ฝึกลูกขับถ่าย ฝึกลูกนั่งกระโถน ควรทำอย่างไร และควรเริ่มฝึกตอนไหน

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ฝึกลูกขับถ่าย ฝึกลูกนั่งกระโถน ควรทำอย่างไร และควรเริ่มฝึกตอนไหน การให้ลูกได้ฝึกขับถ่ายและเข้าห้องน้ำเองได้อย่างมีความชำนาญ ในช่วงเวลาที่ลูกกำลังเจริญเติบโต การควบคุมการขับถ่าย เป็นหนึ่งในความสามารถทางพัฒนาการที่มีความสำคัญต่อเด็กและครอบครัว ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจของลูกด้วย

ทำไมต้องฝึกการขับถ่ายให้ลูก

การฝึกลูกน้อยและเสริมสร้างลักษณะนิสัยต่าง ๆ ให้เด็กตั้งแต่เล็กๆ จะส่งผลดีในระยะยาว เช่น การเตรียมความพร้อมในการขับถ่ายสำหรับลูกในวัยเด็กเล็ก จะเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานสุขลักษณะ นิสัยที่ดีในการใช้ชีวิตของลูก ดังนั้น การฝึกหัดและฝึกฝนให้ ลูกรู้จักขับถ่ายให้ถูกที่ถูกเวลา จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะใส่ใจและให้ความสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามว่าเป็นรายละเอียดเล็กน้อย 

เตรียมการฝึกลูกน้อย

1. ตัวลูกน้อย สอนให้สื่อสาร ส่วนใหญ่ใช้คำว่า “ฉี่” แทนปัสสาวะ และ “อึ” แทนอุจจาระ อาจสอนผ่านทางหนังสือหรือสื่อต่าง ๆ ที่มีรูปภาพของการฝึกขับถ่าย รูปกระโถน รูปชักโครก รูปห้องน้ำ ให้ลูกได้เห็นเวลาพ่อแม่ถ่ายปัสสาวะที่โถส้วม

2. พ่อ แม่ และผู้ดูแลเด็ก ทุคนที่ร่วมดูแลลูกควรพร้อมที่จะให้เวลาในการฝึกอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ทั้งเมื่ออยู่ในบ้านและเมื่อออกนอกบ้าน เข้าใจวิธีการฝึกที่ตรงกัน มีความเข้าใจว่าลูกต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ และไม่คาดหวังมากเกินไป

3. กระโถน ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกกระโถน ควรเลือกขนาดไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ต้องให้ลูกนั่งได้อย่างสบาย ไม่เกร็ง ไม่หนีบขา อาจต้องมีไว้อีก 1 กระโถน ที่เหมือนกันสำหรับสถานที่รับเลี้ยงเด็กถ้าต้องฝากเลี้ยงในระหว่างวัน ไม่เปลี่ยนห้องที่วางกระโถนให้มีของเล่น และ หนังสือที่ลูกชอบในห้องนั้น

4. กางเกง ลูกควรมีส่วนร่วมในการเลือกกางเกง โดยพ่อแม่ช่วยเลือกแบบที่ใส่สบาย ไม่รัดรูป ลูกสามารถดึงขึ้นลงได้ง่ายด้วยตนเอง

เทคนิคเตรียมความพร้อม

– เลือกขนาดของกระโถนที่มีขนาดพอดี เมื่อเด็กนั่งแล้วสามารถวางเท้ากับพื้น ได้สบาย แข็งแรง ทนทาน

– เตรียมกระโถนเด็กเอาไว้ จับลูกนั่งกระโถนหลังลูกดื่มนมมื้อเช้า 5-10 นาที ได้ตั้งแต่ลูกอายุ 

7-9 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกเริ่มนั่งได้แล้ว

– คอยสังเกตลูกว่า ถ้าลูกยืนนิ่ง ตัวสั่นเล็กน้อย หรือทำท่าขนลุก นั่นแสดงว่า เขาปวดอึ ควรบอกลูกว่าลูกปวดอึ แล้วพาไปส้วม หรือนั่งกระโถน

– ฝึกอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ลูกคุ้นเคย รู้จักการนั่งกระโถนและการถ่ายอุจจาระ ในกระโถน

– หากลูกไม่พร้อมก็ไม่ควรเร่งรัดหรือบังคับ เพราะจะทำให้เด็กเกิดอาการต่อต้าน และกลายเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังได้ ควรรอให้ลูกพร้อมเสียก่อนแล้วจึงค่อยเริ่ม ฝึกใหม่ ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดก็คือ 18-24 เดือน เพราะในช่วงนี้เด็กจะเริ่มรู้สึกได้เองเมื่อต้องการจะถ่ายอุจจาระ

