ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ

บทความนี้ขอแนะนำ “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ปัญหาที่คุณแม่ต้องเจอ” ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแล้ว ซึ่งหลังคลอดนั้นฮอร์โมนนั้นอาจจะยังไม่ปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ ซึ่งการดูแลเด็กแรกเกิดอาจทำให้คุณแม่รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างช่างท่วมท้น รับมือไม่ไหว เกิดความรู้สึกอารมณ์แปรปรวน เกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งอาการจะเป็นแบบไหนบ้างนั้นบทความมีข้อมูลมาฝากกัน

1,687 Postpartum Depression Stock Photos, Pictures & Royalty-Free Images -  iStock

ซึมเศร้าหลังคลอดคืออะไร

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อารมณ์ของแม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)

เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา

2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)

มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป บางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูก ระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้

3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)

มักเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก
Postnatal depression: symptoms, causes and treatments | Mum | Mother & Baby

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ?

1.มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เคยมีภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมาก่อนหน้านี้

2.มีปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว เป็นต้น

3.สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์

4.ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ต้องมีการดูแล หรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ

5.คุณแม่มีปัญหาในการให้นมบุตร ไม่มีน้ำนมให้ลูกทาน หรือมีน้ำนมน้อย ปัญหาเรื่องนี้อาจจะกลายเป็นสิ่งที่คุณแม่คิดโทษตัวเอง จนเกิดเป็นความเครียดสะสมได้

6.ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน เรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นทุกวัน อาจจะทำให้คุณแม่คิดไม่ตก จนกลายเป็นความเครียดและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

7.การตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อมหรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

Zuranolone Eases Core Symptoms of Postpartum Depression | MedPage Today

อาการอย่างไรถือว่าเป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด 

อาจมีอาการตั้งแต่ 2-3 วันแรกหลังคลอดบุตร จนถึง 1-2 สัปดาห์ โดยมักมีอาการ

– วิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน

– รู้สึกทุกอย่างท่วมท้น รำคาญใจ

– เศร้า ร้องไห้

– ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ

– ทานอะไรไม่ลง

Simple Hacks to Beat Postpartum Depression - HealthifyMe

2.ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด 

จะมีอาการรุนแรงและยาวนานกว่า ซึ่งอาจยาวนานถึงหนึ่งปี อาการมักแสดงในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด อาการที่มักพบได้แก่

– อารมณ์แปรปรวนรุนแรง วิตกกังวลอย่างหนัก หรือมีภาวะตื่นตระหนก

– รู้สึกไร้ค่า คิดว่าตนเองเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ

– ร้องไห้บ่อย

– ไม่รู้สึกผูกพันกับบุตร

– รู้สึกสิ้นหวัง คิดเรื่องการทำร้ายตัวเองและบุตร ความตาย และการฆ่าตัวตาย

– ไม่อยากอาหาร หรือทานอาหารมากผิดปกติ

– นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป

– อ่อนล้า หมดความสนใจหรือไม่มีความสุขกับเรื่องที่เคยชอบ

– แยกตัว ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัวหรือเพื่อน

– สับสน ไม่มีสมาธิ
അമ്മയല്ലേ, അങ്ങനെ ചെയ്യുമോ? കുറ്റപ്പെടുത്തും മുൻപ് അറിയണം ഈ  അവസ്ഥകളെക്കുറിച്ച് | Postpartum depression

3.ภาวะโรคจิตหลังคลอด

พบได้น้อย เป็นอาการที่รุนแรง อาการอาจเริ่มตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอด ควรได้รับการรักษาทันที หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ผู้ป่วยคิดหรือทำพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ อาการของภาวะโรคจิตหลังคลอด ได้แก่

– หมกมุ่นเรื่องบุตร

– พยายามทำร้ายตัวเองหรือบุตร

– หวาดระแวง งุนงงสับสน

– ประสาทหลอน หลงผิด ได้ยินเสี่ยงแว่ว

– การนอนหลับผิดปกติ

– กระตือรือร้น มีพลังทำสิ่งต่าง ๆ มากผิดปกติ ภาวะกายใจไม่สงบ

What Men Should Know About Postpartum Depression | Trogolo Obstetrics and  Gynecology – OBGYN Specialist

การรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

1.การทานอาหารที่มีประโยชน์

2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพแจ่มใสขึ้น

3.หาเวลาพักระหว่างวัน หากในช่วงที่ลูกนอนหลับ ก็หากิจกรรมที่ตัวเองชอบทำ เพื่อให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น

4.ให้คุณพ่อหรือคนใกล้ชิดช่วยดูแลลูก ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกน้อยบ้าง คุณแม่จะได้รู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยว 

5.ระบายความรู้สึกให้คนใกล้ชิดฟัง การได้เล่าความทุกข์ ความอึดอัดในใจให้คนอื่นฟังบ้าง จะช่วยให้คุณแม่อารมณ์ดีมากขึ้น

6.มีเวลาให้กับตัวเองบ้าง หาเวลาออกไปมีความสุขนอกบ้าน หรือพยายามทำให้ตัวเองรู่สึกสบายและมีความสุขที่สุด

7.ลดการรับข่าวสารที่ชวนให้เครียด เพื่อลดความกดดันและความกังวลในตัวเอง

8.ปรึกษาแพทย์

Postpartum depression | Office on Women's Health

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ควรพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการ หรือสงสัยว่ามีอาการของอารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือภาวะโรคจิตหลังคลอด  ไม่ควรผัดผ่อนหรือเลื่อนนัดแพทย์หากมีอาการดังต่อไปนี้

1.มีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันหรือดูแลบุตร

2.คิดเรื่องการทำร้ายตัวเองและบุตร

3.อาการไม่ดีขึ้นหลังผ่านไป 2 สัปดาห์

วิธีการรักษา

1.ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด 

ดีขึ้นได้ภายใน 2-3 วันหรือ 2-3 สัปดาห์ ระหว่างที่มีอาการผู้ป่วยควรหาเวลาพักผ่อนเมื่อทำได้ ขอความช่วยเหลือจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ เพื่อจะได้ไม่รู้สึกว่ากำลังเผชิญสิ่งนี้อยู่เพียงลำพัง ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดใด ๆ เพราะจะทำให้อาการแย่ลง

2.ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด สามารถรักษาด้วย

จิตบำบัด การได้พูดคุยกับแพทย์หรือนักวิชาการสุขภาพจิตจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ระบายผ่อนคลายความวิตกกังวล และร่วมกันหาวิธีเพื่อรับมือกับสถานการณ์และอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสม

การใช้ยา ส่วนใหญ่แล้วสามารถรับประทานยาต้านเศร้าในช่วงให้นมบุตรได้ หากมีความกังวล ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของยาก่อนใช้

3.ภาวะโรคจิตหลังคลอด 

ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทันทีเมื่อมีอาการของภาวะโรคจิตหลังคลอด

การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า หากอาการไม่ตอบสนองต่อยาหรือการรักษาอื่น ๆ แพทย์อาจแนะนำให้ทำ การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า ซึ่งเป็นการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านสมอง เพื่อปรับเปลี่ยนสารเคมีในสมอง

การใช้ยา แพทย์จะจ่ายยาต้านอาการทางจิต ยาควบคุมอารมณ์ และยาเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) ซึ่งเป็นกลุ่มของยานอนหลับ เพื่อควบคุมอาการ แต่ยาบางตัวอาจไม่เหมาะหากกำลังให้นมบุตร

บทส่งท้าย

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดนั้นมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่รวดเร็วในช่วงหลังจากคลอดลูก ทำให้คุณแม่หลายท่านต้องพบเจอกับภาวะซึมเศร้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นคุณพ่อ และคนในครอบครัว ต้องคอยดูแลคุณแม่ และคอยสังเกตอาการของคุณแม่ด้วย อย่าปล่อยให้คุณแม่ต้องคิดว่าตัวเองอยู่เพียงลำพัง และยาดีอีกตัวที่จะช่วยรักษาและเยียวยาภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ก็คือ  “ครอบครัว”  เพราะครอบครัวคือกำลังใจสำคัญที่จะทำให้คุณแม่หายจากอาการซึมเศร้าได้มากที่สุด แต่ถ้าคุณแม่อาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบพาคุณแม่เข้ารับการรักษากับแพทย์เพื่อตรวจประเมินอีกครั้ง และจะได้รักษาได้อย่างรวดเร็ว

เครดิตรูปภาพ www.istockphoto.com www.motherandbaby.co.uk www.medpagetoday.com

credit : ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (181) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)