อาการคันของคนท้อง ปัญหากวนใจของคุณแม่ที่ไม่ควรมองข้าม

อาการคันของคนท้อง

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง อาการคันของคนท้อง ปัญหากวนใจของคุณแม่ที่ไม่ควรมองข้าม อาการคันของคนท้อง เป็นอาการที่คุณแม่รู้สึกคันตามร่างกายบ่อยผิดปกติในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เต้านม และหัวนม โดยอาการนี้อาจส่งผลให้คุณแม่เกิดความไม่สบายตัว และเป็นกังวลไม่น้อยว่าจะมีอันตรายใด ๆ ต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้เป็นปัญหาที่คุณสามารถรับมือได้ เพียงแค่ต้องรู้วิธีที่ถูกต้อง ผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ผื่นแพ้ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการคันในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่ผิวหนังหน้าท้องมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นการทำลายเนื้อเยื่อของผิวหนัง ทำให้ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนเกิดผื่นที่มีลักษณะนูนแดงคล้ายลมพิษ บางครั้งอาจเป็นลักษณะตุ่มใส ตรงบริเวณรอยแตกลายที่หน้าท้อง ต้นขา หรือที่ก้น และมีอาการคันร่วมด้วย สาเหตุของอาการคันของคนท้อง อาการคันของคนท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยคุณแม่หลายคนอาจจะยิ่งรู้สึกคันมากเป็นพิเศษบริเวณหน้าท้อง เต้านม และหัวนม เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่ผิวหนังมักจะมีการขยายตัวตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ส่วนสาเหตุ   อื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องก็เช่น 1. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์เป็นสิ่งหนึ่งที่ส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง โดยสิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ คุณแม่มักจะพบว่าตนเองมักรู้สึกคันตามตัวมากขึ้น อีกทั้งบางคนยังอาจพบว่าตนเองผิวแห้งขึ้น ซึ่งก็จะยิ่งส่งผลให้อาการคันยิ่งรุนแรงขึ้นได้อีก 2. เครื่องแต่งกายที่สวมใส่ เนื้อผ้าบางชนิดของเครื่องแต่งกายที่คุณแม่ตั้งครรภ์สวมใส่อาจจะส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการคันจากการที่ถูกเนื้อผ้าเสียดสีจนเกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ 3. สารเคมีบางชนิดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด […]

ลมชักในเด็ก อันตรายกว่าคิด คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังอย่างมาก

ลมชักในเด็ก

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลมชักในเด็ก อันตรายกว่าคิด คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังอย่างมาก โดยทั่วไปของโรคลมชัก หากปล่อยให้ชักและไม่รักษา ส่วนใหญ่จะมีผลต่อพัฒนาการของผู้ป่วยในระยะยาว หรือถ้าลักษณะชักเป็นแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจอันตรายถึงชีวิตได้  “โรคลมชัก” หนึ่งในโรคทางระบบประสาทในเด็กที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นอาการชักที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง แต่ถึงอย่างนั้น แม้ไม่พบความผิดปกติทางกายภาพของสมองก็สามารถทำให้เกิดโรคลมชักได้ โดยโรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็ก โรคลมชักในเด็ก พ่อแม่รู้เท่าทัน ลูกน้อยก็ปลอดภัย โรคลมชักในเด็ก หนึ่งในโรคที่สร้างความทุกข์ใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ สาเหตุการเกิดโรคนี้มีได้หลายอย่าง อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของระบบประสาท เคยเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น โดยรูปแบบการชัก อาจมีอาการได้ดัง ต่อไปนี้ – ชักแบบเหม่อนิ่ง เด็กมักไม่ตอบสนองต่อการเรียก พบมากในเด็ก 5-10 ปี – ชักแบบกระตุกแขนขาเป็นชุด ๆ พบมากในเด็ก 3 เดือน -1 ปี – ชักแบบไม่รู้ตัว มีอาการเตือน ระหว่างชักจำอะไรไม่ได้ – ชักต่อเนื่อง อันตรายหากชักเกิน 30 นาที สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก  […]

