ภัยน้ำท่วม ควรดูแลลูก ๆ อย่างไร ให้ปลอดภัย

ภัยน้ำท่วม

บทความนี้ขอแนะนำ “ภัยน้ำท่วม ควรดูแลลูก ๆ อย่างไร ให้ปลอดภัย” น้ำท่วมถือว่าเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเกือบจะทุกปี และสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือความปลอดภัย เพราะน้ำท่วมถือว่ามีภัยอยู่รอบด้านทีเดียว บางครั้งอันตรายถึงชีวิตก็มี และยังมีโรคภัยที่มาพร้อมกับภัยน้ำท่วมด้วย ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหาวิธีป้องกันภัยที่มาพร้อมกับน้ำท่วมให้กับลูก ๆ อย่างไรบ้างไปดูกัน โรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม 1.โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารหรือ ที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า โรคอุจจาระร่วง  เกิดจากอาหารหรือน้ำที่รับประทานเข้าไปมีเชื้อโรคปะปนอยู่ อาจจะส่งผลให้มีอาการมีไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้ง หรือถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน คลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อภาวะการขาดน้ำ ฉะนั้นก่อนจะทานอาหารทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด หากมีอาการท้องเสียติดต่อกันหลายครั้งควรให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หากอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป 2.โรคน้ำกัดเท้า  สาเหตุเกิดมาจากการย่ำน้ำ หรือแช่เท้าในน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่ หรือเกิดจากที่เท้าอับชื้นอยู่เป็นเวลานาน อาการเริ่มต้นจะเริ่มมีตุ่มใส ๆ ตามง่ามเท้า ซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย และอาการจะคันมากจนแตกเป็นแผล วิธีป้องกัน คือ ล้างเท้าให้สะอาดทุกครั้งหลังเดินลุยน้ำ เช็ดให้แห้ง หากเริ่มมีอาการก็หายามาทาตามอาการ หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็พบแพทย์เพื่อทำการรักษา 3.โรคตาแดง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสจากมือ อาการของโรคจะมีอาการคันที่ตา น้ำตาไหลมากเกินกว่าปกติ มีขี้ตา เคืองตา […]

เตรียมตัวและรับมืออย่างไรดี เมื่อต้องพาลูกขึ้นเครื่องบินครั้งแรก

เครื่องบิน

บทความนี้ขอแนะนำ “เตรียมตัวและรับมืออย่างไรดี เมื่อต้องพาลูกขึ้นเครื่องบินครั้งแรก” เมื่อจำเป็นต้องเดินทางหรือไปต้องเที่ยว อาจจะโดยสารเครื่องบิน ซึ่งเครื่องบินถือว่าเป็นบริการขนส่งสาธารณะ จะต้องใช้บริการโดยสารร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเด็กเล็ก ๆ อาจจะไม่คุ้นชิน งอแง โวยวาย และส่งผลกระทบไปถึงผู้โดยสารท่านอื่น ๆ ฉะนั้นก่อนจะเดินทางคุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาหาวิธีรับมือกับลูกน้อยให้มากที่สุด ว่าการโดยสารด้วยเครื่องบินควรปฏิบัติกับลูกอย่างไรดี บทความนี้ขอแชร์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้ได้อ่านกัน ข้อควรปฏิบัติ และเตรียมความพร้อมก่อนเดิน 1.ตรวจสอบกับสายการบิน เรื่องอายุของเด็กว่าสามารถเดินทางได้แล้วหรือยัง แต่ละสายการบินมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป เรื่องอายุของเด็กที่จะสามารถโดยสารด้วยเครื่องบินได้ เพราะบางสายการบินเขาจะกำหนดไว้เลยว่า เด็กที่จะสามารถขึ้นเครื่องบินได้นั้น จะต้องมีอายุ ระหว่าง 3 -4 เดือนขึ้นไป หรือในเหตุที่มีกรณีฉุกเฉินจำเป็นต้องบิน เด็กทารกต้องอายุมากกว่า 7 วันขึ้น หรือ บางสายการบินกำหนดไว้ว่าต้องอายุไม่ต่ำกว่า 14 วัน เพราะด้วยเรื่องความปลอดภัย ความสะอาด หรือกรณีที่จำเป็นต้องเดินทางกะทันหัน ก็ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์อีกครั้ง 2.การจองตั๋วของเด็ก การจองตั๋วให้เด็กน้อยคุณพ่อคุณแม่สามารถกดจองตั๋วของตัวเอง แล้วค่อยเลือกผู้โดยสานเพิ่มได้และระบุให้ชัดเจนว่าเป็นทารก เพื่อที่ทางสายการบินได้เตรียมตัวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ในวันเดินทาง แต่ถ้าลูกอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ต้องจองตั๋วแบบที่นั่งแยกให้เขาได้แล้ว เพื่อความสะดวกของทั้งคุณพ่อคุณแม่ ลูก และเพื่อความปลอดภัย 3.ค่าโดยสารของเด็กทารก […]

