ทารกแรกเกิด -1 ปี ควรนอนท่าไหนถึงจะดี หลับสบายไม่งอแง และปลอดภัย

บทความนี้ขอแนะนำ “ทารกแรกเกิด -1 ปี ควรนอนท่าไหนถึงจะดี หลับสบายไม่งอแง และปลอดภัย” จะให้ลูกนอนคว่ำหรือนอนหงายดีนะ  เรื่อง ท่านอนลูก นั้นเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนต้องขบคิด เพราะท่านอนแต่ละท่า ต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่ต่างกัน มาดูกันดีกว่าว่า ท่านอนแบบไหน จึงจะดีต่อลูกของคุณมากที่สุด ทำให้ลูกนอนหลับสบายที่สุด ไม่สะดุ้งตื่นขึ้นมางอแงง่าย ๆ

ท่านอนลูก ที่เหมาะสมแต่ละช่วงอายุ
Baby Sleeping on Side – When Is It Safe? | Pampers UK

– แรกเกิด – 3 เดือน : นอนหงายและนอนตะแคง

โดยเฉพาะในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกที่กระดูกคอและกระดูกสันหลังของลูกยังไม่แข็งแรงพอ คุณพ่อคุณแม่ควรจัดศีรษะให้ลูกนอนสลับด้านบ่อยๆ ระหว่างหลับ เพราะจะทำให้ศีรษะทุยสวย และช่วยให้ลูกมองเห็นสภาพแวดล้อมได้ง่าย ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการชองลูกได้ ไม่ควรให้นอนคว่ำ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในขณะนอนหลับจากภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรืออาการหลับไม่ตื่นในเด็กทารก

Baby keeps sleeping face down: What to know - Newborn Baby

– 4 – 6 เดือน : นอนคว่ำ

เมื่อกระดูกช่วงคอของทารกเริ่มแข็งแรง และขยับได้บ้าง เช่น ยกคอได้เล็กน้อย ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่อาจปรับท่านอนตามวิธีจับลูกนอนคว่ำ วางแขนและขาให้อยู่ในท่าสบายตัว เอียงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้ใบหน้าและจมูกไม่จมไปกับหมอน แนะนำว่า หมอนควรแบนๆ ไม่ฟูและนิ่มมาก เพราะอาจจะหายใจไม่ออกได้ ยังช่วยลดการนอนสะดุ้งหรือผวาตื่นได้อีกด้วย ข้อดีของการนอนท่านี้คือ ทำให้นอนหลับสนิทไม่สะดุ้งตื่นง่าย แต่ด้วยความที่ยังคงมีความเสี่ยงเกิดอันตรายอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลช่วงนอนหลับเรื่อย ๆ

Babies Sleeping On The Side: What Happens If They Do & How To Stop It

– 7-12 เดือน : นอนได้ทุกท่า

ทารกวัยนี้สามารถนอนได้ทุกท่า เพราะร่างกายค่อนข้างแข็งแรง และสามารถขยับร่างกายพลิกตัวเองได้ เพียงแต่ต้องจัดที่นอนให้เรียบร้อย มีราวและซี่กันเด็กตก เบาะและที่นอนพอดีกับเตียงไม่มีช่องว่าง มุมเสาเรียบป้องกันเด็กนอนดิ้นไปกระแทก และจากขอบบนที่นอนถึงราวกันตกควรมีความสูงไม่ต่ำกว่า 65 ซม. โดยรวมแล้ว ท่านอนเด็กแรกเกิดในช่วงนี้ไม่ได้มีอะไรน่ากังวลมากนัก เพียงแต่ต้องเลือกที่นอนเด็กให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัย เพราะเด็กเริ่มเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

Things You Shouldn't Buy When You're Having a Baby

ข้อดี  ข้อเสียของท่านอนแต่ละท่า

– นอนคว่ำ

ข้อดี : ศีรษะจะโหนก ทุย ดูสวย ลูกจะหลับสนิท ไม่สะดุ้ง หรือผวาตื่น

ข้อเสีย : ทำให้เห็นหน้าและการหายใจของลูกขณะหลับไม่ชัดเจน เพิ่มความเสี่ยงของภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือโรคไหลตายในทารก โรคนี้มักพบในทารกอายุ 2-4 เดือน แต่ไม่มีสถิติการเสียชีวิตของทารกจากโรคนี้ในประเทศไทย

