บทความนี้ขอแนะนำในหัวข้อเรื่อง “ลูกอารมณ์ร้าย ก้าวร้าว คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี” การที่ลูกโมโหร้าย อารมณ์ร้าย อาจจะเป็นตามช่วงอายุวัยของเขา แต่ถ้าลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น โมโหอาละวาด ทำลายข้าวของ เมื่อไม่ได้ดั่งใจที่คิด นั่นอาจจะเกิดจากปัญหาในหลายด้าน ฉะนั้นหากลูกมีพฤติกรรมที่โมโหร้ายรุนแรง ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง ขว้างปาสิ่งของ จนคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถทำให้เขาอารมณ์เย็นลงได้ง่าย ก็ควรที่จะต้องพาลูกเข้าไปปรึกษากับแพทย์ เพื่อหาทางแก้ปัญหากันต่อไป
สาเหตุที่ทำให้ลูกโมโหร้าย ก้าวร้าว
1.อาจจะเกิดจากที่ลูกของเราอาจจะมีปัญหาทางด้านสติปัญญา พัฒนาการล่าช้า จึงส่งผลในด้านความคิดและอารมณ์
2.อาจจะเกิดจากโรคประจำตัวของเด็ก เช่น สมาธิสั้น ไบโพลาร์ ออทิสติก ซึมเศร้า ทำให้สมองทำงานไม่สมบูรณ์จึงส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนได้
3.อาจจะเกิดจากเด็กนั้นมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มวัยยังไม่สมบูรณ์ดี แต่ด้านอารมณ์พัฒนาไปได้เร็วกว่า จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก การยับยั้งชั่งใจของตัวเองได้
4.อาจจะเกิดจากปัญหาครอบครัว ขาดความรัก ความอบอุ่น การถูกกดดัน การถูกเปรียบเทียบภายในครอบครัว
5.ปัญหาจากสังคมภายนอก อาจเพราะต้องอยู่รวมกับคนหมู่มาก จึงหนีไม่พ้นการแข่งขัน กดดัน เปรียบเทียบ ที่อาจจะทำให้เขานั้นมีความเครียดสะสม
6.เลียนแบบพฤติกรรมจากเพื่อน หรือคนรอบข้าง เขานั้นอาจจะเคยเห็นพฤติกรรมที่แสดงออกในเชิงก้าวร้าว ทำลายข้าวของมาจากเพื่อน แล้วเกิดการเลียนแบบ ด้วยความคึกคะนองตามวัย
7.อาจจะถูกตามใจมากเกินไป เพราะในบางครั้งเขาอยากได้อะไร ก็ไม่เคยถูกขัดใจ แต่ถ้าลองถูกขัดใจ ถูกปฏิเสธ เขาจะรู้สึกเหมือนตัวเองไม่มีใครรัก ใครใส่ใจเขา เขาก็จะพาลโมโห อาละวาดได้
รับมือและแก้ปัญหาอย่างไรดีเมื่อลูกมีพฤติกรรมโมโหร้าย ก้าวร้าว
1.พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างให้ลูก
หากคุณพ่อคุณแม่โกรธ โมโห และเริ่มรู้ตัวเองไม่ควรแสดงกิริยาหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อหน้าลูก เช่น การโวยวาย พูดเสียงดัง ทำลายข้าวของ ขว้างปาสิ่งของ ไม่ควรทำ ควรสงบสติอารมณ์ตัวเอง ทำตัวให้นิ่งที่สุด เมื่อเราทำเป็นแบบอย่างให้เขาเห็น เขาก็จะค่อย ๆ ซึมซับ และค่อยทำตามเราเอง
2.ลองให้เขาตั้งสติ หายใจเข้าลึก ๆ
หากลูกเริ่มมีอาการโวยวาย อาละวาด ขว้างปาสิ่งของเมื่อไม่ได้ดั่งใจ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะมีสติและอารมณ์เย็น ใช้ความนิ่งเข้าสยบ บอกให้ลูกนั้นค่อย ๆ ตั้งสติ ให้เขาลองหายใจเข้าลึก ๆ เพราะตอนโมโหนั้นหัวใจจะเต้นเร็ว ถ้าลองใช้ความสงบเข้าสยบทุกอย่างก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนไปทางที่ดีขึ้น
3.ถามถึงปัญหาที่ทำให้เขาโมโหหรือโกรธ
