น้ำคร่ำ คืออะไร มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อย่างไร

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง น้ำคร่ำ คืออะไร มีหน้าที่สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์อย่างไร น้ำคร่ำ คืออะไร มีหน้าที่ มีประโยชน์กับทารกในครรภ์หรือเปล่า และระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองกำลังมีอาการของน้ำคร่ำรั่ว หรือน้ำคร่ำแตก ต้องเช็กอย่างไรหรือมีสัญญานเตือนแบบไหน ไปทำความรู้จักน้ำคร่ำกัน

น้ำคร่ำ คืออะไร

น้ำคร่ำ (Amniotic fluid) เริ่มมีขึ้นมาพร้อม ๆ กับการตั้งครรภ์ของคุณแม่ น้ำคร่ำในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสแรกจะถูกสร้างขึ้นมาจากถุงแอมเนี่ยนหรือถุงการตั้งครรภ์ และเมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 2 เป็นต้นไป น้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะของทารกในครรภ์ ส่วนประกอบในน้ำคร่ำจะมีทั้งสารโซเดียม คลอไรด์ และเหล็ก น้ำคร่ำที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละวันจะมีปริมาณอยู่ที่ 700-900 ซีซี

น้ำคร่ำ สีอะไร

โดยปกติแล้วน้ำคร่ำนั้นจะเป็นสีเหลืองใส หรือสีใส แต่ในบางครั้งจะพบว่าภายในน้ำคร่ำนั้นจะถูกปนไปด้วยของเหลวที่มีลักษณะเป็นสีเขียว หรือสีน้ำตาล ซึ่งนั่นคือการขับถ่ายครั้งแรกของทารกในครรภ์ที่มีการถ่ายของเสียออกมาครั้งแรก ที่เรียกว่า meconium แต่การทำงานของลำไส้ครั้งแรกของทารกจะเกิดขึ้นหลังจากการคลอดแล้ว หากทารกได้มีการขับถ่ายครั้งแรกภายในครรภ์แล้ว จะทำให้ทารกได้รับของเสียจากร่างกายของตนเองผ่านเข้าสู่ปอดโดยน้ำคร่ำอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการหายใจที่รุนแรง หรือที่เรียกว่า การสำลักเมโคเนียม โดยเฉพาะของเหลวที่มีความหนืดหรือมีความเข้มข้นมาก

หน้าที่ของน้ำคร่ำคืออะไร

ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ลูกน้อยของคุณก็จะเจริญเติบโตอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำ ภายในมดลูกของคุณ โดยถุงน้ำคร่ำนั้นจะเริ่มก่อตัวในช่วงประมาณ 12 วันหลังจากที่คุณตั้งครรภ์ ซึ่งน้ำคร่ำมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

– ช่วยปกป้อง และห่อหุ้มทารกในครรภ์ โดยน้ำที่อยู่ภายในจะช่วยลดแรงกระแทกจากภายนอก ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนเบาะ หรือโช้คอัพนั่นเอง

– รักษาอุณหภูมิบริเวณรอบ ๆ ตัวทารกให้คงที่ และทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา

– ช่วยให้ปอดของทารกเติบโต และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากทารกที่อยู่ในครรภ์นั้นจะหายใจผ่านของเหลว หรือน้ำคร่ำนั่นเอง

– ช่วยให้ระบบย่อยอาหารของทารกพัฒนาการยิ่งขึ้น เพราะทารกจะกลืนของเหล่าเข้าไปขณะที่อยู่ในครรภ์

– ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกของพวกเขาพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายภายในน้ำคร่ำ

– ป้องกันไม่ให้สายสะดือถูกบีบรัด เพราะถ้าหากมีการบีบรัดอาจส่งผลถึงการขนส่งอาหารและออกซิเจนจากแม่ไปยังทารก และทำให้เกิดอันตรายได้

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ของถุงน้ำคร่ำ

ถุงน้ำคร่ำนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เหมือนเป็นตัวกำหนดชีวิตของทารกในครรภ์เลยก็ว่าได้ ถ้าหากเกิดความผิดปกติที่ถุงน้ำคร่ำ หรือตัวน้ำคร่ำเองก็อาจส่งผลต่อทารกได้ โดยส่วนใหญ่แล้วภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นเกี่ยวกับน้ำคร่ำมีดังต่อไปนี้