5 โรคยอดฮิต เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวรับมือ

โรคยอดฮิต เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน

บทความนี้ขอแนะนำ “5 โรคยอดฮิต เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวรับมือ” เมื่อลูกเข้าสู่วัยเรียน คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหามากมายที่จะตามมา ทั้งลูกไม่อยากไปโรงเรียน ลูกติดเล่นมากเกินไป ลูกงอแง ปัญหาจากเพื่อนที่โรงเรียนของลูก และอีกสารพัดที่ต้องพบเจอ แต่อีกหนึ่งปัญหาที่ต้องพบเจอและอาจจะหลีกเลี่ยงได้ยากก็คือ โรคภัยไข้เจ็บ ที่เมื่อลูกไปโรงเรียนต้องไปพบเจอกับคนหมู่มาก อาจจะติดโรคกลับมาได้ง่าย ซึ่ง 5 โรคฮิตที่มักจะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆ มีอะไรบ้างนั้น บทความนี้จะขอนำมาแบ่งปันกัน 1.ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ หรือสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปี ทุกฤดู ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถานที่ที่สามารถป่วยจากโรคนี้ได้ง่าย เนื่องจากคนเยอะแออัด สถานที่ที่จำกัดในห้องแคบ ๆ ทำให้อากาศในห้องถ่ายเทไม่ได้สะดวก ทำให้มีโอกาสง่ายในการติดเชื้อ อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการ มีไข้สูง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน    ถ้าอาการไม่รุนแรง ก็จะสามารถหายได้เองภายใน 5-7 วัน  แต่ถ้าอาการร้ายแรงก็อาจจะมีอาการแทรกซ้อนเช่น ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ […]

RSV ภัยร้ายใกล้ตัวที่มาพร้อมหน้าฝน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักและรับมือกับมันให้ได้

RSV

บทความนี้ขอแนะนำ “RSV ภัยร้ายใกล้ตัวที่มาพร้อมหน้าฝน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักและรับมือกับมันให้ได้” โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่มักจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูฝน และมักจะเกิดขึ้นกับเด็กมากกว่า ซึ่งอาการก็จะคล้ายไข้หวัดธรรมดาทั่วไป แต่ถ้าหากบางรายอาการรุนแรงก็อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ บทความนี้ขอแนะนำให้คุณได้รู้จักกับไวรัสตัวร้าย RSV ว่าเกิดขึ้นจากอะไร อาการเป็นอย่าง แล้วแนวทางรักษามีอะไรบ้าง RSV คืออะไร ไวรัส RSV หรือมีชื่อเต็ม ๆ ว่า Respiratory syncytial virus เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุมาจากไข้หวัด หลอดลมอักเสบ  และยังเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่จะเกิดขึ้นกับเด็กเสียมากกว่า อาการของโรคนี้คล้ายไข้หวัด และถ้าอาการไม่รุนแรง ก็จะหายป่วยภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ในเคสที่มีอาการรุนแรงมักจะเกิดขึ้นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เป็นโรคหัวใจ หรือโรคปอดร่วมด้วย ซึ่งถ้าหากผู้สูงอายุติดเชื้อ RSV อาการก็จะรุนแรงเหมือนกับเด็กเล็กเช่นกัน การติดต่อของเชื้อ RSV นี้สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม […]

วัคซีนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับลูก ที่พ่อแม่ต้องรู้