คนท้อง ไอถี่ ไอบ่อย ไอจนเจ็บท้องอันตรายหรือไม่

คนท้อง

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง คนท้อง ไอถี่ ไอบ่อย ไอจนเจ็บท้องอันตรายหรือไม่ ไอบ่อยจนหงุดหงิด เดี๋ยวไอ เดี๋ยวจาม เชื่อว่า เป็นปัญหาสุขภาพที่คอยรบกวนคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อยู่ไม่น้อยเลย เพราะไหนจะแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว สารพัดอาการที่คนท้องต้องรับมือช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งอาการไอ จาม มีน้ำมูก หากเป็นเมื่อก่อนคงอดไม่ได้ที่จะซื้อยามากินเอง หรือปล่อยให้หายเองตามเคย แต่พอมีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้อง ก็ห่วงว่า ไอขณะตั้งครรภ์ ไอจนเจ็บท้อง ไอจนเจ็บคอ  เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์หรือไม่ คนท้องไอบ่อย เกิดจากอะไร อาการไอของคนท้อง เกิดจากการที่ร่างกายของคุณแม่พยายามขับสิ่งแปลกปลอมหรือ เชื้อโรคออกมาในลักษณะของมูก หรือเสมหะ โดยสาเหตุที่ทำให้คนท้องไอบ่อย คือ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของคนท้องที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายของคุณแม่ได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น คนท้องจึงอาจไอบ่อย ทั้งยังอาจมีสาเหตุมาจากอาการของโรคบางอย่าง  ดังต่อไปนี้ 1. คนท้องมีอาการไอ จากไข้หวัด โรคไข้หวัด คุณแม่สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปี ไม่เว้นแม้แต่อากาศร้อน ซึ่งอาการในระยะแรกอาจคัดจมูก มีน้ำมูกไหล และเจ็บคอ อาการอาจทุเลาลงเองได้ แต่อาจจะต้องระวังอาการไข้สูง เนื่องจากอาจติดเชื้อไวรัสของไข้หวัดชนิดรุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดการแท้งบุตรได้ในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ 2. ไอจากโรคหอบหืด […]

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับลูกน้อย ควรป้องกันและรับมืออย่างไรดี

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับลูกน้อย ควรป้องกันและรับมืออย่างไรดี ไข้หวัดใหญ่อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้ ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม) ของทุกปี ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป จะอันตรายแค่ไหนบทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่( Influenza) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ   มักจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน พบได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กเล็ก  เด็กโต  วัยผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ ไข้หวัดใหญ่จะแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลักคือ สายพันธุ์  A สายพันธุ์  B และ  สายพันธุ์  C โดยในบทความนี้จะขอกล่าวถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเจอภาวะแทรกซ้อนได้รุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น   ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เกิดจากเชื้ออะไร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) เป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก […]

ลูกขี้อายชอบเก็บตัว ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ลูกเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

ลูกขี้อายชอบเก็บตัว

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกขี้อายชอบเก็บตัว ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ลูกเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการเข้าสังคมของลูกมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกลัวว่าลูกจะขี้อายเกินไป ไม่กล้าคุยหรือแสดงออก เก็บตัว ในขณะที่บางบ้านอาจจะกังวลกับการเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ปัญหาการไม่แบ่งปัน หรือปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับกลุ่มเด็กผู้ชายที่เป็นลูกคนเดียว  ลูกขี้อาย ไม่กล้าเข้าสังคม เกิดจากอะไร การที่ลูกมีนิสัยที่ขี้อาย และไม่กล้าสังคม มักเกิดจากลักษณะนิสัยส่วนตัว การเลี้ยงดู และสภาพสังคมที่เด็กเติบโตมา ซึ่งเด็กบางคนอาจมีนิสัยที่ขี้อาย และไม่กล้าพูดคุยกับคนอื่นมาตั้งแต่เกิด โดยสันนิษฐานว่าพันธุกรรมอาจมีผลต่อนิสัยของเด็ก ทำให้เด็กเกิดอาการที่ขี้อาย อีกทั้งเด็กทารกที่มีนิสัยขี้แย และร้องไห้ง่าย อาจมีนิสัยที่ขี้อาย และไม่กล้าเข้าสังคมเมื่อเติบโตขึ้น ฝึกลูกเข้าสังคม ทำได้อย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูก ๆ เตรียมความพร้อมในการเข้าสังคม และเข้าหาเพื่อน ด้วยการชวนลูกสร้างสัมพันธ์ที่ดีง่าย ๆ ผ่านการให้สิ่งของ และขนมเพื่อน เพื่อให้ลูกรู้จักการแบ่งปันได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถฝึกลูกเข้าสังคมได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 1.เริ่มฝึกลูกเข้าสังคมตั้งแต่ยังเล็ก ปัจจุบันสังคมไทยมีลักษณะครอบครัวเดี่ยวที่เพิ่มมากขึ้น บางบ้านอาจอยู่อาศัยในห้องเดี่ยวหรือคอนโด จนทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาสเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคม จนกว่าลูกจะเข้าโรงเรียน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปพบปะกับผู้คนในวัยเดียวกัน เช่น เพื่อนบ้าน กลุ่มเด็กเล็ก หรืออาจพาลูกไปทักทายผู้คนที่คุณพ่อคุณแม่สนิทสนม หรือรู้จักก็ได้จะช่วยให้ลูกเริ่มคุ้นชินได้ […]

ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ และต้องเตรียมตัวอย่างไร

ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ และต้อง เตรียมตัวอย่างไร หลังคลอดลูกน้อย อาจเป็นช่วงที่ร่างกายของลูกยังไม่แข็งแรง และคุณแม่ก็ยังไม่สามารถพาลูกออกไปทำกิจกรรมได้ คุณแม่ส่วนใหญ่อาจสงสัยว่าหลังคลอด ทารกออกนอกบ้าน  กี่เดือน จะพาลูกออกไปต่างจังหวัดหรือเดินห้างได้ตอนไหน และมีเรื่องอะไรที่ควรระวังบ้าง บทความนี้จะพาไปดูกัน  พาลูกออกนอกบ้านได้ตอนกี่เดือน  ไม่ได้มีตัวเลขที่ระบุอย่างชัดเจนว่าทารกอายุกว่าน้อยกว่าเท่าใดจึงจะห้ามออกจากบ้านหรือเดินทาง เพราะทารกที่ยังอายุน้อย เช่น แรกเกิดถึง 3 เดือน ก็ยิ่งมีภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ในขณะเดียวกัน แม้ว่าทารกจะอายุมากขึ้น เช่น หลังจากอายุ 6 เดือน ก็อาจจะมีการติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เพราะภูมิต้านทานที่ได้จากคุณแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จะหมดไปหลังอายุ 6 เดือน ทารกจึงต้องพึ่งพาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในร่างกายด้วยตนเอง วัคซีนที่ได้รับ ร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากการทานนมแม่ ความเสี่ยงในการเดินทางพร้อมลูกน้อยก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะพร้อม  1.การสัมผัสกับเชื้อโรคมากขึ้น  เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงง่ายต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ 2.ยังไม่ได้รับวัคซีนจำเป็นบางตัว  การเดินทางโดยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนบางชนิดที่ต้องได้รับตามวัย อาจทำให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เช่น โรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 3.การเดินทางทางอากาศและความดันในห้องโดยสาร  ทารกอาจรู้สึกไม่สบาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความดันในห้องโดยสาร ระหว่างการเดินทางทางอากาศ ทำให้เกิดอาการปวดหู เนื่องจากความดันในหูไม่เท่ากัน […]

ลูกติดขวด กินนมมื้อดึก อาจจะทำให้ฟันผุได้ มีวิธีรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรดี

ลูกติดขวด

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ลูกติดขวด กินนมมื้อดึก อาจจะทำให้ฟันผุได้ มีวิธีรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรดี การที่ลูกติดขวดนั้นส่งผลเสียต่อสุขภาพเด็กเป็นอย่างมาก ทั้งสุขภาพช่องปาก การสื่อสาร รวมทั้งพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือ คุณพ่อคุณแม่หลายคนมักให้ลูกดูดขวดนมจนเผลอหลับไป แต่รู้หรือไม่ว่าการปล่อยให้ลูกติดขวดนมนั้น อาจทำให้ลูกฟันผุได้  ลูกติดขวด ติดนมมื้อดึก ระวังฟันผุ การให้ลูกเลิกขวดนม โดยเฉพาะเด็กที่เริ่มโตแล้วแต่ยังติดขวดนม เด็กบางคนติดขวด เพราะเคยชินกับการกินนมมื้อดึก กอดขวดจนหลับไป กลายเป็นอันตรายในช่องปาก ที่อาจลุกลามมากกว่าอาการฟันผุได้ เด็กบางคนกินแค่นม โดยไม่สนใจอาหารเสริมอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยในวัยที่ต้องเสริมอาหาร หรือทารกหลัง 6 เดือนขึ้นไป ทำให้ร่างกายลูกขาดสารอาหาร และขาดธาตุเหล็กได้ เพราะแคลเซียมยับยั้งการดูดซึมเหล็ก ทำไมลูกติดขวดถึงฟันผุ ปัญหาช่องปากของเด็กเล็ก ๆ มักเกิดจากความไม่สะอาด จนทำให้ฟันผุได้ ซึ่งในน้ำนมที่ตกค้างในปากของลูก หากปล่อยเวลานาน ๆ จะถูกแบคทีเรียไปย่อยทำให้เกิดสารที่เป็นกรด จนทำให้ฟันน้อย ๆ ของเจ้าหนูผุได้ โดยเฉพาะลูกที่ติดขวด ติดนมมื้อดึก ดูดนมไปเรื่อย ๆ จนหลับ การปล่อยให้ลูกดูดนมจนหลับไป นอกจากจะทำให้ลูกฟันผุแล้ว ลูกยังเลิกขวดได้ยากอีกด้วยนะ อายุที่เด็กควร เลิกขวดนม เมื่อเด็กอายุเข้า […]

ภาวะเครียด ในเด็กมีจริงไหม ทำอย่างไรเมื่อลูกเครียด

ภาวะเครียดในเด็ก

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ภาวะเครียด ในเด็กมีจริงไหม ทำอย่างไรเมื่อลูกเครียด  ‘ภาวะโรคเครียด’ เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกอาชีพ รวมไปถึงคนทุกวัย ‘เด็ก’ ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นจากโรคนี้ด้วยเช่นกัน เด็กเครียดได้ไม่แตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เพียงแต่เด็กยังไม่สามารถแสดงความเครียดนั้นออกมาได้มากเท่าที่เขารู้สึก นั่นจึงทำให้วิธีการแสดงออกของเด็กที่มีภาวะเครียดนั้นแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร แล้วจะเลี้ยงลูกอย่างไรไม่ให้เครียด ภาวะเครียด ในเด็กมีจริงไหม สาเหตุที่เด็กเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งจาก ครอบครัว บางครั้งที่เด็กเห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน หรือถูกตำหนิบ่อยๆ ทำให้เด็กเข้าใจว่าพ่อแม่ไม่รัก ไม่ให้ความสำคัญ นานไปเด็กก็ซึมซับ เกิดความวิตกกังวลจนไม่สามารถตัดความคิดนี้ออกไปได้ รวมถึงการเลี้ยงดูและความคาดหวัง ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน เด็กบางคนที่พ่อแม่จริงจังเรื่องเรียนหรือสอบแข่งขันมาก ต้องแบกรับความคาดหวังของทั้งพ่อแม่และครูก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้เด็กเกิดความกดดัน พ่อแม่ที่เครียดก็ส่งผลให้เด็กเครียดด้วย  นอกจากนั้น โรงเรียน ก็มีส่วนทำให้เด็กเครียดได้เช่นกัน ครูดุ เข้มงวดเกินไป ลงโทษรุนแรง การบ้านเยอะ เด็กบางคนถูกเพื่อนแกล้ง ล้อเลียน ไม่คบด้วย ก็เกิดความวิตกกังวลว่าเพื่อนไม่รัก สุดท้ายเรื่องของ การปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลง เช่น เปิดเทอม ย้ายโรงเรียน ย้ายบ้าน พ่อแม่เลิกรากัน สูญเสียคนหรือสัตว์เลี้ยงที่รัก ภัยอันตรายต่าง ๆ […]