– เมื่อลูกทำได้และประสบความสำเร็จ ก็จะเกิดความภาคภูมิใจและสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองอีกด้วยค่ะ การชมเชยเมื่อเด็กขับถ่ายตามเวลา จะช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมการขับถ่ายที่ดี

เทคนิคฝึกลูกขับถ่าย

1.สอนให้ลูกบอกเมื่อต้องการขับถ่าย และรู้จักสถานที่ขับถ่ายที่เหมาะสม 

เมื่อลูกพูด “อึ” หรือ “ฉี่” ได้แล้ว ให้สังเกตการแสดงออกของลูก เมื่อจะขับถ่าย เช่น ลูกกำลังเล่นอยู่แต่หยุด ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด อารมณ์ไม่ดี  จับที่ผ้าอ้อม อวัยวะเพศหรือก้น  คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าไปถามลูกว่า “ฉี่ไหม” หรือ “อึไหม” เพื่อให้ลูกรู้ว่าเป็นการปวดปัสสาวะ หรืออุจจาระ แล้วจึงพาไปที่กระโถนหรือห้องน้ำ

2.สร้างความคุ้นเคยกับกระโถน 

แรก ๆ ลูกเห็นกระโถนอาจจะยังไม่กล้านั่ง หรือกลัว พ่อแม่อาจต้องทำท่าทางให้ลูกดู และลองให้ลูกคุ้นเคยกับการนั่งกระโถน ให้ลูกลองนั่งกระโถนบ่อย ๆ อาจนั่งโดยที่ลูกยังสวมผ้าอ้อมไว้ก่อนก็ได้ หรือถ้าลูกยอมก็ให้นั่งในขณะที่ไม่ได้สวมผ้าอ้อม และเพื่อไม่ให้ลูกเครียดหรือกลัวในขณะที่นั่งกระโถน ก็สามารถอ่านนิทานให้ฟัง พูดคุยเล่นกับลูก  หรือ เล่นของเล่นได้

3.ดื่มน้ำและกินอาหารช่วยกระตุ้นการขับถ่าย

ถ้าลูกท้องผูกเขาจะกลัวเจ็บและไม่อยากขับถ่าย จึงควรให้ลูกทานผัก ผลไม้ เพื่อเพิ่มกากใยให้เพียงพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดอุจจาร ะดื่มน้ำให้มากพอ ช่วยกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะและช่วยให้อุจจาระนุ่มถ่ายออกง่าย 

4.ฝึกขับถ่ายให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา

ในระหว่างวัน ควรกำหนดหรือกะเวลาให้ลูกถ่ายปัสสาวะทุก 2-3 ชั่วโมง และให้ถ่ายอุจจาระทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เช่น ให้ลูกนั่งกระโถนในช่วงเช้าทุกวันหลังตื่นนอน หรือหลังมื้ออาหารเพื่อถ่ายอุจจาระ แต่ต้องให้ลูกเต็มใจไม่บังคับ รวมทั้งอาจให้ลูกเริ่มถอดกางเกงหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปในช่วงสั้น ๆ และวางกระโถนไว้ใกล้ ๆ เพื่อให้ลูกลองนั่งเล่นหรือนั่งขับถ่ายได้ตามต้องการ

5.นั่งชักโครกเมื่อลูกโตขึ้น

เมื่อลูกนั่งกระโถนได้และเติบโตขึ้น นั่งเองได้แข็งแรงแล้ว อาจพัฒนามาฝึกขับถ่ายที่โถส้วมในห้องน้ำ ด้วยการใช้ฝารองนั่งชักโครก และหาที่วางเท้าให้ลูกวางได้เต็มฝ่าเท้า ไม่ให้เท้าลอยจากพื้นเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มลื่น

6. สอนเรื่องการทำความสะอาด  

เมื่อลูกคุ้นเคยสามารถถอดผ้าอ้อมสำเร็จรูป ถอดกางเกง และนั่งกระโถนเองได้ ให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปทำความสะอาดพร้อมสอนเรื่องสุขอนามัย เช่น ล้างก้นด้วยน้ำสะอาด เช็ดก้นด้วยกระดาษชำระ

บทส่งท้าย

อย่างไรก็ตามความพร้อมในการฝึกขับถ่ายของเด็กแต่ละคนนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุที่แน่นอน บางคนได้เป็นได้เร็วหรือช้า ขึ้นกับพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของลูก ดังนั้นพ่อแม่ควรใช้ความอดทนในเรื่องนี้ด้วย

เครดิตรูปภาพ

www.verywellfamily.com health.ucdavis.edu lovevery.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)