1.ภาวะน้ำคร่ำมากเกินไป  เป็นภาวะที่ไม่ต้องทำการรักษาหากอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่อาจจะต้องลดของเหลวในครรภ์ด้วยการเจาะน้ำคร่ำออก หรือให้ยาเพื่อลดปริมาณปัสสาวะที่ทารกผลิตออกมา

2.ภาวะน้ำคร่ำน้อยเกินไป  สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงไตรมาสใดก็ได้ของการตั้งครรภ์ แต่ไตรมาสที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือช่วงของ 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์นั้นจะพิการตั้งแต่กำเนิด สูญเสียทารกในครรภ์ หรือคลอดก่อนกำหนด

3.ภาวะเส้นเลือดอุดตันน้ำคร่ำ  เป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นกะทันหันและเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ สาเหตุของ AFE ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ปัจจุบันมีการประเมินว่า AFE เกิดขึ้นในหนึ่งกรณีสำหรับการตั้งครรภ์ทุก ๆ 8,000-30,000 ครั้ง

4.ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ  หรือการติดเชื้อภายในน้ำคร่ำ (IAI) มีอาการอักเสบเฉียบพลันของ amnion และ chorion ภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อหุ้มของทารกในครรภ์ น้ำคร่ำ และรกที่ไหลจากช่องคลอดเข้าสู่มดลูก

5.น้ำคร่ำรั่ว  เป็นอาการที่พบได้ยาก คุณแม่จะต้องคอยสังเกตดี ๆ ว่าเป็นน้ำคร่ำหรือว่าปัสสาวะ เพราะโอกาสที่ท้องจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาก็เป็นได้ แต่ถ้าหากน้ำที่ไหลออกมาจากช่องคลอดนั้นไม่มีกลิ่น และไม่มีสี อาจเป็นอาการของน้ำคร่ำรั่วได้ ควรพบแพทย์ในทันที

น้ำคร่ำแตก ช่วงใกล้คลอด จะมีอาการให้เห็นช่วงไหนได้บ้าง

น้ำคร่ำแตกคือหนึ่งในสัญญาณเตือนว่าคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงอาการใกล้คลอด คืออายุครรภ์ใน 4 สัปดาห์สุดท้าย (37-40 สัปดาห์) อาการถุงน้ำคร่ำแตกช่วงใกล้คลอด หรือเรียกว่าน้ำเดินจะมีน้ำใสไหลออกมาจากช่องคลอด พร้อมกับมดลูกเริ่มมีการหดรัดตัวเพื่อดันให้ศีรษะของทารกลงไปอยู่ตรงบริเวณอุ้งเชิงกราน น้ำคร่ำแตกมีความเป็นไปได้ 80% ว่าคุณแม่อาจต้องได้คลอดลูกใน 12 ชั่วโมง

น้ำคร่ำแตก อาการเป็นอย่างไร

น้ำคร่ำแตกจะมีน้ำคล้ายปัสสาวะแต่สีจะใสกว่า และไม่มีกลิ่นออกมาทางช่องคลอดของคุณแม่ ลักษณะการไหลของน้ำคร่ำที่แตก คือจะไหลเหมือนมีของหล่นโพละออกมาในทีเดียว หรือบางครั้งน้ำคร่ำแตกจะไหลออกมาช้า ๆ ก็ได้เช่นกัน

บทส่งท้าย

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของน้ำคร่ำนั้นมีดีต่อทารกและคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะช่วยปกป้องทารกในครรภ์ ช่วยรักษาอุณหภูมิให้ทารกอบอุ่น แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นกับน้ำคร่ำของเราได้อีก ยังไงก็ขอให้คุณแม่ระวังด้วยนะคะ ถ้าหากรู้สึกผิดปกติก็ขอให้รีบเข้าพบแพทย์ทันทีนะ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน

เครดิตรูปภาพ

www.imumz.com en.wikipedia.org www.asiaone.com torontek.com completewomenscare.net

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (189) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (180) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)