ลูกนอนฝันร้าย ละเมอ ตื่นกลางดึก อาการเหล่านี้ปกติหรือไม่

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ลูกนอนฝันร้าย ละเมอ ตื่นกลางดึก อาการเหล่านี้ปกติหรือไม่ ฝันร้ายเป็นภาวะที่พบได้ทุกวัย แต่มักพบในเด็กอายุระหว่าง 3–6 ปี ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เด็กตกใจกลัวและตื่นกลางดึก ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกกลัวจนไม่สามารถนอนหลับต่อได้ ทั้งนี้ เด็กส่วนมากจะฝันร้ายน้อยลงเมื่อโตขึ้น แต่หากฝันร้ายเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลอันตรายต่อลูกหรือไม่ 

ลูกฝันร้าย ควรทำอย่างไร

จะมีอาการตั้งแต่ นอนกระสับกระส่าย จนไปถึงส่งเสียงกรีดร้องเสียงดัง การดูแลเด็กในช่วงเวลานั้น ก็โดยการปลุกให้ตื่น แล้วกอดปลอบโยนให้เด็กสงบจากความตกใจกลัว บอกให้รู้ว่า แม่อยู่เป็นเพื่อนแล้ว ไม่ต้องกลัว ให้เขาสงบแล้วหลับต่อเอง ทั้งนี้อาจไม่จำเป็นต้องเปิดไฟ หรือพาไปล้างหน้า เพราะอาจทำให้เด็กตื่นจนกลับไปนอนหลับยาก เด็กกลุ่มนี้จะจำความฝันได้ ลองให้เขาเล่าว่าฝันถึงอะไร จะได้รู้ว่าเขากังวลใจเรื่องไหน เพื่อที่จะแก้ไขได้ถูกต้อง

เด็กนอนละเมอ ควรทำอย่างไร

เป็นอีกภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กวัยอนุบาล เด็กจะมีอาการลืมตาตื่นเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น ขยับแขน ขา ไปมา อาจร้องโวยวายเสียงดัง หรือ ร้องไห้ บางราย เดินละเมอได้ กรณีนี้ จะปลุกตื่นยาก ถ้าตื่นมาก็จะจำไม่ได้ว่าฝันอะไร เมื่อเด็กมีภาวะนี้คุณแม่สามารถดูแลโดยการให้เขาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย ดูแลไม่ให้ตกเตียง กลุ่มนี้จะไม่ตอบสนองต่อการปลอบโยน จะหายได้เองเมื่อโตขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ลูกฝันร้าย

เรื่องของการฝันร้ายไม่สามารถเจาะจงสาเหตุได้แน่ชัด ว่าจริง ๆ แล้วเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตามอาการฝันร้ายที่เกิดขึ้นกับเด็ก ๆ มักเกิดขึ้นหลังจากการพบเจอเหตุการณ์เลวร้าย หรือความรู้สึกของลูกเอง ตัวอย่างเช่น

– เด็กเล็กอาจมีอาการฝันร้ายที่มากขึ้น หากต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่

– เกิดจากความเครียด หรือความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากในชีวิตจริง

– เด็กอาจจินตนาการไปเอง ไม่ได้เครียด หรือกลัวอะไร

– เด็กในช่วงวัยเรียนมักฝันร้าย จากเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจ เช่น การย้ายโรงเรียน หรือคนในครอบครัวทะเลาะกัน เป็นต้น

– ฝันร้ายที่มาจากความรู้สึกหลังจากดูสื่อต่าง ๆ ที่น่ากลัวก่อนเข้านอน เช่น ภาพยนตร์สยองขวัญ หรือฟังเรื่องสยอง เป็นต้น

– ฝันร้ายที่เกิดจากอาการเจ็บป่วย และอาการไข้

ทำอย่างไรเมื่อลูกฝันร้าย ผู้ปกครองควรรับมือ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

– สร้างความมั่นใจให้ลูกของคุณว่าคุณอยู่ที่นั่น ความสงบจะช่วยให้ลูกของคุณรู้สึกปลอดภัยและได้รับการปกป้องหลังจากตื่นนอนด้วยความรู้สึกกลัว การรู้ว่าคุณจะอยู่ที่นั่นจะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกปลอดภัยของบุตรหลาน

– อธิบายให้ลูกฟังว่าเกิดอะไรขึ้น ให้ลูกของคุณรู้ว่ามันเป็นแค่ฝันร้ายและตอนนี้มันจบลงแล้ว คุณอาจพูดว่า “ลูกฝันร้าย แต่ตอนนี้ลูกตื่นแล้วและทุกอย่างเรียบร้อยดี” สร้างความมั่นใจให้ลูกว่าสิ่งน่ากลัวในฝันร้ายไม่ได้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริง

– ให้ความสบายใจ โดยแสดงว่าคุณเข้าใจว่าลูกของคุณรู้สึกกลัวและปลอบว่าไม่เป็นไร อธิบายให้ลูกฟังว่าทุกคนก็นอนฝันได้ บางครั้งความฝันอาจน่ากลัว สะเทือนใจ และอาจดูเหมือนจริงมาก เป็นเรื่องธรรมดาที่จะลูกจะรู้สึกกลัว

– ใช้แสงไฟช่วย ไฟกลางคืนหรือไฟหัวเตียงจะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกปลอดภัยในห้องที่มืดมิด เมื่อพวกเขาพร้อมที่จะกลับไปนอนอีกครั้ง

– ช่วยให้ลูกของคุณกลับไปนอน การเสนอสิ่งที่ปลอบโยนอาจช่วยเปลี่ยนอารมณ์ได้ ลองใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อช่วยให้การเปลี่ยนกลับไปนอนหลับ เช่น ตุ๊กตาสัตว์ตัวโปรดให้ลูกถือ ตาข่ายดักฝัน หรือเพลงเบาๆ หรือพูดคุยถึงความฝันอันน่ารื่นรมย์ที่ลูกของคุณอยากจะมี และอาจส่งลูกให้กลับเข้านอนด้วยการหอมและจูบลูก

วิธีป้องกันลูกน้อยฝันร้าย

ฝันร้ายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถป้องกันได้ แต่เทคนิคเหล่านี้อาจช่วยให้ลูกนอนหลับสนิทได้ตลอดทั้งคืนโดยไม่ถูกรบกวนจากฝันร้าย

1.หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์หรือการอ่านหนังสือที่น่ากลัวก่อนนอนอย่างน้อย 30 นาที เพราะเรื่องราวเหล่านั้นจะตกค้างในความรู้สึกของลูกและกระตุ้นให้ฝันร้ายได้

2.สอนให้ลูกเข้าใจว่าความฝันเกิดขึ้นได้กับทุกคน และฝันร้ายมักเกิดในบางครั้งเท่านั้น 

3.พูดคุยเรื่องความฝันและสอนวิธีรับมือกับฝันร้ายในตอนกลางวัน โดยชวนลูกทำกิจกรรมสนุก ๆ อย่างการวาดรูปเพื่อลดความกลัวของลูก และสังเกตว่าลูกฝันร้ายเกี่ยวกับเรื่องใดซ้ำ ๆ ซึ่งอาจสาเหตุของการฝันร้าย

4.พูดชมเชยหรือให้รางวัลเมื่อลูกไม่ตื่นกลัวจากฝันร้ายและสามารถนอนหลับต่อได้เอง

5.ให้ลูกนอนให้เพียงพอ ซึ่งอาจช่วยให้ฝันร้ายน้อยลง โดยเด็กวัยเรียนควรนอนหลับให้ได้ 9–12 ชั่วโมงต่อวัน และเด็กเล็กที่อายุระหว่าง 1–5 ปี ควรนอนให้ได้วันละประมาณ 10–14 ชั่วโมง 

บทส่งท้าย

แม้ว่าฝันร้ายในเด็กมักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวและไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่น่ากังวล แต่การฝันร้ายบ่อยมักรบกวนการนอนหลับและกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หากลูกฝันร้ายมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาต่อเนื่องกันเกิน 6 เดือน มีอาการวิตกกังวลและกลัวอย่างรุนแรงจนไม่สามารถนอนหลับได้ หรือฝันร้ายหลังผ่านเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจมาก่อน ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา

เครดิตรูปภาพ

https://www.scarymommy.com

https://www.dreams.co.uk

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (171) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)