ในบางครั้งที่เขานั้นมีปัญหา และไม่สามารถที่แก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ เขาก็จะโกรธตัวเอง เพราะเหมือนว่ามันไม่ได้ง่ายอย่างที่ใจหวังไว้ เขาจึงโมโห อาละวาด ก้าวร้าว ให้คุณพ่อคุณแม่ลองสอบถามถึงปัญหา แล้วค่อย ๆ ช่วยเขาหาทางออก เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็นในมุมของเขา รับฟังเขาเสมอ
4.ถามเขาว่า”ต้องการอะไร” หรือ “รู้สึกอย่างไร”
เพราะบางครั้งเด็กก็ถูกเลี้ยงมาอย่างตามใจ เพราะแต่ละคนในครอบครัวนั้นจะมีวิธีเลี้ยงไม่เหมือนกัน ในบางครั้งที่เขาถูกขัดใจ ก็จะเหมือนว่าตัวเองไร้ค่า ไม่มีใครรัก ทำให้เขาโมโหและนำไปสู่อาการก้าวร้าวได้ง่าย ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรต้องรับฟังเขา สอบถามว่าเขาอยากได้อะไร หรือต้องการอะไร หรือรู้สึกอะไรที่ทำให้เขาไม่พอใจ ลองรับฟังเขาและช่วยเขาแก้ปัญหาด้วยเหตุผล ไม่ควรใช้อารมณ์กับเขา
5.มีทางเลือกให้เขา
การที่เขาร้องไห้โวยวายก้าวร้าว อยากได้ของสิ่งนั้นในเวลานะขณะนั้น คงไม่มีใครจะหามาให้เขาได้ในทันที คุณพ่อคุณแม่ลองเสนอทางเลือกให้เขาดูว่านะตอนนี้ มีสิ่งของแบบนี้ ช่วยทดแทนกันได้บ้างหรือไม่ ใช้เหตุผลใช้หลักจิตวิทยาเล็กน้อย หว่านล้อมให้เขาอารมณ์เย็นมากขึ้น
6.ให้เขารับรู้ถึงผลที่จะตามมาด้วยตัวเอง
ในยามที่เด็กอาละวาด โมโห ข้างปาสิ่งของ หรือก้าวร้าว เอาแต่ใจ เขาเพื่อเรียกร้องความสนใจให้ตัวเองเท่านั้น ฉะนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ลองเฉยเมย ใช้ความนิ่งเข้าสยบ และให้เขาได้รับรู้ถึงผลที่จะตามมาด้วยเอง เพราะถ้าหากเราพูดหว่านล้อมก็แล้ว อธิบายก็แล้วยังไม่ฟัง ต้องให้เขาเห็นผลลัพธ์ที่เขาทำด้วยตัวเอง และเขาก็จะเริ่มสงบไปเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้มีสติอยู่ด้วยเช่นกัน
7.ให้ความรัก ความอบอุ่น และเวลา
เด็กที่ก้าวร้าย โมโหร้าย อาจจะเกิดมาจากการขาดความรัก ความอบอุ่น หรือขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว ในช่วงเวลาที่เขายังเด็กก็จะติดพ่อแม่มาก เราควรใช้โอกาสให้คุ้มค่า ให้ความรัก ความอบอุ่น สั่งสอนให้เขาทำในสิ่งที่ดี ให้เขาใช้เหตุผลมากขึ้น ให้เวลากับเขามากขึ้น และมันก็จะค่อย ๆ เปลี่ยน ความก้าวร้าวร้าย โมโหร้าย ให้เขาค่อย ๆ สดใส ร่าเริง อารมณ์ดีมากขึ้น
บทส่งท้าย
อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงของเด็กอาจจะขึ้นตามวัยของเขา หรืออาจจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ต้องพบเจอ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความรัก ให้เวลา สั่งสอนเขาด้วยเหตุผล และค่อยเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับเขา ใช้ความสงบเข้าสอน เพราะถ้าหากลูกร้อน และคุณพ่อคุณแม่ก็ร้อน ก็จะไม่มีทางที่เหตุการณ์นั้นจะสงบลงได้ เหตุผล สติ จะช่วยให้เด็ก ๆ เติบโตมามีคุณภาพตามวัยของเขาได้
เครดิตรูปภาพ www.kiwifamilies.co.nz health.clevelandclinic.org www.ourfamilywizard.com