บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง เสียงดนตรีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ประโยชน์มากมายที่ไม่ควรมองข้าม ในคุณแม่ตั้งครรภ์ ร่างกายจะเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะต้องการการดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์มากกว่าปกติ ซึ่งการใช้ดนตรีเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกัน จะช่วยให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ผ่อนคลายความเครียดไม่น้อย ซึ่งจะมีประโยชน์มากแค่ไหนนั้นลองไปดูกันเลย
ดนตรีช่วยบรรเทาความเครียดในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างไร
1.ดนตรีช่วยทำให้คุณแม่มีความสุขและทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีอารมณ์ที่สดชื่น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการช่วยให้ลูกในครรภ์ได้รับสารอาหารและออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ นั่นจึงเป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์
2.ดนตรีช่วยปรับร่างกายให้แก่คุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ก็ควรเลือกใช้ดนตรีที่เหมาะสมกับการใช้ในการเคลื่อนไหว และการเคลื่อนไหวของคุณแม่ก็จะช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสู่การคลอดที่มีคุณภาพต่อไป
3.ดนตรีมีส่วนช่วยให้การหายใจและการเต้นของหัวใจคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ในระดับที่สม่ำเสมอ ทำให้มีความดันโลหิตสูบฉีดและการบีบตัวของกล้ามเนื้อสามารถทำงานประสานกันดี อีกทั้งยังเป็นการหลั่งฮอร์โมนเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุข มีผลต่อการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติโซนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดได้อีกด้วย
4.ดนตรีช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถตัดความกังวลและช่วยลดความเจ็บปวดได้ โดยเฉพาะความตึงเครียดที่เกิดจากการเจ็บครรภ์ในระหว่างรอคลอด และยังช่วยให้คุณแม่สามารถหายใจได้อย่างผ่อนคลายกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายไปตามจังหวะขณะที่มดลูกกำลังบีบตัว นั่นจึงส่งผลให้ลูกของคุณแม่ในครรภ์ได้รับออกซิเจนได้อย่างเต็มที่
5.ดนตรีช่วยปรับอารมณ์ของคุณแม่ให้มีความอ่อนโยน และยังช่วยทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกผ่อนคลาย แถมยังช่วยลดความเครียด ลดความกังวล และลดภาวะซึมเศร้าลงซึ่งเป็นอาการคนท้องที่มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้ ที่สำคัญดนตรียังช่วยสร้างบรรยากาศให้คุณแม่ได้หลีกห่างจากความวุ่นวาย และมีโลกส่วนตัวได้ตามที่ต้องการ
6.เป็นวิธีที่คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการในระบบการฟังของลูกน้อยในครรภ์ และยังช่วยให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาของคุณแม่มีการทำงานที่ประสานกันได้ดี
ดนตรีประเภทไหนเหมาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์
1.ท่วงทำนองเบาสบาย เช่น ดนตรีที่ประกอบไปด้วยเสียงธรรมชาติ เสียงนกร้อง เสียงน้ำไหล หรือเรียกง่ายๆ คือดนตรีแนว green music
2.ท่วงทำนองสดใสไพเราะ คือเมื่อเปิดฟังแล้วช่วยให้คุณแม่รู้สึกคึกคัก กระชุ่มกระชวย อาทิ เพลงช้าง หรือจิงเกิลเบล เป็นต้น
3.ระดับเสียงไม่สูง เหมาะสำหรับแม่ตั้งครรภ์ก็คือระดับเสียงที่ไม่สูงจนเกินไป และเสียงต้องต้องไม่ดังเกินควรด้วย เนื่องจากการฟังดนตรีที่มีเสียงสูงหรือดังกระหึ่ม จะส่งผลให้คุณแม่ได้รับการกระตุ้นมากกว่าการฟังดนตรีท่วงทำนองเรียบ รื่น ส่งผลให้เกิดความเครียดได้โดยไม่รู้ตัว
4.เลือกเพลงที่มีจังหวะปานกลาง คือประมาณ 60 บีทต่อนาที (หรือความถี่ของจังหวะการเคาะมือ 60 ครั้งต่อนาที) ซึ่งคือฟังเพลงช้านั่นเอง เช่น เพลงไทยเดิม เขมรไทรโยก สร้อยแสงแดง ดอกบัวตอง ฯลฯ จังหวะที่ช้านี้จะช่วยให้ฟังแล้วสบาย ผ่อนคลาย เกิดความสงบ ซึ่งส่งผลดีต่ออารมณ์และสมองลูกในครรภ์ด้วย
5.ช่วงเวลาที่ฟัง ช่วงเวลาในการฟังนั้น ก็คือฟังในช่วงที่ใจรู้สึกอยากฟังจริงๆ ไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด ๆ คุณแม่ก็เปิดคลอไปพร้อมกับกิจกรรมได้เลย หรือจะให้ดีหามุมสงบ อากาศถ่ายเท เย็นโล่งสบาย เอนหลัง หลับตา แล้วปล่อยใจไปกับเสียงดนตรีก็พอ
วิธีการฟังเพลงอย่างไรให้สมองลูกพัฒนาตั้งแต่ในครรภ์
– เพลงสำหรับทารกในครรภ์
ควรเป็นเพลงฟังสบาย จะเป็นเพลงช้าหรือเร็วก็ได้ หรือแม้แต่เพลงร็อกก็ฟังได้ และเน้นให้ลูกได้ยินเสียงและรู้สึกถึงจังหวะเพื่อไปกระตุ้นพัฒนาการทางการได้ยิน การเคลื่อนไหวในท้อง และความรู้สึกผ่อนคลายในท้องแม่เป็นหลัก
– ควรใช้หูฟังแบบครอบศีรษะ หรือหูฟังเพลงสำหรับทารกในครรภ์
เพราะเสียงดนตรีและจังหวะของดนตรีจะดังไปถึงลูกในท้องได้ดี หูฟังชนิดใส่ในรูหูจะมีความดังไม่มากพอให้ลูกในท้องได้ยินเสียงเพลง
– ไม่ควรเปิดเสียงดนตรีดังเกินไป
เพราะลูกในท้องอาจตกใจและดิ้นแรงกว่าปกติได้ ระดับเสียงที่พอดีอาจวัดจากคุณแม่ลองใส่หูฟังฟังเองก่อน แล้วปรับความดังในระดับที่เหมาะสม
– คุณแม่สามารถให้ลูกในท้องฟังดนตรีได้ ตั้งแต่รู้ว่าท้อง
ทำให้แม่เกิดความสบายใจ ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ของทารกต่อไป
– คุณแม่ควรเปิดเพลงให้ทารกฟังในช่วงบ่าย
เพราะช่วงเวลาที่ที่ทารกตื่นตัวดีจะเป็นช่วงบ่ายเป็นต้นไป ควรใช้เวลาในการฟังเพลงประมาณ 1 ชั่วโมง/วัน จะส่งผลต่อการพัฒนาสมองและพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของทารกในครรภ์ได้อย่างดี
บทส่งท้าย
คุณแม่จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของการให้ทารกได้ฟังดนตรีตั้งแต่ในครรภ์ ดีต่อพัฒนาการสมอง และ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ดังนั้น คุณแม่ห้ามพลาดโอกาสสำคัญที่จะส่งเสริมพัฒนาการลูกตั้งแต่ในท้องเลยนะ
เครดิตรูปภาพ