ยาน้ำลดไข้ของเด็ก ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี และปลอดภัย

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ยาน้ำลดไข้ของเด็ก ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี และปลอดภัย ยาลดไข้เด็กเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดหัว ปวดตามร่างกาย และลดไข้ ซึ่งช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัวและหายป่วยได้เร็วขึ้น ยาลดไข้เด็กที่หาซื้อได้เองมีหลายยี่ห้อ ซึ่งมักมาในรูปแบบยาน้ำ โดยมีปริมาณการรับประทานที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ยาลดไข้เด็กอย่างเหมาะสมจะช่วยลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยาลดไข้เด็ก คืออะไร

ยาลดไข้เด็ก คืออะไร

ยาลดไข้เด็ก เป็นยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการตัวร้อน ลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะร่วมด้วย  ยาลดไข้ที่มีขายตามร้านขายยา และที่ใช้ในโรงพยาบาลมีหลายแบบ เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน

1.ยาพาราเซตามอล

ยาพาราเซตามอลเป็นยาลดไข้ที่มีความปลอดภัยสูงในเด็ก ตัวยาพาราเซตามอล เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย และคุณหมอนิยมจ่ายยานี้เป็นอันดับแรก โดยยาพาราเซตามอลมีทั้งชนิดน้ำ สำหรับเด็กเล็ก และชนิดเม็ด สำหรับเด็กโต โดยขนาดยาที่ใช้คือ 10-15 มิลลิกรัมของยา ต่อน้ำหนักตัวของเด็กหนึ่งกิโลกรัม ใช้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมงเวลามีไข้ แต่วันหนึ่งไม่ควรเกิน 5 ครั้ง และไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3-5 วัน หากเด็กมีอาการไข้ติดต่อกันนานเกิน 3 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้ 

2.ยากลุ่มNSAIDS

ยากลุ่มNSAIDS (non-steroidal Anti-inflammatory drug) หรือที่คุณแม่ ๆ เรียกกันว่า ยาลดไข้สูง เป็นยาลดการอักเสบซึ่งใช้บรรเทาอาการปวดในโรคข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อรับประทานจะช่วยให้ไข้ลง แต่ยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหารและหากทานยากลุ่ม NSAIDS ในเด็กที่เป็นโรคไข้เลือดออกอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น

3.ยากลุ่มแอสไพริน

ยากลุ่มแอสไพรินใช้ลดไข้การใช้บ้าง แต่ค่อนข้างน้อยมาก เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ในผู้ป่วยรายที่รับประทานเกินขนาดอาจทำให้ซึมลง ชัก และเสียชีวิต

ยาน้ำเด็กมีกี่ประเภท

ยาน้ำเด็กมีกี่ประเภท

ในปัจจุบันยาน้ำลดไข้สำหรับเด็กในท้องตลาดนั้น มีหลากหลายประเภทให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกซื้อ โดยเราสามารถแบ่งยาน้ำชนิดรับประทานได้ดังนี้

1.ยาน้ำเชื่อมใส (Syrups) ยาที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีตะกอน ตัวยาละลายเท่ากันทั้งขวด และไม่ต้องเขย่าขวดก่อนรินยาให้ลูกทาน

2.ยาแขวนตะกอน (Suspensions) ยาน้ำที่มีตัวยาที่ไม่ละลายกระจายอยู่ โดยมีลักษณะขุ่นทำให้เวลาใช้ต้องมีการเขย่าขวดก่อนทุกครั้งเพื่อให้ตัวยากระจายก่อนรินยา เพราะเป็นยาแขวนตะกอน จึงทำให้หากเขย่าไม่ดี ตัวยาอาจจะไม่ครบตามปริมาณที่ต้องการ

3.ยาน้ำเชื่อมชนิดผงแห้ง (Dry syrup) ยาน้ำรูปแบบนี้จะเสื่อมสลายได้ง่าย ก่อนใช้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องผสมน้ำดื่มสะอาดในปริมาณที่กำหนด และจะต้องเขย่าขวดทุกครั้งก่อนรับประทานเหมือนกับยาแขวนตะกอน ซึ่งมีโอกาสจะหกเลอะเทอะตอนเขย่าได้ อีกทั้งหากคุณพ่อคุณแม่ผสมแล้วเขย่าไม่ดี ตัวยาอาจจะละลายไม่ทั่วถึงเช่นกัน

วิธีเลือกและใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กอย่างปลอดภัย

วิธีเลือกและใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กอย่างปลอดภัย

1.ห้ามใช้ยาลดไข้เองในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน

คุณแม่ที่กำลังมีลูกเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือน ไม่ควรให้ยาลดไข้กับลูกน้อยด้วยตนเอง เพราะเด็กเล็กมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากยามากกว่าเด็กโต คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม

2.อย่าใช้ยาลดไข้โดยไม่จำเป็น

สำหรับเด็กที่อายุ 3 เดือนไปจนถึง 3 ปีที่มีไข้ต่ำ ๆ โดยเฉพาะเด็กอายุ 3–6 เดือน คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้โดยไม่จำเป็น โดยอาจใช้วิธีลดไข้โดยไม่ใช้ยา อย่างเช็ดตัว ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากลูกน้อยไข้ไม่ลด หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ควรพาไปพบแพทย์

3.ใช้ยาแก้ไข้ตามที่แพทย์สั่ง

เมื่อพาลูกน้อยที่อายุมากกว่า 3 เดือนไปพบแพทย์ แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดไข้สำหรับเด็ก อย่างยาอะเซตามิโนเฟน หรือยาพาราเซตามอล คุณแม่ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งทั้งปริมาณและความถี่ในการใช้ ไม่ควรลดหรือเพิ่มปริมาณและมื้อยาด้วยตนเอง หากใช้แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์อีกครั้ง

วิธีเลือกและใช้ยาลดไข้สำหรับเด็กอย่างปลอดภัย 2

4.เลือกยาลดไข้ตามช่วงอายุเด็ก

ยาลดไข้สำหรับเด็กอาจแบ่งได้ 2 ชนิดหลัก ชนิดแรก คือ กลุ่มยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอล ซึ่งปลอดภัยกว่า ชนิดที่สอง คือ กลุ่มยาแก้ปวดชนิดไม่มีสเตียรอยด์หรือเอ็นเสด อย่างยาไอบูโพรเฟน และยาแอสไพริน แพทย์อาจจ่ายยาในกลุ่มนี้ให้กับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยยาทั้ง 2 กลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์ วิธีการใช้ และผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน คุณแม่จึงควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้เสมอ

5.ใช้ยาตามน้ำหนักตัวเมื่อเด็กโตขึ้น 

ข้อจำกัดในอาจใช้ยาอาจยืดหยุ่นขึ้นและอาจมีความเสี่ยงจากผลข้างเคียงน้อยลง แต่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ แต่ถ้าเป็นเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป 

คุณแม่อาจซื้อยาให้ลูกน้อยเองได้ แต่ก็ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้เช่นเดียวกันเพื่อความปลอดภัย

6.ใช้อุปกรณ์ให้ยาอย่างเหมาะสม

ยาลดไข้สำหรับเด็กส่วนใหญ่มักเป็นยาน้ำ อุปกรณ์สำหรับป้อนยาจึงแบ่งออกได้ 2 แบบ ดังนี้

– ช้อนยา คุณแม่ควรใช้ช้อนที่มาพร้อมยาน้ำนั้น ๆ เพราะจะช่วยให้ลูกน้อยได้รับยาในปริมาณที่ถูกต้อง และควรหลีกเลี่ยงการใช้ช้อนอื่น ๆ อย่างช้อนอาหารในการป้อนยา 

– ไซรินจ์ (Syringe) คนไทยเรียกกันว่า ไซริงค์ เป็นกระบอกฉีดยาที่ไม่มีเข็ม คุณแม่ที่ใช้ไซรินจ์ป้อนยาลูก ควรดูขนาดของกระบอกให้ดีและดูตัวเลขกำกับปริมาณบนหลอดเสมอ เพราะไซรินจ์จะมีทั้งหน่วยที่เป็นออนซ์ (Ounce: oz) และมิลลิลิตร (Milliliter: ml) ซึ่งคุณแม่อาจสับสนได้

บทส่งท้าย

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้ยาลดไข้เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน และเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลด ที่สำคัญการให้ยาต้องให้ในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของลูก ไม่ควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลบ่อยกว่าทุกๆ 4 ชั่วโมง หากให้ยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด หรือมีไข้ติดต่อกันหลายวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้นะ

เครดิตรูปภาพ www.shutterstock.com www.cbc.ca kidnurse.org

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (180) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (173) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)