วัคซีน

บทความนี้ขอแนะนำ “วัคซีนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับลูก ที่พ่อแม่ต้องรู้” การที่ลูกเติบโตมาด้วยร่างกายที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนหวังไว้อย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันเชื้อโรคที่เรามองไม่เห็นในอากาศก็มีเยอะมากมาย ฉะนั้นการที่ลูกได้รับวัคซีนจะเป็นเหมือนเกราะป้องกันเชื้อโรค และช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก ๆ ห่างไกลจากโรคภัย ซึ่งวัคซีนที่ลูก ๆ จะต้องฉีดนั้นมีอะไรบ้าง ในบทความนี้ได้มีการแนะนำว่าช่วงอายุเท่าไหร่ ต้องฉีดวัคซีนตัวไหน มาเป็นแนวทางให้ได้ศึกษากันก่อน วัคซีนคืออะไร วัคซีน คือ ชีววัตถุหรือแอนติเจนที่ผลิตมาจากเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคที่ถูกทำให้ไม่สามารถก่อโรคได้ แต่ยังคงสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันได้ วัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับเด็ก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เด็กไทยทุกคน ต้องได้รับวัคซีนที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน เพื่อช่วยป้องกันโรคที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ และยังช่วยสร้างเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันตามช่วงวัย ดังนี้ 1.วัคซีนป้องกันวัณโรค  ควรจะได้รับการฉีดตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งปกติโรงพยาบาลจะฉีดให้ทารกก่อนกลับบ้าน โดยจะฉีดที่ใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน หรือหัวไหล่ด้านซ้าย หรือที่สะโพกด้านซ้าย แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละโรงพยาบาล หลังจากฉีดจะไม่มีรอยแผลใด ๆ แต่หลังจากช่วงระยะเวลา 3 -4 สัปดาห์หลังจากฉีด จะเกิดรอยตุ่มแดงบริเวณที่ฉีด หรืออาจจะมีหนองก็ได้ มีการทำความสะอาดและดูแลคือ เช็ดให้ผิวหนังบริเวณฉีดวัคซีนแห้งและสะอาดอยู่เสมอ ด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ซึ่งรอยตุ่มนั้นจะค่อย ๆ หายไปเอง และเกิดเป็นรอยบุ๋มแทน (BCG Vaccine) 2.วัคซีนตับอักเสบบี (Hepatitis […]

ลูกชอบกัดเล็บ ควรจะแก้ไขพฤติกรรมนี้อย่างไรดี

ลูกชอบกัดเล็บ

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกชอบกัดเล็บ ควรจะแก้ไขพฤติกรรมนี้อย่างไรดี” พ่อแม่หลายคนมักจะเคยเจอกับปัญหานี้เด็ก ๆ มักจะชอบกัดเล็บ ซึ่งในเล็บนั้นเต็มไปด้วยเชื้อโรคมากมาย แถมยังทำเสียบุคลิกภาพอีกด้วย แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายท่านจะคอยห้าม คอยดุแล้วก็ตาม เด็ก ๆ ก็ยังเผลอทำพฤติกรรมนั้นแบบไม่รู้ตัว แต่เรานั้นจะหาวิธีไหนมาแก้ปัญหาในเรื่องนี้กัน บทความนี้มีวิธีมานำเสนอกัน กัดเล็บเพราะอะไร ? การกัดเล็บ ถือว่าเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า “Nail Biting” ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายคนคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะหายได้เองเมื่อโตขึ้น แต่จากผลสำรวจพบว่า พฤติกรรมการกัดเล็บ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจจะเกิดมาจากปัญหาในใจ ความกดดัน ความเครียด ความวิตกกังวลที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นนิสัยติดตัวไปเลยก็ได้ หากไม่รีบหาทางแก้ไขเขาอาจจะมีพฤติกรรมนี้ติดตัวไปตลอดก็ได้   พฤติกรรมการกัดเล็บนี้คุณพ่อคุณแม่หลายบ้านต้องพบเจอกับปัญหานี้อย่างแน่นอน แต่วิธีการแก้ปัญหาอาจจะแตกต่างกันออกไป สาเหตุที่ลูกชอบกัดเล็บ – เกิดจากความเครียดสะสม เขาเลยแสดงออกด้วยการกัดเล็บ ในยามที่เขาเครียดหรือเกิดความวิตกกังวล เขาก็อาจจะกดดันตัวเองจนเผลอกัดเล็บ เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้เขาหายเครียด หรือลดภาวะการกดดันในตัวเองลงได้ – เด็กอาจจะรู้สึกเบื่อ จึงเผลอกัดเล็บตัวเองเพื่อเป็นการฆ่าเวลา  – เด็กบางคนชอบกัดเล็บจนติดเป็นนิสัย และการกัดเล็บก็อาจจะเป็นสิ่งที่จะทำให้เขานั้นรู้สึกผ่อนคลายความกังวลมากขึ้น หรือมีความสนุกทุกครั้งที่ได้กัดเล็บ – พฤติกรรมสืบเนื่องจากวัยทารก เช่น การดูดนิ้ว […]