ธาลัสซีเมีย อันตรายแค่ไหน และจะสามารถมีลูกได้หรือเปล่า

ธาลัสซีเมีย

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ธาลัสซีเมีย อันตรายแค่ไหน และจะสามารถมีลูกได้หรือเปล่า ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนมีบุตร อาจเคยได้ยินชื่อโรคธาลัสซีเมียกันมาบ้าง ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก ซึ่งหากไม่มีการวางแผนครอบครัวให้ดีก็อาจมีโอกาสที่ลูกรักจะเป็นโรคนี้ไปด้วยเช่นกัน สำหรับคู่รักบางคู่ ที่ไม่รู้ว่าตนเองและคู่รักเป็นพาหะของ โรคธาลัสซีเมียอยู่หรือไม่ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับโรคนี้กันให้มากขึ้น รวมถึงไปหาคำตอบกันว่า ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะมีโอกาสมีลูกได้ไหม และควรทำอย่างไร เพื่อไม่ส่งต่อโรคนี้ไปสู่ลูกรักของเรา ติดตามได้เลย โรคธาลัสซีเมีย คืออะไร ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นกลุ่มโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายผลิตฮีโมโกลบินได้ไม่เพียงพอ หรือฮีโมโกลบินที่สร้างมีความผิดปกติ โดย ฮีโมโกลบินที่ว่านี้ เป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ดังนั้นหากร่างกายผลิตฮีโมโกลบินได้ไม่เพียงพอ จะทำให้มีอาการซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รวมถึงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ภาวะโลหิตจางรุนแรง หรือภาวะหัวใจวาย ภาวะตับวาย หรือบางคนอาจเป็นโรคธาลัสซีเมียแฝง ซึ่งจะเป็นพาหะของโรคโดยไม่รู้ตัว เพราะธาลัสซีเมียแฝงจะไม่แสดงอาการและไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่จะสามารถถ่ายทอดยีนธาลัสซีเมียไปสู่ลูกน้อยที่กำลังจะเกิดได้ เป็นโรคธาลัสซีเมียสามารถมีลูกได้ไหม ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงหากเป็นโรคธาลัสซีเมีย ก็สามารถมีลูกได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนการตั้งครรภ์ เพื่อรับการตรวจคัดกรองของโรค และวางแผนการดูแลสุขภาพให้เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ โดยสามารถแบ่ง โรคธาลัสซีเมียที่อาจเกิดในทารกออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ […]

อาบน้ำทารกแรกเกิดอย่างไร ? ให้ถูกวิธี และปลอดภัยต่อลูกน้อยมากที่สุด

อาบน้ำทารกแรกเกิด

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง อาบน้ำทารกแรกเกิดอย่างไร ? ให้ถูกวิธี และปลอดภัยต่อลูกน้อยมากที่สุด เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนคงเคยฝึกการอาบน้ำเด็กอ่อนจากคลินิกฝากครรภ์ หรือ จากโรงพยาบาลมาก่อน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ต้องเรียนรู้อย่างหนึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพื่อที่จะได้อาบน้ำสระผมให้กับลูกน้อยของเราอย่างถูกวิธีและมีความปลอดภัย    อาบน้ำเด็กทารก  ควรอาบตอนไหน อาบน้ำเด็ก หรือ การอาบน้ำเด็กทารก คุณอาจจะเลือกอาบน้ำให้ทารกในตอนที่แน่ใจว่าไม่มีใครมาขัดจังหวะ หรือเลือกอาบก่อนให้นมในมื้อสายหรือช่วงเย็นก่อนค่ำก็ได้ ส่วนการอาบน้ำทารกแรกเกิดนั้น ควรใช้น้ำอุ่นอาบน้ำจะดีที่สุด หลังจากอาบน้ำเสร็จก็เอาลูกเข้าเต้าดูดนม ซึ่งการอาบน้ำอุ่น และดูดนมก็จะทำให้ลูกน้อยได้นอนหลับได้ อาบวันละครั้งกำลังดี ในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้นและทารกมักมีเหงื่อง่าย แนะนำให้อาบน้ำวันละครั้ง เป้าหมายเพื่อชะล้างกลิ่นอับ คราบเหงื่อ คราบนมของทารก ในต่างประเทศที่มีอากาศหนาว การอาบน้ำทารกอาจทำได้วันเว้นวัน หรือ 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์ การอาบน้ำที่บ่อยเกินไปทำให้ผิวแห้ง อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการอาบน้ำเด็กแรกเกิด  1.อ่างอาบน้ำ  2.แผ่นกันลื่น  3.ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่และผืนเล็ก  4.ฟองน้ำถูตัวแบบนุ่ม  5.สบู่เหลวอาบน้ำชนิด Head to Toe (หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า สบู่เหลว 2in1 ที่มีส่วนที่ผสมที่โอนโยนใช้ได้ทั้งผมและตามร่างกาย) 6.สำลีชุบน้ำต้มสุกสำหรับเช็ดตา  7.กระดาษเปียก  8.สำลี และแอลกอฮอล์สำหรับเช็ดสะดือ  […]