– นอนหงาย

ข้อดี : สังเกตการหายใจ หน้าตา ท่าทาง และลักษณะของลูกได้ชัดเจน ลดความเสี่ยงจากภาวะ SIDS ได้ ป้องกันการมีอะไรมาปิดใบหน้าของลูกได้ดีกว่า

ข้อเสีย : ลูกจะตื่นง่าย อาจทำให้ศีรษะแบบ

– นอนตะแคง

ข้อดี : สามารถสังเกตการหายใจ และใบหน้าของลูกได้ดีกว่าการนอนคว่ำ และรูปศีรษะนูนสวยกว่าการนอนหงาย

ข้อเสีย : ถ้านอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ก็อาจทำให้รูปศีรษะเบี้ยวได้เช่นกัน ความเสี่ยงต่อภาวะ SIDS ต่ำกว่าการนอนคว่ำ แต่ยังคงมีอยู่

Newborn Baby Girl Sleep First Days Of Life Stock Photo - Download Image Now  - Baby - Human Age, Babies Only, Hospital - iStock

ทารกนอนตะแคง ได้ไหม ท่านอนตะแคงทารกที่ถูกต้อง เป็นอย่างไร

ทารกสามารถนอนตะแคงได้ แต่ควรที่จะนอนตะแคงสลับกับการนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับการพัฒนากล้ามเนื้อคอที่ยังไม่แข็งแรง ทำได้เพียงมองซ้ายขวา และฝึกให้ทารกสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัว โดยท่านอนตะแคงที่ถูกต้องควรจับลูกนอนสลับซ้ายขวาไปมา และควรมีหมอนข้างให้ทารกกอดเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกหน้าคว่ำ อีกทั้งการนอนตะแคงข้างซ้ายขวาจะทำให้ทารกมีหัวที่สวยทุย

ท่านอนเด็กทารก กับโรคไหลตายในทารก

โรคไหลตายในทารกเป็นภัยเงียบที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นการเสียชีวิตอย่างกะทันหันและไม่ทันคาดคิดของเด็กทารกที่มีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่ง SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) ภาวะไหลตายในเด็กทารก หรือเรียกอีกชื่อ “Crib Death” การเสียชีวิตขณะนอนเปล มักจะเกิดขึ้นขณะที่ทารกกำลังนอนหลับและนอนบนเปล

ทารกที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก หรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ ไม่ว่ากำลังหลับหรือตื่นอยู่ก็ตาม สาเหตุมักเกิดขึ้นขณะทารกนอนหลับเนื่องจากมีการปิดกั้นระบบทางเดินหายใจของทารก ซึ่งการที่ทารกนอนคว่ำก็มีส่วนให้เกิดภาวะนี้ ดังนั้น วิธีป้องกันหรือลดความเสี่ยงคุณพ่อคุณแม่ควรจัดท่านอนให้ถูกต้อง ด้วยการให้ลูกนอนในท่าทางที่นอนหงายอยู่เสมอ และคุณแม่ไม่ควรที่จะสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดก็ตาม

การนอนหลับ ดีต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยยังไง

ขณะที่ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่กำลังนอนหลับ สมองก็ยังมีการพัฒนาอย่างตลอดเวลา อย่างต่อเนื่องเพราะในช่วงที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับเป็นช่วงที่สมองกำลังสร้างและเชื่อมต่อเซลล์สมองนับล้าน ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และความทรงจำที่ดีของลูก เพื่อให้ลูกได้เริ่มทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและตลอดทั้งวัน

บทส่งท้าย

เพราะท่านอนนั้นสัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านร่างกายของลูก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม ควรให้ลูกนอนในท่าที่เหมาะกับวัยของเขา เพื่อให้สัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านร่างกาย และเพื่อความปลอดภัยของตัวลูกน้อยเองด้วย และที่สำคัญควรสร้างสภาพแวดล้อมห้องนอนให้สะอาดอากาศถ่ายเทสะดวก

เครดิตรูปภาพ pampers.co.uk newbornbaby.com.au www.babysensemonitors.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (193) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (183) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)