ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อย ที่ควรมีติดบ้านไว้

บทความนี้ขอแนะนำ “ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อย ที่ควรมีติดบ้านไว้” ยาสามัญประจำบ้านก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมีติดบ้านไว้บ้าง เพราะในยามที่ลูกน้อยเริ่มมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น ไอ มีน้ำมูก หรือมีไข้ ก็ควรให้เขาทานยาตามอาการก่อน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็พอลูกน้อยไปพบแพทย์ แต่ยาสามัญที่มีติดบ้านไว้ ต้องได้รับคำแนะนำจากเภสัชอย่างละเอียดด้วย เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย และจะมียาชนิดไหนบ้างนั้นบทความนี้มีมาฝากกัน

ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร

2,151 Antipyretic Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images - iStock

ยาสามัญประจำบ้าน คือ ชุดยาที่ใช้รักษา บรรเทา หรือป้องกันอาการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยในเบื้องต้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน น้ำมูกไหล เมารถ เมาเรือ เป็นต้น ทุกคนนำมาใช้รักษาตัวเองหรือคนใกล้ชิดเองได้ แต่ละบ้านควรมีชุดยาสามัญไว้อย่างน้อย   1 ชุด ควรเก็บไว้ในที่ที่แห้ง หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง และสะดวกต่อการหยิบใช้ ทุกคนจัดชุดยาสามัญได้ด้วยตัวเองหรือหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยฉลากยาจะต้องมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรอบสีเขียวมีขนาดตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน และระบุคำว่า “ยาสิ้นอายุ” เพื่อแสดงวัน เดือน ปี พ.ศ. ที่ยาสิ้นอายุ และควรหมั่นตรวจสอบชุดยาเป็นประจำ หากพบยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุควรเปลี่ยนยาเพื่อความพร้อมต่อการใช้งาน

หลักการเลือกซื้อและใช้ยาสามัญประจำบ้านในบ้านที่มีลูกเล็ก

1.ควรเลือกซื้อยาในที่ร้านที่มีเภสัชกรให้คำแนะนำ และก่อนซื้อยาควรแจ้งอายุของลูก รวมถึงโรคประจำตัว หรือประวัติแพ้ยา/แพ้อาหารแก่เภสัชกรด้วยทุกครั้ง

2.ปรึกษาแพทย์/เภสัชกรก่อนจะซื้อยานั้น ๆ มาให้ลูกใช้

3.ต้องอ่านฉลากเอกสารกำกับยาก่อนทุกครั้ง

4.เลือกซื้อยาที่มีฉลากยา ระบุตำรับยา สรรพคุณ ขนาด และวิธีใช้ ไว้อย่างชัดเจน

5.ต้องมีวันเดือนปีที่ผลิต และวันสิ้นอายุ หรือวันที่ยาหมดอายุระบุไว้  

Mother Giving A Medicine To Child Stock Photo - Download Image Now - Child,  Vitamin, Mother - iStock

ยาสามัญประจำบ้านที่ควรมีติดบ้านสำหรับลูกน้อย

1.ยาลดไข้

ใช้เมื่อมีอาการตัวร้อนมีไข้ เพื่อให้อาการไข้ลดลง หรือใช้ในกรณีที่มีอาการปวดหัว ปวดฟัน (ทั้งนี้ต้องแน่ใจว่าไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน ถ้าไม่แน่ใจควรพบแพทย์)

2.กลุ่มยาลดน้ำมูก

กลุ่มยานี้ไม่แนะนำให้ซื้อยาลดน้ำมูกมาให้ลูกรับประทานเอง (โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ) เพราะมีโอกาสที่จะทำให้ น้ำมูกแห้งอยู่ในโพรงจมูก และอาจทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจได้ หากลูกมีอาการควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา แต่ในเด็กโตพ่อแม่อาจใช้พวกน้ำมันหอมระเหย เช่น น้ำมันยูคาลิปตัสบริสุทธิ์ หยดบริเวณหมอน ผ้าห่ม ปกเสื้อลูก หรือสเปรย์ภายในห้องนอน หรือ อาจใช้ยาขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของน้ำมันยูคาลิปตัส ทาบริเวณหน้าอก คอ และหลัง เพื่อช่วยให้ลูกหายใจได้สะดวกขึ้น (ต้องแน่ใจว่าลูกไม่มีอาการแพ้ และ ไม่ควรทาที่จมูกลูกโดยตรงเพราะจะแสบได้)

