เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดหัวไมเกรน จะทำอย่างไรดี ทานยาได้ไหม อันตรายต่อทารกในครรภ์ไหม

บทความขอนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ปวดหัวไมเกรน จะทำอย่างไรดี ทานยาได้ไหม อันตรายต่อทารกในครรภ์ไหม ร่างกายของแม่ท้องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ความดัน และเกิดอาการหลายอย่างที่สร้างความกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็น เบื่ออาหาร เหม็น อารมณ์แปรปรวน เต้านมขยาย คลื่นไส้ รวมถึงปวดศีรษะบ่อย และถ้าปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สามารถทานยาได้ไหม อันตรายไหม บทความนี้มีมาฝากกัน

อาการปวดหัวในคนท้อง

คนท้องกับอาการปวดหัวถือว่าเป็นเรื่องปกติ พบได้บ่อย โดยส่วนใหญ่จะมีอาการคล้าย ๆ กับไมเกรน แต่บางครั้งก็รุนแรงกว่า ลักษณะอาการมีดังนี้ คนท้องจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว อาจจะเป็นปวดหัวซ้ายหรือปวดหัวข้างขวา หรือในบางครั้งก็ปวดหัวทั้งสองข้าง ตลอดจนมีอาการมึนหัว ไวต่อสิ่งเร้า เวียนหัว หรือคลื่นไส้ร่วมด้วย อย่างไรก็ดี อาการปวดหัวในคนท้อง อาจจะพบได้บ่อยในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ฉะนั้นในช่วงไตรมาส 3 หรือ 2 คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

สาเหตุของไมเกรนในคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ตั้งครรภ์อาจต้องประสบภาวะปวดศีรษะได้ตลอดเวลา บางครั้งอาจเป็นภาวะปวดไมเกรน หรือปวดศีรษะธรรมดา แต่บางกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคภัยอื่นๆ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดไมเกรน ดังนี้

สาเหตุที่ทำให้ คนท้องปวดหัว

1.ฮอร์โมนคนท้อง ที่เริ่มทำงานกันอย่างเมามัน ทำให้แม่มีขนเยอะ อารมณ์แปรปรวน

2.ปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น เลือดไหลเวียนในร่างกายคนท้องมากขึ้น

3.การขาดวิตามินบางชนิด วิตามินที่แม่ท้องควรได้รับ แต่กลับไม่ได้รับหรือไม่ได้บำรุงเป็นพิเศษ

4.คุณแม่เลิกดื่มกาแฟ คาเฟอีน ซึ่งเป็นผลดีต่อลูกในท้อง แต่ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ คนท้องปวดหัว

5.ทานอาหารไม่เพียงพอ แม่ท้องต้องทานอาหารทุก 4 ชั่วโมง แต่แบ่งเป็นอาหารมื้อย่อย ๆ หรือหาของว่างรับประทานเสมอ อย่าปล่อยให้ท้องหิว

6.พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือบางรายนอนไม่หลับ ส่งผลให้นอนน้อย

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อปวดหัวขณะตั้งครรภ์ 

1.พักผ่อนให้เพียงพอ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและตื่นในเวลาปกติ เนื่องจากการอดนอนอาจทำให้ปวดหัวขณะตั้งครรภ์ได้

2.รับประทานอาหารให้ตรงเวลา การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างตรงต่อเวลา และการดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดหัวและภาวะขาดน้ำได้

3.อย่าปล่อยให้หิว ควรรับประทานอาหารมื้อย่อยบ่อย ๆ เช่น อาหารจำพวกผลไม้ โยเกิร์ต หรือแครกเกอร์ เพื่อป้องกันอาการหิวที่อาจทำให้ปวดหัวได้ และช่วยป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหัว แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน ลูกอม และน้ำอัดลม เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

4.รับประทานยา การรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และยาแก้ปวดไมเกรน หากไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

5.ควบคุมความเครียด ควรเรียนรู้วิธีผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะความเครียดจากการทำงาน เช่น จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ แบ่งสิ่งที่ต้องทำออกเป็นส่วนแล้วกระจายงานให้แก่คนที่เหมาะสม หรือทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดและอาการปวดหัวได้ เช่น การดูหนังฟังเพลงที่ผ่อนคลาย การสูดหายใจเข้าลึก ๆ การนวด และการเล่นโยคะ

