ลูกชอบกรี๊ด โวยวาย เอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกชอบกรี๊ด โวยวาย เอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไรดี” บางวันก็กรี๊ด บางทีก็วีน อยู่ดี ๆ ก็ร้อง ตะโกนได้ทุกเวลารวมถึงหลัง 3 มื้ออาหาร เป็นเรื่องเข้าใจได้ยากเหลือเกินสำหรับเจ้าตัวเล็กที่อายุเข้าที่ 2-3 ขวบ ทำเอาพ่อแม่ต้องวุ่นวายใจ และกังวลกับพัฒนาการของเขาว่าอาจจะมีความไม่ปกติในเรื่องใดหรือเปล่า

Toddler Screaming (Why It Happens & How to Survive)

ลูกชอบกรี๊ด โวยวาย เอาแต่ใจ 

ผู้ปกครองบ้านไหนเมื่อขัดใจลูก มักเจอพฤติกรรมลูกชอบกรี๊ด โวยวาย เอาแต่ใจ ชักดิ้นชักงอนอนกับพื้น ปาข้าวของ เชื่อว่า ต้องมีกุมขมับกันบ้าง เพราะพฤติกรรมเด็กแบบนี้ เมื่ออยู่ในพื้นที่สาธารณะอาจลำบากพ่อแม่ สร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น จนพ่อแม่เองถึงขั้นโมโห เผลอตี ดุลูกกันยกใหญ่ แต่เชื่อว่า ที่ทำไปก็เพราะรัก ไม่อยากให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เดี๋ยวคนอื่นจะมองลูกดื้อ เป็นเด็กก้าวร้าว หรือไม่มีเพื่อนคบ  

แต่การตี ดุ หรือขึ้นเสียงใส่ลูก เมื่อลูกชอบกรี๊ด ลูกโวยวาย เอาแต่ใจ ชักดิ้นชักงอนอนกับพื้น ไม่ใช่ทางออกที่ดี และวิธีแก้ปัญหาที่ให้ผลระยะยาว แถมอารมณ์ผู้ปกครองที่พร้อมบวกกลับเด็ก ยังสร้างการฝังใจ และเด็กจะนำไปเลียนแบบพฤติกรรมได้ ดังนั้น การช่วยให้ลูกแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม  และพร้อมเข้าใจอารมณ์ของลูก จะช่วยปรับพฤติกรรมเด็กเอาแต่ใจ ลูกชอบกรี๊ด โวยวายให้ดีขึ้นได้

45,600+ Screaming Children Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images -  iStock | Tantrum child, Crying kids, Crowded airplane

สาเหตุลูกชอบกรี๊ด

– ปรับตัวไม่ทันกับการเจริญเติบโต  เพราะวัยเด็กในช่วงระยะ 1-3 ขวบแรกนั้น ผ่านไปเร็ว ทั้งเป็นช่วงต้นของการที่ลูกต้องเข้าสังคม, ต้องรู้จักการดูแลตัวเองในเบื้องต้น, ร่างกายก็ยืดขยายจากเดิมมากรวมไปถึงฮอร์โมนในร่างกายพึ่งเริ่มปรับสมดุลเกี่ยวกับเพศ และอารมณ์ ทำให้ก่อเกิดความรู้สึกกระสับกระส่ายและส่งผลต่ออารมณ์ได้ง่ายมาก ลูกจึงมีอาการหงุดหงิดอยู่บ่อยครั้ง, รู้สึกอะไรก็ไม่ถูกใจตลอดเวลา จึงส่งผลให้อารมณ์ของเขาตามไม่ทันความต้องการที่จะสื่อสารหรือแสดงออก จึงกลายเป็นการกรี๊ดหรือโวยวายเท่านั้น

– อยากได้รับความสนใจ  เมื่อโลกของลูกกว้างขึ้น ก็จะได้พบเจอกับเด็กอีกหลายต่อหลายคน รวมไปถึงสังคมใหม่ๆ ให้เขาได้รู้จักซึ่งโดยปกติแล้วในโลกของลูก เขามักเป็นที่หนึ่งของพ่อแม่เสมอ เมื่อรับรู้ได้ว่าตนกำลังจะถูกแย่งความรัก หรือกลายเป็นที่สองรองจากคนอื่นอย่างการที่พ่อแม่มีน้องหรือหลาน, พบเจอเด็กคนอื่นแล้วชื่นชม อาการกระจองอแงก็จะเริ่มขึ้นโดยไม่สามารถหยุดได้ เพราะเด็กนั้นไร้เดียงสา รู้สึกอย่างไรก็จะแสดงอาการออกมาตรงๆ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