สิ่งของอันตราย ที่ควรต้องเก็บให้พ้นมือเด็กเล็ก เพื่อป้องกันลูกหยิบของเข้าปาก

สิ่งของอันตราย

บทความนี้ขอแนะนำ “สิ่งของอันตราย ที่ควรต้องเก็บให้พ้นมือเด็กเล็ก เพื่อป้องกันลูกหยิบของเข้าปาก” เด็กเอาของเข้าปาก เป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเคยเจอ เนื่องจากกังวลใจว่าลูกอาจหยิบสิ่งของที่มีเชื้อโรคหรือของที่เป็นพิษเข้าปาก ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุที่เด็กเอาของเข้าปาก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถหาวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ของที่ควร เก็บให้พ้นมือเด็ก  1. วัตถุขนาดเล็ก สิ่งเล็ก ๆ ที่เด็กสามารถคว้าและกลืนได้ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ซึ่งรวมถึงสิ่งของในชีวิตประจำวันเช่นเหรียญ หากลูกกลืนเหรียญเข้าไป มันอาจติดอยู่ในหลอดอาหารได้ เช็กให้มั่นใจว่าไม่ทิ้งเหรียญไว้ในที่ที่ลูกหยิบถึง เช่นเดียวกันกับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ เช่น ลูกหินหรือหินก้อนเล็ก ๆ พยายามอย่านำเกม หรือของตกแต่งภายในบ้านที่มีขนาดเล็ก เข้ามาในบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 2.ยารักษาโรค ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ความผิดพลาดอาจส่งผลร้ายแรงต่อเจ้าตัวน้อยได้ แม้ว่าตู้ยาจะจัดเก็บไว้อย่างดี และเป็นสิ่งจำเป็นในครัวเรือน แต่ควรเก็บยาไว้ให้พ้นมือเด็กเสมอ แม้แต่เด็กโตก็อาจกินยาสองสามเม็ด หรือยาน้ำหวาน ๆ เพราะลูกไม่รู้ว่าอะไรกินได้หรือกินไม่ได้ ให้เช็กเสมอว่าคุณเก็บยาไว้ในที่ปลอดภัยหรือไม่ 3.แบตเตอรี่ แบตเตอรี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งในครัวเรือนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตลูก แต่เราต้องใช้กับสิ่งของต่าง ๆ ในบ้าน เช่น นาฬิกาปลุก รีโมตคอนโทรล และของเล่นเด็ก ทำให้พ่อแม่บางคนมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นวัตถุอันตราย แต่อย่างไรก็ตาม ในแบตเตอรี่นั้นมีกรดกัดกร่อนที่สามารถเผาไหม้ดวงตาและผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังมีโลหะที่เป็นพิษ […]

ลูกติดเกมทำอย่างไรดี พร้อมวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

ลูกติดเกม

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกติดเกมทำอย่างไรดี พร้อมวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้” หลายบ้านอาจเจอกับปัญหาลูกหลานกลายเป็นเด็กติดเกม และ มีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อถูกห้ามเล่นเกม หรือ ถูกบังคับให้หยุดเล่นเกม ก่อนอื่นต้องดูบ่อเกิดของปัญหาก่อนว่า สมาชิกภายในบ้าน ดูแลเอาใจใส่เด็กเพียงพอหรือไม่ จนทำให้พวกเขาหันมาพึ่งพาเกม เป็นเพื่อนและเป็นกิจกรรมแก้เบื่อจนติดงอมแงม จนยากที่จะบอกลาเกมแสนสนุก มาดูวิธีการแก้ปัญหาเด็กติดเกมก่อนจะสายเกินไป  การติดเกมคืออะไร อาการติดเกม คือ การที่ลูกคุณใช้เวลาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า  แบบไม่สนใจสิ่งอื่นใดในชีวิตรอบตัว  1 ใน  5  ของนักเรียนใช้เวลา 5 ชั่วโมง หรือ มากกว่านั้น ในแต่ละวันอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์  สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าเด็กละเลยการเรียน  สังคมรอบข้าง  รวมไปถึงการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว  จิตแพทย์เด็กเตือนผู้ปกครองสังเกตสัญญาณเสี่ยงลูกติดเกม  หากพบความผิดปกติเล่นเกมติดต่อกันนานหลายชั่วโมง อดหลับอดนอน กระทบชีวิตประจำวัน และ มีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว เมื่อต้องหยุดเล่นเกม แนะปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ลักษณะของเด็กติดเกมเป็นอย่างไร 1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง หรือเล่นนานขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน 2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกิริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง […]