6.ออกกำลังกาย การเดินและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ต้องใช้แรงมาก เช่น การว่ายน้ำ หรือการทำกิจกรรมเข้าจังหวะ จะช่วยให้อาการปวดหัวดีขึ้นได้

นวด การนวดบริเวณไหล่และคอจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อย และยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์ได้

7.ประคบร้อนหรือประคบเย็น การประคบเย็นด้วยผ้าขนหนูและน้ำแข็งบริเวณหัวอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวให้ทุเลาลงได้ หรือบางคนอาจใช้การประคบร้อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน

8.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดหัว อาหารบางชนิด และการรับกลิ่นต่าง ๆ อาจทำให้รู้สึกปวดหัวได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว

ปวดหัวไม่มาก กินพาราได้ไหม

หากคนท้องปวดหัวนิดหน่อย ให้ดูแลตัวเองด้วยวิธีข้างต้นก่อน จะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือเก็บไว้เป็นทางเลือกสุดท้ายหากทนไม่ไหวจริง ๆ เท่านั้น โดยคนท้องสามารถทานยาพาราเซตามอลได้ แต่ถ้าเคยมีอาการปวดหัวไมเกรน หรือมีอาการป่วยอื่น ๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ควรซื้อยามากินเอง โดยเฉพาะยาจำพวก ไอบูโพรเฟน ยาแอสไพริน หรือยาแก้ปวดไมเกรน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง หรือรักษาไม่ตรงกับอาการที่แท้จริงก็เป็นได้

ยาไมเกรนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามกิน

1.ยาที่คนท้องห้ามกินเนื่องจากอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ คือ กลุ่มยาลดการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์ เช่น ไอดูโพรเฟ่น ไดโกฟีแนก พอนสแตนด์ เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะทำให้เกิดการหดขยายของเส้นเลือด ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงกับทารกได้   

2.ยาแก้ปวดไมเกรน คาเฟอร์ก็อท (Carfergot) แม้จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี แต่มีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ ส่งผลต่อการพัฒนาระบบไตของทารก และระบบน้ำคร่ำ ทำให้น้ำคร่ำลดลงด้วย 

บทส่งท้าย

อาการปวดหัวเล็กเบาแค่ไหน ไม่ใช่แค่คนท้องเท่านั้น สำหรับคนทั่วไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะบางอาการหากสังเกตร่วมกัน อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย หรือภาวะอันตรายที่กำลังก่อตัวอยู่เงียบ ๆ ได้  

เครดิตรูปภาพ

https://www.clickpharmacy.co.uk https://hearthandhomemidwifery.com https://americanpregnancy.org

บทความ แม่และเด็ก

อาหารเด็ก/นม/ของเล่นเด็ก/คู่มือคุณแม่

บทความล่าสุด
Tag
ขวดนม Pigeon (1) ของเล่นเสริมพัฒนาการสำหรับเด็ก (32) คอกกั้นเด็ก (1) คาร์ซีท (1) คู่มือสำหรับคุณแม่ (181) จุกนม (1) ชุดคลุมท้อง (1) ชุดว่ายน้ำเด็ก (1) ตู้แช่นม (1) ทิชชู่เปียก (1) ที่ดูดน้ำมูก (1) นมกล่อง UHT (1) นมผง (1) น้ำยาซักผ้าเด็ก (1) น้ำยาล้างขวดนม (1) น้ำเกลือล้างจมูก (2) ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (19) ฝากครรภ์ (1) รถเข็นเด็ก (1) รถไฟฟ้าเด็ก (1) รวมเรื่อง นม สำหรับเด็ก (1) สารพันปัญหา แม่และเด็ก (37) สารพันปัญหาแม่และเด็ก (174) อาหารสำหรับเด็ก (24) อาหารเสริมสำหรับเด็ก (3) อุปกรณ์ทำความสะอาดสำหรับเด็ก (10) อุปกรณ์เสริมสำหรับเด็ก (76) เครื่องนึ่งขวดนม (1) เครื่องปั๊มนม (1) เครื่องอุ่นนม (1) เคล็ดลับเลี้ยงลูก (2) เปล (1) เปลไกวไฟฟ้า (1) เสื้อผ้าเด็ก (5) แพมเพิส (1) โลชั่นเด็ก (1)