บทความนี้ขอแนะนำ “ครีมอาบน้ำสำหรับเด็กควรใช้แบบไหนดี และจำเป็นสำหรับลูกน้อยหรือเปล่า” เมื่อพูดถึงครีมอาบน้ำทารกหรือเด็กแรกเกิด เราย่อมนึกถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำความสะอาดได้อย่างอ่อนโยนกันใช่ไหมครับ แต่ปัจจุบันครีมอาบน้ำสำหรับเด็กนี้ไม่เพียงแค่ทำความสะอาดได้อย่างเดียวแต่ยังสระผมได้ ช่วยบำรุงผิว และทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ด้วย แต่จะเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมกับลูกน้อยกันนะ ในบทความนี้มีมาฝากกัน
ครีมอาบน้ำสำหรับเด็ก คืออะไร
ครีมอาบน้ำ หรือ สบู่เหลว เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวกายที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อ หลายกลิ่น หลายสูตรมาก ๆ บรรจุขวดทำให้สะดวกและง่ายต่อการใช้งานเพียงแค่กดปั๊มเนื้อครีมก็จะไหลออกมา เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนต้องใส่ใจและพิถีพิถันในการเลือกเป็นพิเศษ เพราะผิวของลูกน้อยนั้นมีความบอบบาง และอ่อนโยนมากๆ ดังนั้นผลิตภัณฑ์จึงต้องเลือกที่มีความอ่อนโยนต่อผิวลูกน้อย ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง หรือ แพ้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยดูแลผิวของลูกน้อยให้อ่อนโยน พร้อมทั้งยังชำระสิ่งสกปรกแบคทีเรียต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ทำไมต้องใช้ครีมอาบน้ำเด็ก
หลายท่านอาจจะคิดว่าเด็กแทบไม่ได้สัมผัสมลภาวะหรือฝุ่นควันอะไรเลย อยู่แต่ในบ้าน แล้วจำเป็นต้องใช้สบู่อาบน้ำเหรอ ที่จริงแล้วน้ำไม่เพียงพอต่อการอาบน้ำทารก เพราะไม่สามารถทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ละลายในไขมันที่อยู่ใต้ผ้าอ้อมและเสื้อผ้าได้ ซึ่งถ้าสิ่งสกปรกตกค้างอยู่อาจทำให้ผิวถูกทำร้าย และการใช้น้ำอย่างเดียวอาจจะทำให้ผิวลูกน้อยกระด้างเพราะมีคลอรีน ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น จนอาจทำให้ผิวระคายเคืองหรือเกิดผื่นแดงได้ เราจึงต้องใช้ครีมอาบน้ำเด็กที่อ่อนโยนเพื่อทำความสะอาดทารกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการเลือกครีมอาบน้ำเด็กให้เหมาะกับผิวลูก
1.ปราศจากน้ำหอม และแอลกอฮอล์
แม้ว่ากลิ่นในสบู่อาบน้ำจะเป็นสิ่งที่เด็ก ๆ ชื่นชอบ แต่ก็เป็นส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวของเด็กได้เช่นกัน หรืออาจทำให้ผิวแห้งด้วย ดังนั้นควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมและแอลกอฮอล์
2.ส่วนประกอบหลักจากธรรมชาติ
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกตก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เพราะหากในครีมอาบน้ำมีส่วนผสมจากธรรมชาติเป็นหลัก จะสามารถช่วยให้คุณแม่มั่นใจได้ว่าอ่อนโยนต่อผิวและดูแลผิวเด็กได้ดี ทั้งยังมีโอกาสเแพ้หรือระคายเคืองน้อยอีกด้วย
3.เลือกสบู่สำหรับเด็กโดยเฉพาะ
ผิวที่บอบบางของเด็กเสี่ยงต่อการแพ้และระคายเคืองได้ง่าย ดังนั้นการทำความสะอาดผิวเด็กจึงควรเลือกสูตรสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะจะอ่อนโยนต่อผิวและดวงตาของลูกน้อย
