บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกชอบโยนของ ปัญหาที่ต้องรีบแก้ให้ทันท้วงที ชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่แทบทุกบ้านต้องเคยประสบพบเจอปรากฏการณ์ “ลูกชอบขว้างปาสิ่งของ” ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยประมาณขวบปีแรก ไม่ว่าจะหยิบจับอะไรได้ก็ตามมักขว้างหรือปาทุกครั้ง จนบางทีคุณพ่อคุณแม่ก็เกิดความกังวลว่านี่เป็นพฤติกรรมตามพัฒนาการของลูก หรือเป็นสิ่งที่จะสร้างนิสัยที่เป็นปัญหาให้ลูกน้อยกันแน่ ไปหาคำตอบกัน
เบบี้ชอบขว้างของเป็น “นิสัย” หรือ “พัฒนาการตามวัย” กันนะ
สำหรับลูกวัยเบบี้ช่วง 1 ขวบปีแรกที่มักชอบหยิบจับสิ่งของต่างๆ รอบตัวแล้วขว้างปาออกไป ไม่อยากให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจเลยกับพฤติกรรมนี้ เพราะนี่ถือเป็น “พัฒนาการตามวัย” ของเขา เนื่องจากช่วงขวบปีแรกนี้กล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกน้อยจะมีการพัฒนามากขึ้น ดังนั้น การหยิบจับและขว้างปาของจึงเป็นเสมือนการฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือเพื่อทดสอบว่าเมื่อทำแบบนั้นแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ต้องการรู้ว่าตัวเองจะใช้มือได้ดีจริง ๆ ไหม ลูกน้อยจึงมักใช้เวลาและสมาธิกับการเคาะ ขว้างปาสิ่งของ เพื่อทำให้เกิดเสียงดัง ยิ่งถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความเบิกบานและสนุกสนานให้เขาแล้วละก็ลูกจะยิ่งทำซ้ำ
สาเหตุที่ลูกน้อยชอบโยนของนั้นเกิดจาก
1.เป็นการสำรวจโลกใบเล็กของลูก
โดยลูกน้อยวัยหัดเดินกำลังเรียนรู้และสนุกกับการทดลองและสังเกตผลลัพธ์ จึงทดสอบว่าเมื่อทำแบบนั้นแล้วจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ขยำถุงแล้วมีเสียงดังก๊อบแก๊บ เคาะหรือขว้างของแล้วเกิดเสียงดัง โยนบอลแล้วกระเด้งไปมา ซึ่งหากทำแล้วรู้สึกสนุก ลูกมักจะทำซ้ำแล้วซ้ำอีก
2.เพื่อดึงดูดความสนใจ
การที่ลูกชอบโยนของอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ลูกใช้เพื่อดึงดูดความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่ โดยเมื่อเริ่มโตขึ้นลูกจะมีอารมณ์ที่ซับซ้อนขึ้น อาจมีการโยนหรือขว้างปาสิ่งของเพื่อเรียกร้องความสนใจ
3.เป็นการแสดงออกทางอารมณ์
บางครั้งพฤติกรรมโยนของอาจเป็นการแสดงออกถึงความเบื่อหน่าย หรือความต้องการบางอย่างที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ลูกอาจทำเมื่อรู้สึกโกรธ หงุดหงิด ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ตอบสนองต่อการขว้างปา โยนสิ่งของของลูกอย่างไม่เหมาะสม พฤติกรรม ลูกชอบโยนของ จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ
4.ทดสอบอารมณ์ของพ่อแม่
นอกจากการโยนและขว้างปาสิ่งของของลูก เป็นเพราะอยากทดสอบการมีอยู่จริงของสิ่งของนั้นๆ ว่าโยนไปแล้ว ของตกแล้ว จะเด้งกลับมาไหม ยังมีความเป็นไปได้ว่า เป็นการทดสอบปฏิกิริยาและอารมณ์ของคุณพ่อคุณแม่ว่าจะเป็นอย่างไร จะยิ้ม หัวเราะ หรือสนุกไปกับตัวลูกน้อยด้วยหรือเปล่า
ลูกชอบโยนของ รับมืออย่างไรดี
1.ป้องกันอันตรายก่อน อันดับแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำคืออย่าวางสิ่งของที่มีเหลี่ยมมุม หรือแตกหักได้ง่ายไว้ใกล้มือจนลูกหยิบฉวยได้ง่าย ๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ แล้วต้องเสริมด้วยการอธิบายเพิ่มเติมว่าของอะไรบ้างที่เขาหยิบจับขว้างปาได้ เช่น “ลูกบอลยางเด้งดึ๋งหนูปาได้นะ ตุ๊กตานุ่มนิ่มหนูปาได้นะลูก แต่บางทีน้องตุ๊กตาอาจจะเจ็บได้นะ แต่หนูจะปาอาหาร ขนม หรือช้อนไม่ได้นะ” เป็นต้น