– รู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว  โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ฯลฯ เด็กในวัยนี้จะยังไม่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้มากนัก เช่น เมื่อปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เด็ก ๆ จะรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว อยากบอกผู้ใหญ่ หรือใครสักคน แต่ไม่รู้ว่าควรจะพูดอย่างไร ก็ได้แต่ส่งเสียงร้อง เพื่อให้คนหันมาสนใจ เป็นต้น  ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ พี่เลี้ยง หรือคนใกล้ชิดจำเป็นต้องบอกเหตุผล และสอนให้เด็ก ๆ เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เปิดโอกาสให้เขากล้าที่จะพูด และบอกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้อย่างตรงไปตรงมา เด็ก ๆ จะเข้าใจเหตุผล และไม่กลัวที่จะบอกความจริงกับผู้ใหญ่

– ยังสื่อสารได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่  บางทีเราจะเห็นว่า ลูกดีใจก็กรี๊ด ลูกไม่พอใจก็กรี๊ด หรือบางครั้งไม่มีเหตุผลอะไรเลยก็อยากกรี๊ดก็กรี๊ดขึ้นมา นั่นเพราะเขาพึ่งรู้จักศัพท์และการพูดมาไม่นาน ทำให้การสื่อสารของลูกยังไม่เต็มประสิทธิภาพที่จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจความต้องการของเขาได้ในทันที ดังนั้นเด็กๆ จึงเริ่มมีอารมณ์ของความหงุดหงิดเข้าแทรก ทำให้การสื่อสารออกมาในเชิงตะโกนโวยวาย, กรี๊ดไม่ยอมหยุดจนกว่าจะได้สิ่งที่ต้องการ

– มีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่  เช่น เด็กเห็นการแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราด ก้าวร้าว ดุดัน ของผู้ใหญ่เวลาทะเลาะกัน เมื่อเห็นบ่อยเข้าก็จะเกิดการจดจำ และทำตาม ดังนั้นผู้ใหญ่จึงไม่ควรแสดงตัวอย่างให้เด็กเห็น อีกทั้งยังควรอธิบาย ทำความเข้าใจกับเด็ก ๆ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ อ่อนโยน และใจเย็น บอกให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่ควร หรือไม่ควรกระทำ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังควรมีการตั้งกติกาที่ชัดเจน เพื่อให้เด็กได้ใช้เป็นบรรทัดฐาน ในการแสดงออกของพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไปอีกด้วย

4 Psychological Effects Of Yelling At Kids & 12 Ways To Handle

วิธีรับมือลูกชอบกรี๊ด

1.สอนให้เด็กพูดบอกความต้องการ อย่างสุภาพ จึงจะได้สิ่งที่ต้องการ หากเด็กพูดไม่คล่อง ก็ควรพูดเป็นตัวอย่าง ให้เด็กพูดตาม แล้วจึงให้สิ่งที่เด็กต้องการ

2.อธิบายเหตุผลง่ายๆ ว่า ให้สิ่งนั้นไม่ได้เพราะอะไร

3.หลังจากอธิบายเหตุผล ว่าทำหรือสิ่งนี้ไม่ได้ เพราะอะไร แต่มีสิ่งอื่นที่สามารถทำได้ หรือเล่นแทนได้ ทดแทน เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ

4.จัดสิ่งแวดล้อม ให้ไม่มีสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กมีอามรณ์โกรธ เช่น หากเด็กอยากได้ของเล่น แล้วไม่สามารถให้ได้ ควรพาเด็กออกไปจากมุมของเล่นที่เด็กอยากได้ เพื่อลดสิ่งเร้าอารมณ์

5.หากเด็กมีอารมณ์ ที่รุนแรง สอนเด็กให้รู้จักอารมณ์ตนเอง ว่า กำลังโกรธ / เสียใจ ผู้ปกครองควรให้เวลาเด็ก โดยการเงียบ และนั่งใกล้ๆ และสอนให้เด็กใจเย็นๆ อาจสอนให้ นับ 1-10 เพื่อ ควบคุมอารมณ์ หรือ ชวนพูดคุยช้าๆ เพื่อให้ผ่อนคลายความโกรธ

6.เมื่อเด็กอารมณ์เย็นลงแล้วให้ชวนทำกิจกรรมอื่นแทน ไม่ควรกลับไปพูดซ้ำเรื่องเดิม หรือให้ของเด็กเป็นรางวัล

7.ทั้งนี้ ไม่ควรกอดปลอบ โอ๋เด็ก เพราะจะเป็นการให้รางวัลเด็กที่ทำพฤติกรรม ไม่เหมาะสม แต่สามารถนั่งใกล้ๆ จับตัว ลูบ หรือกอด เพื่อสอนให้ค่อยใจเย็นๆ ลง ได้

บทส่งท้าย

เมื่อทุกอย่างสงบลง อย่าลืมบอกลูกว่าคุณรักเขา เพราะหลังจากเหตุการณ์ทั้งหมด เขาอาจจะรู้สึกกลัว ตกใจ และต้องการคนปลอบ แต่จำไว้ว่าอย่าโอ๋ลูกขณะที่เขากำลังกรีดร้อง เพราะจะทำให้เด็กเสียนิสัย

เครดิตรูปภาพ momlovesbest.com www.istockphoto.com www.momjunction.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (182) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)