ทารกนอนสะดุ้ง นอนผวา เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ยังไงบ้าง

บทความนี้ขอแนะนำ “ทารกนอนสะดุ้ง นอนผวา เกิดจากอะไร มีวิธีแก้ยังไงบ้าง” บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่มักจะประสบปัญหาทารกนอนสะดุ้ง โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดหรือในช่วงขวบปีแรก เพราะเมื่อสังเกตการนอนหลับของลูก บางครั้งเจ้าตัวเล็กก็อาจมีอาการกระตุก หรือทารกนอนผวา สะดุ้งตื่นขึ้นมา บางคนอาจมีอาการร้องไห้ร่วมด้วย ทำให้นอนหลับไม่สนิท ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อลูกน้อยไหม สาเหตุเกิดจากอะไร บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน

8 signs that your baby is hungry | Vinmec

ทารกนอนสะดุ้ง เกิดจากอะไร

– ระบบประสาทของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ระบบการส่งสัญญาณต่าง ๆ ของสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำได้ไม่เต็มที่ จนมีการตอบสนองเป็นการกระตุกให้เห็น 

– อาจเป็นเพียงการเคลื่อนไหวของทารกในตอนนอน ขณะทารกนอนหลับอาจจะมีการเคลื่อนไหวที่แปลกตาไปบ้าง แต่นั่นก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะบ่อยครั้งเวลาที่ผู้ใหญ่นอนหลับ ก็มักจะมีการเปลี่ยนท่าทางต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน 

– ปฏิกิริยาตอบสนองขณะนอนหลับ บางครั้งอาจมีแสงสว่างส่อง หรือมีเสียงดังเกิดขึ้น กระบวนการตอบสนองทางร่างกายของทารกจึงอาจแสดงออกมาเป็นการกระตุกได้ 

– ได้รับคาเฟอีนจากน้ำนมแม่ คุณแม่ให้นมลูกที่กินอาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง บางครั้งอาจสะสมจนสามารถส่งต่อไปยังลูกผ่านนมแม่ได้ คาเฟอีนจะมีผลต่อการนอนหลับของทารก และยังอาจส่งผลให้ทารกมีอาการนอนสะดุ้งได้ด้วย 

– ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการกระตุก หรืออาการสั่น อาจเป็นหนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ของอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าทารกอาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด

– โซเดียมต่ำ การขาดโซเดียม สามารถส่งผลให้ร่างกายมีอาการกระตุกได้ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากคุณแม่กินอาหารที่มีโซเดียมน้อย ทำให้ทารกมีโซเดียมในร่างกายไม่เพียงพอ 

Gassy Baby Issues: Signs, Symptoms, and Home Remedies

ลูกนอนสะดุ้ง ผิดปกติหรือไม่

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการกระตุกขณะนอนหลับ หรือพบว่าลูกนอนผวา ไม่ต้องตกใจไป นั่นเป็นอาการปกติของร่างกายที่มีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่กระทบกับทารก เช่น แสง เสียง ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ หรือพัฒนาการ

ท่านอนที่เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด หลับสบาย ไม่ผวา

        เด็กทารกวัยแรกเกิดมีช่วงคอที่ยังไม่แข็งแรงพอ ทำให้ชันคอได้ไม่ดีนัก การเคลื่อนไหวของคอจึงเป็นลักษณะหันไปมาซ้าย-ขวา ท่านอนที่เหมาะสม ควรจัดให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคง เพื่อให้ลูกสามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ง่ายขึ้น แต่ที่สำคัญไม่ควรให้ลูกนอนคว่ำโดยที่ไม่มีคนดูแลใกล้ชิด เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายที่เรียกว่า ภาวะ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)       ที่อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้นั่นเอง

