ทำไมตั้งครรภ์แล้วถึงเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับผลกระทบไหม

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ทำไมตั้งครรภ์แล้วถึงเบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับผลกระทบไหม ท้องแล้วไม่อยากกินข้าว เบื่ออาหาร มีวิธีแก้ไหม แม่ท้องหลายคนคงกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่ และก็พยายามทำให้ตัวเองทานอาหารให้ได้ เพราะกลัวว่าลูกในท้องจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน กลัวว่าลูกจะไม่แข็งแรง แล้วคนท้องอย่างเรา ที่มีอาการแบบนี้ ควรทำอย่างไร มีวิธีแก้ไขหรือไม่

สาเหตุที่ทำให้คนท้อง "เบื่ออาหาร"

สาเหตุที่ทำให้คนท้อง “เบื่ออาหาร”

โดยส่วนมากอาการเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นกับคนท้องนั้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้องไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้อาเจียน หรือร่างกายรู้สึกเหนื่อยจนทำให้รู้สึกไม่อยากทานอาหารนั่นเอง แต่สาเหตุหลัก ๆ นั้น เราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้

1. ร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนของคนท้อง

ปกติแล้วในการตั้งครรภ์ นอกจากร่างกายของผู้หญิงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้ว ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย ซึ่งพบบ่อยในระยะเวลา 1-3 เดือนแรก จึงทำให้ช่วง 3 เดือนแรกเกิดความรู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน และอยากนอนตลอดทั้งวันได้

 2. คุณแม่รู้สึกว่าไม่ชอบกลิ่น และรสชาติของอาหาร

อาการดังกล่าว เป็นผลต่อเนื่องจากการที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสามารถรับรู้รส และกลิ่นต่าง ๆ เปลี่ยนไป อาหารบางอย่างที่คุณเคยชอบ อาจจะเมินหน้าหนีแทบไม่ทันก็เป็นได้

 3. เบื่ออาหารจากอาการแพ้ท้อง

สิ่งหนึ่งที่ทำให้คุณแม่ท้องเบื่ออาหารคือ เหนื่อยที่จะอาเจียน เบื่ออาการคลื่นไส้ และเวียนหัว ถือว่าเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เบื่ออาหารได้เช่นกัน เช่น ไม่กล้ากินมากกลัวอาเจียน ไม่กล้าที่จะแตะต้องอาหารเพราะไม่อยากคลื่นไส้ 

 4. ประสาทสัมผัสทีเปลี่ยนไป

คุณแม่ท้องส่วนใหญ่มีประสาทสัมผัสที่เปลี่ยนไป เช่น สัมผัสกลิ่นและรสชาติได้ไวขึ้นจนกลายเป็นเกลียดกลิ่นหรือรสชาตินั้น ในขณะที่คุณแม่อีกหลาย ๆ คนกลับมีประสาทสัมผัสทางรสและกลิ่นลดลง ลิ้นรับรสชาติไม่ได้มากเท่าที่ควร อาจมีอาการขมคอจนอยากอาเจียน หรือที่เรียกกันว่า Metallic Taste รู้สึกไม่โอเคกับรสชาติอาหารที่เข้าไปในปากจึงเกิดความเบื่อ ไม่อยากอาหาร รู้สึกสะอิดสะเอียดอาหารนั้น ๆ ไปเลย

อาการท้องแล้วเบื่ออาหารส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม

อาการท้องแล้วเบื่ออาหารส่งผลต่อลูกในครรภ์ไหม

– ไตรมาสแรก คนท้องเบื่อมักมีอาการแพ้ท้อง รู้สึกเพลีย เบื่ออาหารไม่ค่อยอยากกินอะไร แต่อาการเหล่านี้จะหายไป

– ไตรมาสที่ 2 อาการเบื่ออาหารและอาการแพ้ก็จะค่อยๆ ลดลงจนกลับมากินได้ตามปกติ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลมาก

– จากนั้นจะกินได้ปกติ เพราะช่วงแรก ทารกไม่ต้องการอาหารในการสร้างเนื้อเยื่อมากนัก อีกทั้งร่างกายของคุณแม่ที่มีความแข็งแรงจะป้อนสารอาหารที่จำเป็นแก่ทารกได้อย่างธรรมชาติ