2.เหตุผลต้องชัดเจน กรณีที่คุณพ่อคุณแม่ห้ามลูกขว้างปาสิ่งของจะต้องพูดคุยและให้เหตุผลกับลูกด้วยนะว่าเพราะอะไร เช่น การขว้างปาสิ่งของจะทำให้บ้านเลอะเทอะ พอบ้านเลอะคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความสะอาด และบางครั้งของที่ปาออกไปอาจจะเสียหายได้ เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีการกำหนดกติกาไว้ด้วยว่าหากทำบ้านเลอะเทอะเด็ก ๆ จะต้องช่วยทำความสะอาด หรือหากทำสิ่งของเสียหายจะต้องงดเล่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง และต้องช่วยคุณพ่อคุณแม่ซ่อมของเล่น เป็นต้น หากทำเช่นนี้เป็นประจำก็จะช่วยให้ลูกเข้าใจถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาจากการที่เขาทำผิดได้
3.คุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติ หากเหตุผลการขว้างปาสิ่งของของลูกเป็นไปเพราะอารมณ์โกรธหรือถูกขัดใจ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมีคือ “สติ” และใจเย็น ควรใช้คำพูดและท่าทีที่สงบกับลูก พูดด้วยเหตุผลว่าเขาจะขว้างปาสิ่งของด้วยอารมณ์โกรธไม่ได้
4.พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่าง โดยธรรมชาติแล้วลูกน้อยนั้นมักจะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่
คุณพ่อคุณแม่จึงควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงออกทางอารมณ์และการแก้ปัญหา ไม่ขว้างปาสิ่งของเมื่อมีอารมณ์โกรธ หรือหงุดหงิด และหากลูกขว้างปาสิ่งของขณะที่กำลังโกรธ หรือถูกขัดใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น พูดกับลูกด้วยถ้อยคำและท่าทีที่สงบว่าลูกจะทำแบบนี้ไม่ได้
5.เอ่ยปากห้าม แววตาและท่าทางต้องห้ามด้วย เมื่อไรก็ตามที่เอ่ยปากห้ามลูก สิ่งที่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นคือแววตา ท่าทาง และน้ำเสียงของคุณพ่อคุณแม่จะต้องห้ามจริง ๆ และจริงจังด้วยนะ เพราะหากปากห้ามแต่แววตาคุณพ่อคุณแม่ยังมีความสนุก มีรอยยิ้ม ลูกก็จะสับสนกับคำห้ามนั้นได้ และส่วนมากเด็กมักเลือกตอบสนองต่อท่าทีที่มองเห็นมากกว่าคำพูดนะ ฉะนั้น ทั้งคำพูดและการกระทำของคุณพ่อคุณแม่ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
6.ดึงความสนใจไปสู่กิจกรรมอื่น ลองปรับพฤติกรรมของลูกที่ชอบขว้างปาสิ่งของไปสู่การชวนเขาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อมือน้อย ๆ เช่น ฝึกระบายสี ปั้นแป้ง พับกระดาษ เชื่อเถอะว่าลูกรักจะสนุกกับกิจกรรมเหล่านี้มากกว่าการขว้างปาสิ่งของแน่นอน
7.ให้กำลังใจเมื่อทำดี เมื่อลูกน้อยทำตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกให้ทำได้ เช่น วางของอย่างดีไม่โยน หยิบอาหารเข้าปาก หรือวางช้อนในจานได้ ควรให้คำชื่นชม เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกน้อยทำดีต่อไป
บทส่งท้าย
การจัดการกับลูกที่ชอบโยนของเวลาโกรธ และปาข้าวของเป็นสิ่งสำคัญเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการอารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะสม ความเข้าใจ และการสนับสนุนเป็นสิ่งสำคัญในขั้นตอนนี้ คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สอนทักษะการจัดการอารมณ์ สนับสนุนการสนทนาเกี่ยวกับความรู้สึกของลูก ตั้งตนเป็นตัวอย่างที่ดี ใช้การตรวจสอบ และควบคุมเพื่อสร้างการเรียนรู้ และขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อจำเป็น
เครดิตรูปภาพ
www.thebump.com www.istockphoto.com www.babycenter.com www.shutterstock.com