ท้องแฝดหรือเปล่า สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่อาจจะตั้งครรภ์ลูกแฝด

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ท้องแฝดหรือเปล่า สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณแม่อาจจะตั้งครรภ์ลูกแฝด การตั้งครรภ์แฝดถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคุณแม่ที่ต้องการมีลูกแฝด ซึ่งการที่คุณจะมีลูกแฝดได้นั้นอาจจะมีความเกี่ยวกับพันธุกรรมของคนในครอบครัว หากคุณแม่ท่านไหนที่กำลังสงสัยว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ไม่ บทความนี้มีวิธีสังเกตมาฝากกัน 

ครรภ์แฝด (Multifetal Pregnancy) 

ครรภ์แฝด  หมายถึง การตั้งครรภ์ที่เกิดทารกในครรภ์มากกว่า 1 คนขึ้นไป ได้แก่ แฝดคู่ (Twins) แฝดสาม (Triplets) แฝดสี่ (Quadruplets) เป็นต้น โดยครรภ์แฝดมีผลทำให้เพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ทั้งต่อมารดาและทารก โดยพบว่ายิ่งจำนวนทารกมากขึ้นโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนก็ยิ่งสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบอัตราการตายปริกำเนิดของแฝดสองและแฝดสาม พบว่าสูงกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยวเป็น 5 และ 10 เท่าตามลำดับ 

ครรภ์แฝดมีกี่ชนิด 

ครรภ์แฝดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ แฝดแท้และแฝดเทียม

1.แฝดแท้ เป็นฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องของพันธุกรรม เกิดหลังจากอสุจิผสมกับไข่แล้วเกิดการแบ่งตัว จึงทำให้เกิดเป็นแฝดเพศเดียวกันและมีหน้าตาเหมือนกัน (ในกรณีที่เป็นไข่ใบเดียวกัน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าตัวอ่อนจะเกิดการแบ่งตัวในขั้นตอนไหน)

2.แฝดเทียม แฝดคู่นี้จะเกิดจากไข่คนละฟองและอสุจิคนละตัวกัน ซึ่งเด็กที่เกิดมาอาจมีหน้าตาไม่ค่อยคล้ายกันเท่าไหร่นัก รวมทั้งอาจมีเพศที่แตกต่างกันได้ด้วย และเนื่องจากว่าเด็กเกิดจากไข่คนละฟอง เด็กจึงไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนหลังจากการเกิดเท่าไหร่

โอกาสในการท้องเด็กแฝด มีมากแค่ไหน 

การที่คน ๆ หนึ่งท้องลูกแฝด ว่ากันว่าสาเหตุหลัก ๆ มาจากพันธุกรรม หากบรรพบุรุษ หรือญาติ ๆ ของเราเคยมีลูกแฝด หรือเป็นแฝดกันมาก่อน โอกาสที่เราจะมีลูกแฝดก็มีมากขึ้น นอกจากนี้ อายุของคุณแม่ ก็มีส่วนทำให้ท้องเด็กแฝดได้ด้วย หากคุณแม่มีอายุมาก และท้องมาแล้วหลายครั้ง 

ก็อาจจะท้องเด็กแฝดได้ในครั้งต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ หากทานยาคุมติดต่อกันนาน 3 ปี หรือตั้งท้องโดยการผสมเทียมหรือทำเด็กหลอดแก้ว ก็อาจทำให้มีลูกแฝดได้ด้วยเช่นกัน

สัญญาณบ่งบอกว่ากำลังมีครรภ์แฝดคืออะไร

1.ท้องลูกแฝดอาจทำให้ค่าต่างๆ ในเลือดสูงกว่าคุณแม่ท้องลูกคนเดียว

คุณแม่ท้องลูกแฝดจะมีระดับฮอร์โมน HCG หรือฮอร์โมนในการตั้งครรภ์ มีค่าสูงมากกว่าคนอื่น อยู่ที่ระดับ 200 mlU โดยคุณหมอก็จะสันนิษฐานว่าคุณแม่อาจจะตั้งครรภ์ทารกแฝดก็เป็นได้ นอกจากนี้ การตรวจหาสาร AFP ในคุณแม่ท้องแฝดก็จะพบว่ามีค่าสูงขึ้นกว่า 2 เท่าสำหรับการตั้งครรภ์ทั่วไปอีกด้วย

2.น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในระหว่างตั้งครรภ์ให้คุณลองสังเกตตัวเองว่ามีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่ทารกจะมีการเจริญเติบโต จึงทำให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็อาจเกิดมาจากการทานอาหารด้วยก็ได้