– หากคุณแม่ท้องยังแพ้ท้องผิดปกติ จนเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ยังคงมีอาการเบื่ออาหาร ลองปรึกษาแพทย์ที่ดูแล เพื่อหาวิธีแก้ไขให้ทันท่วงที

วิธีช่วยให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

วิธีช่วยให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

หากคุณแม่เป็นกังวลเรามีวิธีที่จะช่วยทดแทนสารอาหารในร่างกาย เพื่อไม่ให้ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ทั้งหมดด้วยวิธีดังนี้

1. ดื่มน้ำให้บ่อย ๆ คุณแม่ต้องพยายามทำให้ร่างกายมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา และควรดื่มน้ำมาก ๆ ให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 – 3 ลิตรต่อวัน โดยอาจจะดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำมะนาวเพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้

2. แบ่งเป็นหลาย ๆ มื้อหากคุณแม่รู้สึกว่าในมื้อนั้นยังไม่ค่อยอยากกินอาหารเท่าไหร่ ก็ต้องพยายามทานอาหารหน่อยถึงแม้ว่าจะทานได้น้อยก็ตาม แต่อาศัยทานให้บ่อยขึ้น แบ่งเป็น

มื้อเล็ก ๆ หลาย ๆ มื้อ อาจจะเป็น 6 มื้อต่อวัน เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

3.กินอาหารเบา ๆ พยายามเลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องอืด และการทำงานของกระเพาะอาหารที่หนักจนเกินไป เพราะคุณแม่จะรู้สึก ว่าไม่อยากอาหารเอาได้ โดยคุณแม่อาจเลือกทานเนื้อไก่ โยเกิร์ต หรือกล้วย เพราะอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่อิ่มนานถึงแม้ว่าจะทานน้อย

วิธีช่วยให้ลูกในท้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ 2

4.หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด คุณแม่ไม่ควรทานอาหารที่มีรส เค็มจัด เผ็ดจัด หรือหวานจัด จนเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่มีปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคกรดไหลย้อน โรคเบาหวาน และอาการบวมต่าง ๆ  โดยเฉพาะโรคกรดไหลย้อน เวลาที่คุณแม่เป็นแล้ว จะทำให้ไม่อยากอาหารได้ และไม่ควรกินอาหารที่มีกลิ่นแรง  เพราะคนท้องจะมีประสาทสัมผัสที่ไวต่อกลิ่น ทำให้ไม่อยากอาหารได้

5.ลองกินอาหารเย็น  ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเริ่มไม่อยากกินอาหาร ลองเปลี่ยนมากินอาหารที่เย็นดูบ้าง หรือแช่เย็นดูบ้าง เช่น ผลไม้แช่เย็น หรือข้าวแช่ เพื่อเป็นการเปลี่ยนลักษณะการทานอาหาร ทำให้คนแม่อยากอาหารมากขึ้น

6.พยายามอย่าหยุดกินอาหาร ถ้าไม่อยากอาหาร คุณแม่ห้ามหยุดที่จะกินเป็นอันเด็ดขาด อย่างน้อยกินบ้างเล็กน้อยก็ยังดีเพื่อให้มีอะไรตกถึงท้อง เพราะการที่แม่ไม่ยอมกินข้าวนั้น ย่อมส่งผลเสียต่อลูกมากกว่าที่คิด

7.ทานวิตามินอย่างต่อเนื่อง เมื่อรู้ว่าตัวเองไม่อยากทานอาหาร ดังนั้นการทานพวกวิตามินเสริมต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะยาที่คุณหมอให้มา เพราะนั่นจะช่วยให้ลูกน้อยในท้อง 

มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ และเติบโตได้อย่างแข็งแรง

บทส่งท้าย

แม้ว่าคุณแม่ท้องแล้วเบื่ออาหาร หรือจะอาเจียนมากแค่ไหน ทนไม่ได้กับกลิ่นหรือรสไม่แนะนำให้หยุดกินอาหารอย่างเด็ดขาด เพราะการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่รับประทานอะไรเลย ย่อมส่งผลเสียต่อลูกน้อยแน่นอน แนะนำให้ลองหาอาหารแก้แพ้ท้องที่กินได้สบายท้อง รสและกลิ่นไม่แรงมาแบ่งกินเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่บ่อยขึ้นจะเป็นทางออกดีกว่าไม่รับประทานอะไรเลย

เครดิตรูปภาพ rescripted.com www.thedailymeal.com www.verywellfamily.com

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (180) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (173) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)