4.ผ่านการทดสอบไฮโปอัลเลอร์เจนิก
การทดสอบไฮโปอัลเลอร์เจนิกภายใต้การควบคุมของแพทย์ผิวหนังหมายความว่า ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ใช้แล้วไม่แพ้ ดังนั้นถ้ามีสัญลักษณ์หรือข้อความนี้ก็สามารถการันตีได้เลยว่าปลอดภัยต่อลูกน้อยอย่างแน่นอน
5.เลือกผลิตภัณฑ์ Head to Toe หรือ Top to toe
ถ้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ Head to Toe หรือ Top to Toe ที่เป็นครีมสำหรับอาบน้ำและสระผมเด็กได้ ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบว่า ไม่ก่อให้เกิดการแพ้หรือต้องไม่ระคายเคืองต่อหนังศีรษะ ผิวหนัง และเยื่อบุตาของลูก เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย เพราะผิวของเด็กยังบอบบางมาก ๆ และถ้าสามารถใช้ด้วยกันได้ในขวดเดียว ก็จะสะดวกต่อคุณแม่มาก ๆ ด้วยเช่นกัน
6.เลือกจากค่า pH
ค่า pH หมายถึงความเป็นกรด – ด่าง โดยสบู่อาบน้ำเด็กควรมีค่า pH อ่อน หรือ 5.5 ที่เป็นค่ากลาง ข้อนี้สำคัญมากก็เพราะ ผิวของเด็กที่เกิดมา ค่ากรดด่างจะเป็นกลาง ดังนั้นเราจึงควรเลือกแชมพูที่ใกล้เคียงกับค่า pH ของผิวเด็ก เพื่อป้องกันการระคายเคืองและผิวแห้งกร้านนั่นเอง
สารที่ควรหลีกเลี่ยงในครีมอาบน้ำเด็ก
ครีมอาบน้ำเด็ก ที่เป็นออร์แกนิคถือว่าดีที่สุดสำหรับเด็ก เพราะเป็นส่วนประกอบจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีที่อันตราย โดยการเลือกซื้อสบู่เหลวเด็กควรหลีกเลี่ยงสารที่อาจก่อความระคายเคืองต่อผิวเด็ก ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1.สาร SLS เป็นสารที่ทำให้เกิดฟอง แต่อาจระคายเคืองต่อผิวเด็กได้
2.ซิลิโคน มักเป็นส่วนผสมของแชมพู ถ้าจะเลือกสบู่แบบที่เป็นแชมพูด้วย ต้องหลีกเลี่ยงสารนี้ เพราะแม้จะช่วยเคลือบผมให้เรียบลื่น แต่ล้างออกยากและอาจสะสมในร่างกายได้
3.พาราเบน เป็นสารกันเสียชนิดหนึ่งที่สามารถใส่ได้ในสบู่หรือเครื่องสำอาง หากใส่ในปริมาณที่อยู่ในการควบคุม แต่สำหรับสบู่ทารกควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจสะสมในร่างกายและส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก
4.กลูเตน มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่แพ้กลูเตน ซึ่งจะทำให้ผิวเกิดผื่นแดง รวมถึงส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก
แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อผิวของเด็กๆ และทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน
บทส่งท้าย
ในปัจจุบันครีมอาบน้ำสำหรับเด็ก มีหลายแบบ หลายยี่ห้อ ขวดของครีมอาบน้ำก็มีลวดลายการ์ตูนที่สามารถเรียกความสนใจจากลูกน้อยได้ด้วย แต่สิ่งที่คุณแม่ต้องคำนึงอันดับแรกก็คือความปลอดภัยต่อลูกน้อย ว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อมานั้นจะไม่ส่งผลอันตรายต่อผิวของลูกน้อย
เครดิตรูปภาพ www.iconfinder.com www.pinterest.co www.babybathmoments.com