ลูกแค่ซนตามประสา หรือเข้าข่ายสมาธิสั้น  จะสังเกตอาการอย่างไร และจะมีวิธีไหนช่วยลูกได้บ้าง

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกแค่ซนตามประสา หรือเข้าข่ายสมาธิสั้น  จะสังเกตอาการอย่างไร และจะมีวิธีไหนช่วยลูกได้บ้าง” เด็ก ๆ กับความซุกซนเป็นของคู่กันจนคุณพ่อคุณแม่บางท่านมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าเด็กซนคือเด็กฉลาด แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ เพราะบางครั้งความซุกซนจนทำกิจกรรมใดๆ  ได้ไม่นานของลูก อาจจะแปลความหมายได้ว่าเขาเสี่ยงต่อการเป็น “โรคสมาธิสั้น” โรคยอดฮิตตอนนี้ของเด็กทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อการเรียนรู้ของลูกน้อยได้

10 Effective Tips to Deal With a Naughty Child

ทำความรู้จักโรคสมาธิสั้นในเด็ก

โรคสมาธิสั้น นั้นเป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางพฤติกรรมและอารมณ์ เป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อยกับเด็ก ๆ ทุกชาติพันธุ์ทั่วโลก โรคนี้เมื่อเป็นแล้วต้องรักษาดูแลกันอย่างยาวนานต่อเนื่อง โดยทั่วไปเด็ก ๆ จะมีอาการดีขึ้นหรือหายได้เมื่อเขาโตขึ้น แต่ก็แค่ประมาณ 30% เท่านั้น  อีก 70% ที่เหลือจะยังคงมีอาการจนถึงวัยผู้ใหญ่เลย และสาเหตุของโรคนี้ก็เกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

1.ความผิดปกติบางอย่างของร่างกายเด็ก อาทิ สารเคมีบางชนิดในสมองซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสมาธิมีความผิดปกติ เช่น สารโดปามีน และสารนอร์อิพิเนฟริน เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิและการตื่นตัว บริเวณสมองส่วนหน้า ก็เป็นไปได้เช่นกัน

2.เกิดจากกรรมพันธุ์ คือหากคุณพ่อคุณแม่เป็นโรคสมาธิสั้น โอกาสที่จะถ่ายทอดโรคนี้สู่ตัวลูกน้อยก็มีสูง

3.เด็กที่คลอดก่อนกำหนด และมีน้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือได้รับอุบัติเหตุรุนแรงทางสมอง ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคสมาธิสั้นได้เช่นกัน

4.การอาศัยหรือใช้ชีวิตประจำวันในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใกล้แหล่งสารพิษ โดยเฉพาะพิษจากสารตะกั่ว หรือได้รับพิษบุหรี่จากคุณพ่อหรือคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ ตลอดจนการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมก็ทำให้ลูกน้อยมีภาวะเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้นได้เช่นกัน
Kids of controlling 'helicopter parents' are more naughty at school

เช็กอาการ ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น หรือแค่ซน

สำหรับเด็กๆ ที่มีอาการของโรคซนสมาธิสั้น จะมีความผิดปกติของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับอายุและระดับพัฒนาการ โดยมักมีอาการแสดงก่อนช่วงอายุ 7 ปี และมีอาการแสดงอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยแบ่งอาการออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

1.สมาธิสั้น (Inattention)

– ยากลำบากในการตั้งสมาธิ วอกแวกง่าย

– ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย

– ทำตามคำสั่ง/กิจกรรมไม่สำเร็จ

– หลีกเลี่ยงที่จะทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความพยายาม

– ละเลยในรายละเอียด หรือทำผิดด้วยความเลินเล่อ

– มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงานหรือกิจกรรม

– ทำของหายบ่อยๆ

– ลืมกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ

2.ซนไม่อยู่นิ่ง (Hyperactivity)

– ยุกยิกขยับตัวไปมา อยู่นิ่งไม่ได้

– ซนมากกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

– นั่งไม่ติดที่ ต้องลุกเดินไปมา

– มักวิ่งวุ่นหรือปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม

– ไม่สามารถเล่นเงียบๆ ได้

– พูดมากเกินไป

3.หุนหันพลันแล่น (Impulsiveness)

– ไม่สามารถรอคอยได้

– ชอบพูดโพล่ง ขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่นในวงสนทนา

Benefits of Children's Meditation - FitRec

วิธีการรักษาโรคสมาธิสั้น

1.การใช้ยาเพิ่มสมาธิ

เป็นมาตรฐานในการรักษา สำหรับการใช้ยาที่มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้นและควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ส่งผลให้เด็กๆ มีสมาธิในการเรียนและการเรียนที่ดีขึ้นนั้นเอง

2.สร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

การสร้างสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศ ควรสร้างทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนโดยสิ่งแวดล้อมต่างๆ ต้องไม่กระตุ้นเด็กๆ จนมากเกินไป ควรจัดเก็บของต่างๆ ให้เข้าที่เพื่อไม่ให้รบกวนสายตาของเด็ก มีมุมสงบให้เด็กๆ เวลาทำการบ้าน และไม่ควรมีสิ่งมารบกวนในห้องเช่นทีวี หรือมือถือให้เด็กได้วอกแวกไปสนใจสิ่งอื่น

7 Tips to Teach Children Mindfulness & Meditation | mindbodygreen

3.การฝึกฝนการควบคุมตัวเอง

โดยคุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดกิจวัตรประจำวันของลูก ให้เป็นเวลาโดยให้เขาทำอย่างสม่ำเสมอ และควรฝึกให้เขามีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำ ให้นานประมาณ 20-30 นาที โดยไม่ลุกเดินไปไหน โดยที่มีคุณพ่อคุณแม่ควบคุมอย่างใกล้ชิด คอยให้กำลังใจและช่วยเหลือเด็กๆ ให้ทำสำเร็จ พอเขาทำสำเร็จก็ควรมีรางวัลให้เขา เพื่อเป็นกำลังใจให้เขามีความมุ่งมั่น และพยายามให้มากขึ้น

4.พยายามมองหาจุดเด่นและความสามารถของเด็กในด้านอื่นๆ

ลองให้เขาได้ลองสิ่งที่ ๆ ที่หลากหลาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ หรือด้านการแสดงออก ให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสได้แสดงออกในสิ่งที่ดี ๆ เช่น มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยคุณครูแจกสมุด ลบกระดาน บ้าง หรืองานที่ได้รับมอบหมายพิเศษอื่น ๆ ก็ได้ เพื่อถ้าเด็ก ๆ ชอบเขาก็ได้มีสมาธิกับสิ่ง ๆ นั้น เป็นการฝึกสมาธิให้เด็ก ๆ อีกทางด้วย

5.ส่งเสริมการออกกำลังกายและการนอนหลับ 

การออกกำลังกายช่วยเพิ่มสมาธิและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมอง ที่สำคัญยังทำให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการของโรคสมาธิสั้นได้

6.ปรึกษาแพทย์

หากสังเกตว่าลูกมีอาการเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนาน ควรรีบหาทางรักษาหรือพาไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาที่ถูกวิธี 

บทส่งท้าย

หากลูกมีอาการเข้าข่ายที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น อย่าเพิ่งหงุดหงิดหรือโมโหกับอาการโรคสมาธิสั้นของลูก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความอดทนและทำความเข้าใจกับพวกเขาให้มาก ๆ แล้วใช้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ ช่วยประคองเขาไปแล้วอาการเขาก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเองตามลำดับ

เครดิตรูปภาพ www.heart.co.uk parenting.firstcry.com www.morainevalley.edu www.mindbodygreen.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (158) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)