แผลผ่าคลอด กี่วันหาย ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี 

บทความนี้ขอแนะนำ “แผลผ่าคลอด กี่วันหาย ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไรให้ถูกวิธี” ในปัจจุบัน การผ่าคลอดได้เข้ามาเป็นอีกวิธีหนึ่งในการคลอดลูก คุณแม่หลายคนที่ได้รับการประเมินว่าควรผ่าคลอด จะต้องเตรียมความพร้อมร่างกายทั้งก่อน และหลังการผ่า โดยเฉพาะการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ซึ่งมีข้อกำหนด และข้อหลีกเลี่ยงในการฟื้นตัว คุณแม่จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และความเข้าใจ เพื่อดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

C-section scar types and recovery tips

แผลผ่าคลอดลักษณะเป็นอย่างไร

คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด บาดแผลผ่าคลอดจะมีรูปร่างและลักษณะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น วิธีและวัสดุที่แพทย์ใช้เย็บแผล โดยทั่วไปการผ่าตัดคลอดที่ผ่านการศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลยาว 4-6 นิ้ว ซึ่งจะเป็นแผลลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน หรือแผลอีกแบบคือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับตอนผ่าคลอด และผิวชั้นนอกของแผลผ่าคลอดนี้จะเริ่มสมานกันหลังจากสัปดาห์แรกของการผ่าได้ผ่านไป จากนั้นแผลผ่าคลอดจึงปิดจะสนิท และเปลี่ยนลักษณะเป็นสีแดงอมม่วงราว 6 เดือน ก่อนจะจางเป็นสีขาวเรียบไปเรื่อย ๆ จนหายดี 

แผลผ่าคลอดที่เย็บไว้จะหายดีเมื่อไร

แผลผ่าคลอดกี่วันหาย แผลผ่าคลอด เกิดจากการผ่าตัดคลอดลูก เกิดจากการที่แพทย์ทำการผ่าตัดคลอดลูกให้คุณแม่ทางหน้าท้อง เพื่อนำทารกออกมาทางแผลผ่าตัดบริเวณด้านหน้ามดลูก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หากคุณแม่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้การผ่าตัดคลอดลูก คือการเปิดเยื่อบุช่องท้องบริเวณมดลูก แล้วทำการคลอดโดยปกติอย่างปลอดภัย สำหรับแผลผ่าตัดหลังคลอด โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 – 12 สัปดาห์ เพราะขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บของแต่ละท่าน ที่สำคัญคุณแม่ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา

C-section Recovery and Diastasis Recti After Pregnancy - Live Core Strong

วิธีการดูแลแผลผ่าคลอดให้หายเร็วและบรรเทาเจ็บแผล

1.หลังการผ่าคลอด แพทย์จะปิดพลาสเตอร์กันน้ำมาให้จึงไม่จำเป็นต้องไปดูแลทำความสะอาดแผล เพียงแต่ให้สังเกตว่า แผลมีน้ำซึมออกมาหรือไม่ หากมีควรไปให้แพทย์ตรวจดูและเปลี่ยนพลาสเตอร์ใหม่ ห้ามเปิดดูเองเด็ดขาด

2.หลังคุณหมอตรวจแผลแล้วเรียบร้อยดี ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพลาสเตอร์อีกต่อไปเพราะแผลสามารถโดนน้ำได้แล้ว แต่ยังคงต้องรักษาความสะอาดของแผลให้ดี ดูแลแผลให้แห้งเสมอ

3.เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อรักษาสุขอนามัยโดยรวมให้สะอาดและช่วยลดการสะสมของเชื้อโรค

4.ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้งทุกครั้งก่อนเปลี่ยนผ้าอนามัย

5.หากมีอาการปวดแผลแนะนำให้ลองประคบเย็นด้วยน้ำแข็ง หรือเจลความเย็น ครั้งละไม่เกิน 2-3 นาที จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บและลดอาการบวมของแผลฝีเย็บได้ บางรายหากมีอาการปวดมาก แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ

How to Properly Take Care of Your C-Section Scar Postpartum | David Ghozland

6.พยายามเดินบ่อย ๆ ตั้งแต่วันแรกหลังออกจากห้องผ่าตัด เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน การเกิดพังผืดในช่องท้อง และควรเดินให้ตัวตรงที่สุด อย่าเดินตัวงอ

7.อย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก คุณแม่ต้องห้ามยกของหนักเด็ดขาด โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก เพราะอาจทำให้แผลฝีเย็บแยกได้

8.พยายามรับประทานอาหารที่เส้นใยอาหารสูงเพื่อป้องกันไม่ให้ท้องผูก จะได้ไม่เพิ่มความเจ็บปวดในการนั่งขับถ่าย และดื่มน้ำสะอาดมากๆ

พยายามรับประทานอาหารที่มีโปรตีน ผักใบเขียว ผลไม้ ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอ แผลสมานตัวติดกันเร็วขึ้น

9.พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นตัวเร็วขึ้น

10.แผลที่เย็บด้วยไหมละลาย ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ไฟด้วยการนั่งไม้กระดาน หรือสัมผัสความร้อนโดยตรง เพราะอาจทำให้ไหมละลายตัวเร็วกว่าปกติ

11.อาบน้ำช่วงแรกของการผ่าคลอด ให้ใช้การเช็ดตัวแทนอยู่ที่ประมาณ 7 วัน เพราะถ้าโดนน้ำจะทำให้แผลผ่าตัดอาจติดเชื้อและเกิดอักเสบ แต่หลังตัดไหมแล้ว วันถัดมาก็สามารถอาบน้ำได้ และควรปล่อยให้แผลลอกไปเอง อย่าแกะเกา ควรดูแลแผลผ่าคลอดให้สะอาดและแห้งเสมอ เพราะจะทำให้แผลหายช้า และถ้าพบว่าแผลเกิดการอักเสบ บวมแดง ดูผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

12.หลังแผลแห้งสนิทแล้ว แผลปิดแล้ว ถ้าพบว่าเริ่มมีรอยแผลเป็น ให้ใช้ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามิน E

อาการแบบนี้แผลเสี่ยงติดเชื้อ

ในระหว่างที่ดูแลแผลผ่าคลอดให้คอยสังเกตเป็นประจำ เพราะแผลผ่าตัดเป็นแผลสด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อักเสบ และปริได้ หากมีความผิดปกติต้องรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เช่น

– เจ็บแผลผ่าตัดมากขึ้น มีรอยแดง บวม ที่แผล มีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด

– ปวดท้องมาก

– มีไข้ขึ้นสูง

– ปัสสาวะแสบขัด

– น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดไหลชุ่ม ทั้งที่น้ำคาวปลาสีจางลงไปแล้ว

– ไอ หายใจลำบาก ปวดบวมที่ขา

บทส่งท้าย

หลังจากการผ่าคลอดแล้ว แม่ ๆ ควรดูแลสุขภาพร่างกายตั้งแต่วันแรก หมั่นขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ กลับมาทำงานได้ดีขึ้น ที่สำคัญ อย่าลืมสังเกตแผลผ่าคลอด สีของน้ำคาวปลา และความผิดปกติของร่างกาย เพื่อรีบรักษาอย่างทันท่วงที 

เครดิตรูปภาพ www.netdoctor.co.uk livecorestrong.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (173) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)