด็ก ๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารนั้นเป็นเพราะพวกเขาอิ่มจากมื้อขนมย่อย ๆ มาแล้วนั่นเอง ทำให้เมื่อถึงเวลาทานอาหารกลับไม่รู้สึกอยากทานอาหารอีกต่อไป ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดมาจากผู้ใหญ่เป็นผู้ชักนำ เช่น เอาน้ำหวานหรือขนมให้กินในระหว่างวัน ซึ่งอาหารเหล่านี้มักมีสารอาหารไม่เพียงพออาจทำให้เด็กมีปัญหาสุขภาพตามมาได้

เด็กไม่ยอมกินข้าว มีผลเสียอย่างไร

เด็กที่ไม่ยอมกินข้าว เบื่ออาหาร ปฏิเสธอาหารบ่อย หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเด็กได้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นอาจพัฒนาไปสู่พฤติกรรมการกินที่ไม่ปกติ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อโรคอะนอเร็กเซีย และบูลิเมีย หรือ “โรคล้วงคอ”

– น้ำหนักตัวไม่เป็นไปตามเกณฑ์การเจริญเติบโต หรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

– ได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยกว่าที่ควร

– อ่อนเพลียระหว่างวัน

วิธีแก้ปัญหาลูกไม่ยอมกินข้าว

1.ให้ลูกกินอาหารด้วยตัวเอง 

เมื่อลูกโตพอที่จะหยิบอาหารเข้าปากได้เอง ควรให้ลูกหยิบอาหารกินเอง ได้ช่วยเหลือตัวเอง ไม่ควรป้อนเพื่อบังคับให้ลูกกินอาหารได้เยอะ ๆ การที่ลูกรู้สึกว่าสามารถกินข้าวเองได้ สามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ลูกได้ 

2.ทำให้การกินเป็นเรื่องสนุก 

แทนที่จะเคี่ยวเข็ญให้ลูกกินข้าว ลองพูดคุยสนุกสนาน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีร่วมกัน ให้ลูกได้เพลิดเพลินกับการกิน แบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่กดดัน 

3.กำจัดสิ่งรบกวนอื่น ๆ ในเวลามื้ออาหาร 

ไม่ควรมีสิ่งเร้าอื่น ๆ ที่สามารถเบี่ยงเบนความสนใจของลูกไปจากจานอาหารตรงหน้า ควรปิดทีวี การ์ตูน ไม่เล่นมือถือ เก็บของเล่น ให้พ้นจากสายตา เพื่อให้ลูกจดจ่อกับการกินมากขึ้น

4.เสิร์ฟอาหารให้น้อยกว่าความต้องการเล็กน้อย

เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ลูกกินอาหารได้หมดจาน และรู้สึกว่าตัวเองทำสำเร็จ รวมทั้งกระตุ้นให้ลูกอยากขอเติมอาหารอีกด้วย

5.อย่าให้ลูกอิ่มก่อนมื้ออาหาร

คุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดการกินนม หรือของว่างระหว่างมื้อ เพื่อให้ลูกรู้สึกหิวเล็กน้อยก่อนมื้ออาหาร จะช่วยเพิ่มความอยากอาหารในมื้อหลักได้ และไม่แนะนำให้ลูกกินอาหารที่จะทำให้อิ่มไว แต่ไม่ได้ประโยชน์ และยังอาจนำไปสู่โรคอ้วน เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน และของทอดต่าง ๆ ก่อนมื้ออาหาร

6.ชมเข้าไว้ 

เมื่อลูกยอมกินอาหารหรือชิมอาหารใหม่ ๆ หรือมีพฤติกรรมในการกินที่ดี ให้คุณพ่อคุณแม่รีบชมลูกทันที ให้ลูกรู้ว่านี่คือพฤติกรรมที่เหมาะสม และพ่อแม่อยากเห็นลูกทำพฤติกรรมแบบนี้อีก ในขณะเดียวกัน เมื่อลูกได้รับคำชม ก็จะมีแนวโน้มทำพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น

7.ตกแต่งอาหาร 

เทคนิคอีกอย่างคือการตกแต่งหน้าตาอาหารให้น่ารับประทาน แค่ทำอาหารตามปกติ เสร็จแล้วก็ค่อยมาตกแต่งให้ดูน่าสนใจเช่น พยายามให้มีสีสัน 3-4 สี ซึ่งสีสันเหล่านี้ก็คือสีโดยธรรมชาติของผักผลไม้นั่นเอง เช่น แครอตจะให้สีส้ม มะเขือเทศจะให้สีแดง กะหล่ำปลีม่วงให้สีม่วง หรือจะถ้านึกสนุกอยากให้พิเศษมากขึ้น ก็อาจจะทำเป็นเรื่องราว เช่น ตัวการ์ตูนที่เขาชอบ หรือเป็นฉากในนิทานที่เขาเดาได้ รับรองว่าคุณลูกของเราจะทานเก่งขึ้นแน่นอน

8.หาชุดจานชามของเขาเอง

เราเพิ่มความสนุกสนานให้กับมื้ออาหารของลูกได้ด้วย จาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ ซึ่งมีลวดลายการ์ตูนที่เขาชอบ ก็น่าจะทำให้เขาตื่นเต้นกับการกินข้าวได้มากขึ้น ถ้าเป็นไปได้พาเขาไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง จะทำให้หนูน้อยอินกับอุปกรณ์การกินมากขึ้น และต้องระวังเรื่องสีที่เคลือบบนภาชนะทั้งหมดด้วยนะ ว่าไม่ละลายเมื่อถูกอาหารร้อนและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

บทส่งท้าย

หัวใจหลักของการฝึกเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมลูกกินยากหรือลูกไม่ยอมกินข้าวให้ดีขึ้น ก็คือความใจเย็น และความพยายามค่อย ๆ ฝึกเด็กอย่างสม่ำเสมอ และมีฝึกวินัยตั้งแต่ยังเล็ก ที่สำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรตามใจหรือใช้อาหารเป็นสิ่งต่อรองให้รางวัลหรือทำโทษ และไม่ควรแสดงออกให้เด็ก ๆ รู้ว่ากำลังกังวล หรือมีอาการหงุดหงิดกับพฤติกรรมการกินของเขา

เครดิตรูปภาพ

https://jagwire.augusta.edu https://www.eatthis.com https://www.babyandme.nestle.com.ve

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)