3.แพ้ท้องหนักและนาน 

อาการแพ้ท้องนั้นเป็นอาการโดยทั่วไปที่สามารถพบได้ แต่อาการแพ้ท้องก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับแม่ท้องทุกคน ในส่วนของแม่ที่ตั้งท้องแฝดนั้น มีแนวโน้มที่จะมีอาการแพ้ท้องอย่างหนัก และแพ้ท้องนานกว่าปกติ เนื่องจากมีการตั้งครรภ์ตัวอ่อนสองตัว ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมน HCG  (human chorionic gonadotropin) สูง ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าว เป็นฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่อาจทำให้คุณแม่รู้สึกคลื่นไส้ได้ตลอดเวลา อาการคลื่นไส้  อาเจียนนาน เกิดนานกว่า 14 สัปดาห์ อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่กำลังอุ้มท้องแฝด 

4.มีขนาดครรภ์ที่ใหญ่ผิดปกติ

คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์เดี่ยวโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเห็นหน้าท้อที่ชัดเจนในช่วง 5 เดือน แต่การตั้งครรภ์แฝดจะมีขนาดหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ท้อง 3 เดือนแต่มีขนาดหน้าท้องเท่า 5 เดือน หากเป็นแบบนี้คุณแม่สันนิษฐานได้เลยว่าอาจจะตั้งครรภ์แฝดก็ได้

5.ลูกดิ้นเร็วมากกว่าปกติ

เมื่ออายุครรภ์เริ่มมากขึ้นทารกก็จะมีการเจริญเติบโตและมีการเคลื่อนไหวไปมา แต่ในกรณีของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดนั้นหากสังเกตบ่อย ๆ จะเห็นว่าลูกในท้องมีการดิ้นที่แรงกว่าและบ่อยกว่าการตั้งครรภ์เดี่ยว นั่นก็เพราะว่าทารกสองคนมีการขยับตัวพร้อมกันนั่นเอง

Morning Sickness with Twins: Secrets on What to Expect

6.หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ

เมื่อเราเหนื่อย หรือทำกิจกรรมหนัก ๆ หัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติเป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับแม่ท้อง หัวใจจะทำงานหนักขึ้น เพราะเกิดการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงลูกน้อย ยิ่งหากเป็นครรภ์แฝด หัวใจจะทำงานหนักมากยิ่งขึ้น จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่าเป็นการตั้งครรภ์แฝด หัวใจจะเต้นเร็วกว่าปกติ จนรู้สึกตัวได้

7.มีอาการอ่อนเพลียอย่างหนัก 

ช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงและผันผวน ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้าได้ง่าย โดยเฉพาะคุณแม่ที่อุ้มท้องแฝด อาจรู้สึกว่าเหนื่อยหรือเพลียมากกว่าคนท้องโดยทั่วไป 

ผลกระทบต่อตัวคุณแม่เมื่อมีครรภ์แฝด

– มักจะมีอาการแพ้ท้องมากกว่าปกติ

– โลหิตจาง คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสที่จะเป็นโรคโลหิตจางได้มากกว่าครรภ์เดี่ยวเนื่องจากร่างกายต้องหมุนเวียนไปเลี้ยงดูลูก 2 คนพร้อมๆ กัน

– ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ การตั้งครรภ์แฝดครั้งแรกมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรงมากกว่าครรภ์เดี่ยวถึง 5 เท่า

– มีน้ำคร่ำมากหรือแฝดน้ำ คือ น้ำคร่ำจะมีมากกว่า 2 ลิตร ซึ่งคนทั่วไปที่ตั้งครรภ์เดี่ยวจะพบ 1% เท่านั้น แต่ครรภ์แฝดพบได้ถึง 12% ซึ่งมากกว่าครรภ์เดี่ยวถึง 10 เท่า น้ำคร่ำมากยังมีส่วนสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด  และการตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

– ไม่สบายตัว เคลื่อนไหวลำบาก เพราะต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น  เช่น  ปวดหลัง ปวดขา  เดินไม่ไหว  หายใจไม่อิ่ม  เส้นเลือดขอด ริดสีดวงทวาร ซึ่งจะมีอัตราการเกิดได้มากกว่าคุณแม่ครรภ์เดี่ยว

บทส่งท้าย

การตั้งครรภ์ในทางการแพทย์อาจจะมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย ดังนั้นหากทราบว่าตั้งครรภ์แฝดคุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบห้าหมู่ และพยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยและแข็งแรงของตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วย

เครดิตรูปภาพ www.morulaivf.co.id parenting.firstcry.com willowwomenscenter.org

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (171) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (171) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)