บทความนี้ขอแนะนำ “คุณแม่ตั้งครรภ์ และให้คุณแม่ให้นมลูก กินกัญชาได้ไหม อันตรายหรือเปล่า” ท่ามกลางกระแสปลดล็อกกัญชา หลายคนคงมีคำถามว่า กัญชากับคนท้อง หรือคุณแม่ให้นม ถ้ากินกัญชาเข้าไปแล้วมีอันตรายหรือผลเสียอย่างไรบ้าง บทความนี้มีข้อมูลมาฝากกัน
กัญชาคืออะไร
“กัญชา” หรือต้นกัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิด Cannabis sativa L.ในวงศ์ Cannabaceae มีขนาดลำต้นสูงไม่เกิน2 เมตร ใบมีแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉกแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ ดอกสีเขียว ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหรี่กัญชา เดิมใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา รวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งทำให้ การคิดการตัดสินใจ ความจำระยะสั้นลดลง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวล
คนท้องกินใบกัญชาได้ไหม
ปัจจุบันมีรายงานว่า หญิงตั้งครรภ์ใช้กัญชาเพื่อลดอาการแพ้ท้อง โรควิตกกังวล และความเครียด ซึ่งบางคนเข้าใจผิดว่ากัญชาไม่เป็นอันตรายเพราะมาจากพืช แต่ที่จริงแล้วการใช้กัญชาในขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกได้ เนื่องจากสารเคมีในกัญชา โดยเฉพาะ THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ทำให้เกิดอาการมึนเมา สามารถผ่านจากรกไปยังลูกในครรภ์ได้
ดังนั้นถ้าถามว่าคนท้องกินกัญชาได้ไหม ตอบได้เลยว่าไม่ควรกิน นั่นก็เพราะว่าในกัญชามีสารหลายชนิดที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะสาร THC ซึ่งเมื่อแม่ท้องกินเข้าไปก็จะส่งผ่านไปยังลูกน้อยในครรภ์ ปกติแล้วสารตัวนี้จะทำให้ผู้ที่ได้กินหรือสูบมีอาการเคลิ้ม มึนเมา และอาจทำให้ลูกน้อยในครรภ์มีพัฒนาการที่ผิดปกติ หรือพัฒนาการช้าได้ ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรกินกัญชาเด็ดขาด แม้ว่าปกติแล้วจะชอบใส่กัญชาลงไปในอาหารมากแค่ไหน แต่เมื่อกำลังมีอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ในครรภ์แบบนี้ ก็คงต้องหยุดก่อนแล้ว
ถ้าใช้กัญชาจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง
– การตั้งครรภ์นอกมดลูก
– การตายคลอด (เด็กคลอดออกมาแล้วไม่มีสัญญาณชีวิต)
– เพิ่มอัตราเสี่ยงของเด็กต่อการเข้ารับรักษาในหน่วยวิกฤตทารกแรกเกิด
– ภาวะทารกน้ำหนักน้อย เจริญเติบโตได้ช้า
– บางรายงานพบว่าการใช้กัญชาร่วมกับการสูบบุหรี่มีผลให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
– การพัฒนาสมองของทารกไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้มีปัญหาการเรียนรู้และพฤติกรรมในอนาคต
– เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
– กระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์ใช้กัญชาจะมีผลกระทบอย่างไร
– ทำให้ระดับออกซิเจนในร่างกายของคุณแม่ลดลง ขณะเดียวกับก็ทำให้ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก
– เนื่องจากกัญชาจะทำให้เกิดอาการมึนเมา คุณแม่จึงอาจจะเวียนหัวและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าปกติ
– กรณีที่คุณแม่สูบกัญชา หรือสูดดมควันกัญชาเข้าไป ก็จะทำให้ปอดไม่แข็งแรงได้เช่นกัน
แม่ท้องไม่ใช่แค่ห้ามกิน แต่ต้องเลี่ยงควันกัญชาด้วย
คนท้องกินกัญชาได้ไหม เมื่อได้คำตอบไปแล้วว่าไม่ควรกิน คุณแม่บางคนก็อาจจะคิดว่า ถ้างั้นก็สูบกัญชาแทนละกัน ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่า ควันกัญชาก็เป็นอีกหนึ่งอันตรายที่แม่ท้องไม่ควรเข้าใกล้เด็ดขาด เพราะสารพิษในควันจะเข้าไปทำลายปอด และส่งผลกระทบต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ นอกจากนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำมันกัญชา หรือใช้กัญชงกัญชาในรูปแบบใดก็ตาม คุณแม่ก็ควรหลีกเลี่ยงทั้งสิ้น หรือไม่ก็ต้องปรึกษากับแพทย์ก่อนว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์
การใช้กัญชามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่
ผลกระทบด้านสุขภาพจากการใช้กัญชาของผู้ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สารเคมีจากกัญชาสามารถส่งผ่านไปยังทารกได้ทางน้ำนมแม่ สาร THC ถูกเก็บไว้ในไขมันในร่างกาย และถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ เมื่อเวลาผ่านไป หมายความว่า ทารกยังคงได้รับสาร THC ถึงแม้จะหยุดใช้กัญชาแล้วก็ตาม ดังนั้น บุคคลที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงการใช้กัญชาทั้งหมด
ทำอย่างไร หากกินกัญชาไปแล้วโดยไม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์
หลายคนที่ได้คำตอบแล้วว่า แม่ท้องกินกัญชาได้ไหม แต่ก่อนหน้านี้ได้กินกัญชาหรือสูบกัญชาไปแล้วโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ ทำให้เกิดความกังวลเป็นอย่างมากว่าจะส่งผลอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ซึ่งอาจจะบอกไม่ได้ว่ามีผลมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ได้กินเข้าไปปริมาณมากน้อยเท่าไหร่ แต่สิ่งที่จะทำให้ได้ก็คือ ให้หยุดกัญชาในทันที แล้วรีบปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ เพื่อจะได้หาหนทางแก้ไข ให้ลูกน้อยในครรภ์เติบโตอย่างสมบูรณ์ และคลอดออกมาอย่างปกติที่สุด
บทส่งท้าย
แม้ว่ากัญชาจะมีการปลดล็อกออกจากสารเสพติดแล้ว แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่หลังคลอดให้นมลูก ไม่ควรใช้กัญชาอย่างยิ่ง เพราะสารในกัญชามันส่งผลเสียและอันตรายต่อทารกในครรภ์ และสามารถได้รับสารนั้นผ่านน้ำนมจากแม่ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กัญชาอย่างยิ่ง คุณแม่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเองและต่อลูกน้อยมาก่อนอันดับแรกเลยนะ
เครดิตรูปภาพ midwivesofnj.com stonegatecenter.com www.eatthis.com www.medpagetoday.com