3.ยาแก้ไอ

หากมีอาการไอ และมีเสมหะไม่มาก อาจให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เสมหะเหนียว ช่วยให้ชุ่มคอและไม่ระคายเคือง แต่ถ้ามีอาการไอและมีเสมหะมาก ยาเบื้องต้นที่สามารถใช้ในเด็กได้อย่างปลอดภัย เช่น ยาคาร์โบซีสเทอีน, แอมบรอกซอล หรือบรอมเฮกซีน เป็นต้น ยาแก้ไอ

2,149 Child Taking Medicine Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images -  iStock

4.ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ขับลม

มหาหิงคุ์จะเป็นยาใช้เฉพาะที่สำหรับทาภายนอก  ไม่ว่าจะเด็กเล็กหรือเด็กโตสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยโดยใช้ทาบริเวณหน้าท้องรอบ ๆ สะดือหรืออาจทาฝ่ามือฝ่าเท้าด้วย โดยในยาน้ำมหาหิงคุ์จะมีน้ำมันหอมระเหยที่สามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารได้ และทำให้เด็กรู้สึกสบายท้องมากขึ้น ส่วนยากินเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อนั้นจะเป็นพวกยาน้ำโซเดียมไบคาร์บอเนตหรือไซเมทิโคนชนิดน้ำเชื่อม

5.ยาทาผื่นผ้าอ้อมสำหรับเด็กเล็ก

ผื่นผ้าอ้อม คือ การปล่อยให้เด็กสวมผ้าอ้อมที่เปียกชื้นหรือสกปรกอยู่นานเกินไปแอมโมเนียและแบคทีเรียอื่น ๆ ในปัสสาวะและอุจจาระผ่านเกราะป้องกันผิวตามธรรมชาติที่บอบบางของเด็ก ทำให้เกิดความระคายเคืองและอักเสบขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากอาการแพ้ทิชชู่เปียกที่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรืออาจจะเกิดจากผลิตภัณฑ์ซักผ้ารวมถึงผ้าอ้อมสำเร็จรูป เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นรอยผื่นผ้าอ้อมเมื่อใดก็สามารถใช้ยานี้บรรเทาอากาศเจ็บแสบที่ผิวลูกได้  สำหรับยาทาผื่นผ้าอ้อมนั้นมีหลายยี่ห้อก่อนที่จะใช้ให้ลูกน้อยคุณแม่ควรทดสอบอาการแพ้ในแต่ละยี่ห้อก่อน

6.ท้องเสีย เกลือแร่สำหรับเด็ก

เด็กที่มีอาการท้องเสียอาจเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด แต่อาการท้องเสียจะสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องกินยาแต่การที่มีเกลือแร่ติดบ้านไว้  เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำของลูกแม้ว่ายาตัวนี้จะไม่ได้ช่วยให้หยุดถ่ายแต่ช่วยเพิ่มพลังงานและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปจากการขับถ่ายได้

7.ยาสำหรับทาเวลาแมลงสัตว์กัดต่อย หรือเกิดผื่นแพ้

เมื่อลูกถูกแมลงสัตว์กัดต่อยหรือเมื่อมีผดผื่นคันส่วนใหญ่จะมีอาการอักเสบของผิวหนังซึ่งผิวหนังบริเวณนั้นอาจจะมีอาการปวดบวม  หรือมีอาการคันร่วมด้วยดังนั้นยาที่ใช้จะเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการเหล่านั้น ควรใช้เป็นยาขี้ผึ้งสำหรับเด็ก หรือยาทาแก้ผดผื่นคันไว้ เช่น ยาคาลาไมน์ หรือยาทาที่มีสเตียรอยด์แบบอ่อนๆ (0.1%ไฮโดรคอทิโซนครีม)

