ฝุ่น PM2.5 ปีศาจตัวร้าย ตัวอันตรายที่สามารถส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้

บทความนี้ขอแนะนำ “ฝุ่น PM2.5 ปีศาจตัวร้าย ตัวอันตรายที่สามารถส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้”  ฝุ่น PM2.5 ภัยเงียบทางอากาศที่ไม่เพียงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย ซึ่งมันจะอันตรายต่อลูกน้อยขนาดไหนนั้นบทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน 

PM2.5: Tiny Pollutants and their Effect on Children Health

PM2.5 คืออะไร?

PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยอื่น ๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มาจากสองแหล่งกำเนิดใหญ่ๆ คือ

1.แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต

2.การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งสารพิษอื่นๆ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs)

ฝุ่น PM 2.5 อันตรายกับลูกน้อยอย่างไร

มีอาการแสบจมูก น้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก ไอ มีเสมหะ และเจ็บคอ เนื่องจากการสูดเอาฝุ่นละอองและควันพิษเข้าสู่ร่างกาย

1. มีอาการระคายเคืองผิวหนัง เกิดเป็นผื่นคันบริเวณที่สัมผัสฝุ่น

2.หากมีการสะสมฝุ่นพิษในระยะยาว จะส่งผลให้มีความผิดปกติด้านสติปัญญาและพัฒนาการ ทำให้ลูกมีพัฒนาการช้าลง มีปัญหาด้านการพูดและฟัง มีภาวะสมาธิสั้น และมีภาวะออทิซึม

3.การสูดฝุ่นพิษเป็นเวลานาน มีผลกระทบระยะยาวกับปอด อันเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบ หอบหืด และโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ

4.ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กมากจนสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปทั่วร่างกาย อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด ซึ่งนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ และภาวะหลอดเลือดหดตัวได้

Page 7 | Pregnancy covid Images | Free Vectors, Stock Photos & PSD

แม่ตั้งครรภ์กับอันตรายจากฝุ่น PM2.5

คุณแม่ตั้งครรภ์ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก คนท้องที่สูดดมฝุ่น PM2.5 เข้าไป พิษร้ายจะตรงเข้าทางเดินหายใจและแทรกซึมผ่านกระแสเลือดจากแม่สู่ลูก จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีน้ำหนักน้อยตั้งแต่ในท้อง และเจ็บป่วยติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติในภายหลัง

ฝุ่น PM2.5 ทำให้เด็กมีพัฒนาการในด้านสติปัญญาที่ต่ำลง

ข้อมูลจาก Unicef เผยว่า ฝุ่นละอองขนาดไม่ถึง 1 ใน 25 เท่าของเส้นผมมนุษย์ เมื่อหายใจเข้าไป อนุภาคของฝุ่นจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและปาก ผ่านช่องทางเดินหายใจ ไปสิ้นสุดที่ถุงลมในปอด ซึ่งจะแทรกซึมผ่านปอดออกมาทางระบบไหลเวียนโลหิตและกระจายไปทั่วร่างกาย โดยอวัยวะที่ได้รับผลกระทบรุนแรงคือ ปอด ระบบภูมิคุ้มกัน หัวใจ และสมองของเด็กที่กำลังมีพัฒนาการ

ในขณะที่สมองของลูกน้อยกำลังพัฒนา สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้จะไปทำลายเซลล์สมอง ซึ่งส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ ทำให้เด็กมีสติปัญญาด้อยลง กระทบการสร้างระบบความจำ มีปัญหาการได้ยินและพูด สมาธิสั้น รวมถึงการควบคุมอารมณ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมรอบข้างแย่ลง และอนุภาคนั้นก็อาจสะสมจนเป็นต้นตอของโรคเซลล์ประสาทเสื่อม เมื่อมีอายุมากขึ้น

วิธีป้องกันลูกน้อยจากฝุ่น PM2.5

1.หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน และไม่เข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินกว่าระดับมาตรฐาน

2.ขณะอยู่ในบ้านควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิท และเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบ HEPA ซึ่งช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลงได้

3.หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ต้องสวมหน้ากากชนิด N95 (สำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ส่วนทารกหรือเด็กเล็กไม่แนะนำให้เดินทางออกนอกบ้าน)

4.ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ จะช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น

5.สำหรับเด็กอายุ  6 เดือนขึ้นไป ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ

6.ควรเช็ดทำความสะอาดบ้านและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในบ้าน

7.การปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้รอบบ้าน และวางกระถางต้นไม้ฟอกอากาศ เช่น ลิ้นมังกร กวักมรกต เฟิร์น ว่านหางจระเข้ ไว้ภายในบ้าน ก็สามารถช่วยกรองสารพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเอาไว้ และฟอกอากาศให้สดชื่นได้

8.หากพบว่าลูกมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือมีผื่นคันขึ้นตามร่างกาย ให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที

9.เด็ก ๆ ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้โรคทางเดินหายใจ ควรเตรียมยาประจำตัวให้พร้อม และทานยาประจำสม่ำเสมอ คุณพ่อ คุณแม่ควรพกยาที่จำเป็นติดตัว เพื่อให้เด็กใช้เมื่อมีอาการกำเริบ

10.กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีวิตามีน C, E โอเมก้า 3 และสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง

11.งดสูบบุหรี่ภายในอาคารและในรถ

บทส่งท้าย

ฝุ่น PM 2.5 ถือว่าเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และในปัจจุบันเองนั้นก็ยังไม่มีแนวโน้มว่า ฝุ่น PM 2.5 จะลดลงแต่อย่างใด และอาจจะเพิ่มมากขึ้นเสียด้วยซ้ำไป ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ปกป้องเจ้าตัวน้อยให้ห่างไกลจากฝุ่นพิษชนิดนี้ให้มากที่สุด และหมั่นเข้าตรวจเช็คสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ

เครดิตรูปภาพ www.samitivejhospitals.com www.shutterstock.com www.freepik.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (181) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)