อย่าปล่อยให้ลูกต้องทรมานกับอาการหอบ หืด วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น และการรับมือที่ถูกต้อง

หอบ หืด

บทความนี้ขอแนะนำ “อย่าปล่อยให้ลูกต้องทรมานกับอาการหอบ หืด วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น และการรับมือที่ถูกต้อง” อาการหอบหืดในเด็ก โรคร้ายใกล้ตัวลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม บางครั้งลักษณะอาการเช่นนี้อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่คิดว่าเป็นแค่เรื่องเล็กน้อย แต่หากปล่อยปละละเลยทิ้งเอาไว้นานเด็กๆ ก็มีโอกาสเป็น “หอบหืดเรื้อรัง” แทนที่จะรักษาหายได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เข้าใจอาการหอบ หืด  เด็กที่เป็นหอบ หืด หลอดลมจะไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ เช่น เมื่อไหร่ที่เจอสารที่แพ้ อย่างฝุ่นละออง ขนสัตว์ หลอดลมจะเกิดการเกร็งตัวและหดเล็กลง แต่เยื่อบุข้างในจะบวมขึ้นและมีเมือกเหนียว ๆ ซึ่งทำให้หลอดลมที่หดเกร็งนั้นเล็กลงไปอีกสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเด็ก ๆ จะเริ่มหายใจยากขึ้น ทำให้ต้องหายใจถี่ ๆ ถ้าบางคนที่มีอาการค่อนข้างหนักก็จะทำให้ขาดออกซิเจน และอาการจะดีขึ้นเมื่ออาเจียนออกมา แต่ในบางรายอาจจะเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ เนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ต้นเหตุ โรคหอบหืดเด็ก เกิดจากอะไร 1. กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภูมิแพ้ โอกาสที่เด็กจะเป็นโรคนี้ก็จะมีมากขึ้น 2. การติดเชื้อทางระบบหายใจ เช่น ไซนัสอักเสบหรือเป็นหวัด 3. การออกกำลังกายมาก ๆ หรือหักโหม อาจทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อย และเป็นตัวกระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบได้ 4. สิ่งกระตุ้นต่าง […]

ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี คุมน้ำหนักลูกยังไงแบบไม่ให้เสียสุขภาพ

ลูกน้ำหนักเกิน

บทความนี้ขอแนะนำ “ลูกน้ำหนักเกินทำไงดี คุมน้ำหนักลูกยังไงแบบไม่ให้เสียสุขภาพ” ภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และอาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาสุขภาพอื่น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น หากพบว่า ลูกน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะเมื่อถึงขั้นเป็นโรคอ้วน คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อให้ลูกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี และลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ  รู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้ำหนักเกิน คุณพ่อคุณแม่หากสงสัยว่าลูกน้ำหนักตัวเกินหรือไม่ วิธีที่จะตรวจสอบว่าลูกน้ำหนักเกินมาตรฐานก็คือการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ (Body Mass Index หรือ BMI) วิธีนี้จะช่วยให้รู้ถึงความสมดุลของน้ำหนักตัว และส่วนสูง ถือเป็นค่าวัดมาตรฐานที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนผอม เพราะค่าที่ได้สามารถที่จะบอกได้ว่า ลูกของคุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือน้ำหนักตัวเกินหรือไม่ โดยสามารถตรวจวัดค่าดัชนีมวลกายได้ดังนี้  – น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 5% – น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 5-84% – น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 85-94% – โรคอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 95% […]