8.วิกส์ หรือน้ำมันยูคาลิปตัส

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย  และลูกของเราปรับสภาพร่างกายไม่ทัน  ส่งผลให้ลูกมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลหายใจครืดคราดไม่สะดวกโดยเฉพาะเวลานอน เราจึงควรมีวิกส์หรือน้ำมันยูคาลิปตัสติดบ้านไว้ใช้กรณีจำเป็นแต่การทาวิกส์หรือน้ำมันยูคาลิปตัส นั้นไม่อยากให้ทาที่ผิวของลูกน้อยโดยตรงนะคะขอแนะนำให้ทาบริเวณเสื้อผ้าเพียงให้ลูกได้กลิ่นอ่อน ๆ ดีกว่าเพราะหากลูกสัมผัสตัวยาโดยตรงอาจะมีผลข้างเคียงที่ทำให้ผิวร้อนหรือไหม้ได้

9.ยาทาแผลสด และอุปกรณ์ทำแผล หรือแผลฟกช้ำ

เมื่อลูกน้อยเจ็บตัวในกรณีฉุกเฉิน  โดยบาดแผลไม่ลึกมากแต่มีเลือดออกอุปกรณ์ในกลุ่มยารักษาแผลสดถือเป็นสิ่งที่จำเป็น  ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นน้ำเกลือ แอลกอฮอล์ล้าง แผลยาแดง  เบตาดีน  อุปกรณ์ทำแผลสำลีก้อน สำลีก้าน ผ้าพันแผล พลาสเตอร์ ฯลฯ  โดยคุณแม่ต้องตรวจเช็ควันที่ผลิตและวันหมดอายุที่ยาและอุปกรณ์เป็นประจำด้วย และหากลูกมีแผลฟกช้ำ จากการเล่นซน ควรมีเจลประคบร้อน-เย็นสำหรับการฟกช้ำถือเป็นสิ่งจำเป็น ถุงประคบเย็นจะช่วยลดอาการบวมแดง ทำให้อาการของแผลฟกช้ำไม่กระจายบวมใหญ่เป็นวงกว้าง หรือยาที่ช่วยบรรเทาอาการแผลฟกช้ำสำหรับเด็กโดยตรงก็มีตามท้องตลาดทั่วไป

What Parents Need to Know about Reading a Medicine Label | Children's  Hospital of Philadelphia

ข้อควรระวังในการใช้ยาสำหรับเด็ก

1.หากลูกมีประวัติแพ้ยาหรือพ่อแม่มีประวัติแพ้ยา ก็ต้องระมัดระวังการให้ยากลุ่มนั้นกับลูกเป็นพิเศษด้วย เพราะมีโอกาสที่ลูกอาจจะแพ้ยาได้ เหมือนกับพ่อแม่

2.ลูกมีโรคประจำตัวหรือไม่ เพราะโรคประจำตัวบางโรค อาจจะต้องหลีกเลี่ยงยาบางกลุ่มที่จะกระตุ้นให้แสดงอาการผิดปกติได้  

บทส่งท้าย

ยาสามัญประจำบ้าน ที่กล่าวไว้ข้างต้น ควรมีติดบ้านไว้จะได้อุ่นใจ เพราะถ้าลูกน้อยของเราเริ่มมีอาการ ปวดหัว ปวดท้อง มีไข้ ก็จะสามารถทานยาได้ไว จะได้ช่วยให้อาการป่วยบรรเทาได้ไวขึ้นด้วย แต่ยาทุกชนิดควรอ่านฉลากให้ครบ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

เครดิตรูปภาพ www.istockphoto.com www.chop.edu/news

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (31) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (155) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (162) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (74) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)