Trẻ sơ sinh nằm nôi khó chịu và quấy khóc, nguyên nhân là gì? - bau.vn

วิธีลด และป้องกันอาการนอนสะดุ้งในเด็กแรกเกิด

1.ลดการกระตุ้นทางเสียง เสียงที่ดังเกินไป การนอนในห้องที่เงียบสงบ จะช่วยได้ หรือห้องที่เงียบเกินไปก็จะไม่เป็นผลดีเท่าไหร่ อาจจะช่วยให้ลูกน้อยหลับได้ง่ายกว่าโดยการเพิ่มเสียงหัวใจแม่ เสียงเพลงกล่อมนอน พวกเสียง White Noise ก็จะช่วยลดอาการสะดุ้ง ทำให้นอนหลับได้สนิท และเข้าสู่ภาวะหลับสนิทได้ไวยิ่งขึ้น

2.ลดการกระตุ้นทางแสง แสงสว่างจ้าทำให้ลูกน้อยนอนสะดุ้งได้ง่าย เพราะตอนเขาอยู่ในครรภ์มารดา เขาอยู่ในพื้นที่มืด พอออกมาเจอแสงสว่าง ทำให้เขาสะดุ้งได้ง่าย ผวาได้ง่ายนั่นเอง การทำห้องนอนให้มืด หรือลดแสงสว่างในตอนกลางวันลงได้ ก็จะช่วยได้เยอะเลย

3.การใช้หมอนกันสะดุ้ง เรื่องนี้ก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน หมอนกันสะดุ้ง คือหมอนที่มีน้ำหนักพอเหมาะกับตัวลูกน้อย วางทับตรงหน้าอก ทำให้เขานั้นนอนได้สนิทขึ้นนั่นเอง

4.การใช้ผ้าห่อตัวกันสะดุ้ง ผ้าห่อตัวกันสะดุ้งในยุคนี้ก็มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าห่อตัวแบบห่อเอง หรือผ้าห่อตัวแบบสำเร็จ ก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความสะดวกสบายของคุณแม่แต่ละบ้าน

5.ถุงนอนกันสะดุ้ง เหล่าถุงนอนกันสะดุ้งนั้นเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ช่วยได้ นอกจากจะให้ความอบอุ่นแล้ว ยังช่วยลดอาการสะดุ้งได้อีกด้วย แถมยังใช้ง่าย เพราะเขาทำมาแบบถุงนอนแล้ว ใช้งานง่าย

6.การห่อตัว การห่อตัวด้วยผ้าห่อตัว ผ้าห่ม ผ้าอ้อม หรือผ้าชนิดใด ๆ ก็ตาม ก็สามารถลดอาการนอนสะดุ้งได้เช่นเดียวกัน นอนด้วยการห่อตัวทำให้ลดอาการผวาลงได้ไม่น้อยเลยทีเดียว เด็กจะนอน คล้าย ๆ นอนในครรภ์แม่

nguyên nhân bé khóc khi bú mẹ

อาการลูกนอนผวา สะดุ้งลักษณะนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจจะลองปรึกษาคุณหมอ

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการนอนผวากระตุก และมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

– หลังจากนอนผวากระตุกแล้ว ทารกไม่ยอมตื่น ไม่เคลื่อนไหว หรือไม่มีอาการตอบสนองใด ๆ กลับมา 

– หลังอาการนอนสะดุ้ง พบว่าทารกร้องไห้อย่างอ่อนแรง หรือมีเสียงร้องที่เบาลงกว่าปกติ 

– หลังอาการนอนสะดุ้ง ทารกมีอาการครางหรือกรน 

– หลังอาการนอนสะดุ้ง ผิวของทารกมีลักษณะเป็นสีฟ้า หรือสีเทา สัญญาณนี้บ่งบอกว่าทารกกำลังมีปัญหาการหายใจ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที 

บทส่งท้าย

  โดยทั่วไปแล้ว อาการทารกนอนสะดุ้ง นอนผวา ไม่ได้เป็นสัญญาณของปัญหาที่ร้ายแรง แต่ก็ควรดูแลป้องกันเอาไว้ เพื่อให้ลูกน้อยนอนหลับสนิทและรู้สึกอบอุ่นใจ แต่อาการเหล่านี้ไม่นานก็จะหายไปตามอายุของน้องนั่นเอง ไม่ต้องเป็นกังวล

เครดิตรูปภาพ www.vinmec.com immunifyme.com hellobacsi.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (189) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (180) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)