ยาน้ำลดไข้ของเด็ก ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี และปลอดภัย

ยาน้ำลดไข้ของเด็ก

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ยาน้ำลดไข้ของเด็ก ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี และปลอดภัย ยาลดไข้เด็กเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการปวด เช่น ปวดหัว ปวดตามร่างกาย และลดไข้ ซึ่งช่วยให้เด็กรู้สึกสบายตัวและหายป่วยได้เร็วขึ้น ยาลดไข้เด็กที่หาซื้อได้เองมีหลายยี่ห้อ ซึ่งมักมาในรูปแบบยาน้ำ โดยมีปริมาณการรับประทานที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ยาลดไข้เด็กอย่างเหมาะสมจะช่วยลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยาลดไข้เด็ก คืออะไร ยาลดไข้เด็ก เป็นยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการตัวร้อน ลดไข้ และบรรเทาอาการปวดศีรษะร่วมด้วย  ยาลดไข้ที่มีขายตามร้านขายยา และที่ใช้ในโรงพยาบาลมีหลายแบบ เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน 1.ยาพาราเซตามอล ยาพาราเซตามอลเป็นยาลดไข้ที่มีความปลอดภัยสูงในเด็ก ตัวยาพาราเซตามอล เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลาย และคุณหมอนิยมจ่ายยานี้เป็นอันดับแรก โดยยาพาราเซตามอลมีทั้งชนิดน้ำ สำหรับเด็กเล็ก และชนิดเม็ด สำหรับเด็กโต โดยขนาดยาที่ใช้คือ 10-15 มิลลิกรัมของยา ต่อน้ำหนักตัวของเด็กหนึ่งกิโลกรัม ใช้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมงเวลามีไข้ แต่วันหนึ่งไม่ควรเกิน 5 ครั้ง และไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3-5 วัน หากเด็กมีอาการไข้ติดต่อกันนานเกิน 3 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของไข้  2.ยากลุ่มNSAIDS ยากลุ่มNSAIDS (non-steroidal […]

กลากน้ำนม โรคผิวหนังพบบ่อยในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก และวิธีดูแลรักษาอย่างถูกวิธี

กลากน้ำนม

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง กลากน้ำนม โรคผิวหนังพบบ่อยในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก และวิธีดูแลรักษาอย่างถูกวิธี คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านยังเข้าใจผิดกันอยู่ว่าเป็นโรคที่คล้ายกับกลาก หรือเกลื้อน หรือบางท่านก็อาจจะคิดว่าลูกน้อยติดเชื้อราทางผิวหนัง ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นคนละโรคกัน โดยกลากน้ำนมนั้น จะเป็นโรคผิดปกติทางผิวหนังเท่านั้นเอง ควรดูแลและรักษาอย่างไรนั้นไปดูกัน กลากน้ำนม  คืออะไร โรคกลากน้ำนม (Pityriasis alba) เป็นโรคผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดจากการลดจำนวนของเม็ดสีที่ผิวหนังลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้สีผิวบริเวณนั้นจางลงเป็นวงด่าง โดยในช่วงแรกอาจเป็นผื่นชมพูอ่อน ๆ แห้งและตกสะเก็ด คล้ายอาการผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นได้มากกว่าวัยอื่น อาการกลากน้ำนมมีลักษณะอย่างไร กลากน้ำนมจะปรากฏบนผิวเป็นหย่อมสีอ่อน ลักษณะคล้ายวงกลม หรือวงรีบนผิวหนัง มีสีขาวหรือสีซีดกว่าสีผิวปกติ มักพบบนใบหน้าโดยเฉพาะแก้ม แต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้ที่ต้นแขน คอ และลำตัว มักสังเกตุได้ไงในคนที่มีผิวสีเข้ม และอาจเป็นรอยแห้งและเป็นเกล็ดสังเกตเห็นได้ชัดเจนในสภาพอากาศแห้งหรือในช่วงฤดูหนาว ในบางกรณีที่อาการผิดแปลกไปหรืออาการไม่ชัดมาก แพทย์อาจมีการตรวจชิ้นเนื้อผิวหนัง เพื่อแยกแยะปัญหาผิวอื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกัน เช่น โรคเกลื้อนหรือโรคด่างขาว สาเหตุการเกิดกลากน้ำนม หรือเกลื้อนน้ำนม 1.การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ เช่น อากาศร้อน ตากแดด […]

คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ครีมกำจัดขนหรือแว็กซ์ได้ไหม ปลอดภัยกับลูกในท้องหรือเปล่า

กำจัดขนหรือแว็กซ์ได้ไหม

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ครีมกำจัดขนได้ไหม ปลอดภัยกับลูกในท้องหรือเปล่า คุณแม่ท้องอยากผิวเนียนสวยแบบไร้ขน แต่ก็สงสัยว่า ตั้งครรภ์ใช้ครีมกำจัดขนได้ไหม สารเคมีในครีมจะซึมผ่านผิวหนังไปยังทารกได้หรือไม่ และจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกน้อยหรือเปล่า บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ครีมกำจัดขนได้ไหม  คุณแม่สามารถใช้ครีมกำจัดขนในช่วงตั้งครรภ์ได้ แต่ต้องมีการเตรียมตัวและระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากผิวหนังในช่วงตั้งครรภ์อาจดูดซึมสารเคมีได้ง่ายขึ้น จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนและปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และแม้ว่าสารเคมีในครีมกำจัดขนจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยมากก็ตาม แต่การใช้ครีมกำจัดขนในช่วงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงต่อการระคายเคืองและแพ้สารเคมีง่ายกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ คนท้องแว็กซ์ขนได้ไหม คนท้องสามารถแว็กซ์กำจัดขนได้ โดยที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงกับทารกที่อยู่ในครรภ์แต่อย่างใด เพราะการแว็กซ์กำจัดขนหรือการกำจัดขนนั้น เป็นการใช้แว็กซ์ซึ่งทำที่บริเวณผิวด้านนอก เนื้อแว็กซ์จะไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังและเส้นเลือดแต่อย่างใด การใช้แว็กซ์ในระหว่างการตั้งครรภ์จึงปลอดภัยอย่างแน่นอน ทั้งนี้เราควรใช้ผลิตภัณฑ์ในการแว็กซ์ที่ไม่มีส่วนผสมของสารอันตราย ไร้สารปนเปื้อน ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือสารแต่งกลิ่นอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้ผิวเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ ใช้ครีมกำจัดขนหรือแว็กซ์อย่างไรให้ปลอดภัย การใช้ครีมกำจัดขนในช่วงตั้งครรภ์เป็นทางเลือกหนึ่งที่คุณแม่หลายท่านเลือกใช้ แต่เพื่อความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และลูกน้อย ควรปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ 1.เลือกครีมสำหรับผิวบอบบาง เนื่องจากผิวหนังในช่วงตั้งครรภ์มีความบอบบางแพ้ง่าย ควรเลือกครีมกำจัดขนที่ออกแบบมาสำหรับผิวบอบบาง หรือสูตรอ่อนโยน ไม่มีน้ำหอม 2.อ่านฉลากอย่างละเอียด ก่อนใช้งาน ควรอ่านฉลากและคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เพื่อทำความเข้าใจส่วนผสมและวิธีใช้ที่ถูกต้อง 3.ทดสอบการแพ้ ก่อนใช้ครีมกับบริเวณที่ต้องการกำจัดขน ควรทดสอบการแพ้บริเวณเล็ก ๆ เช่น ข้อพับแขนหรือข้อพับขา ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด ก่อนนำไปใช้กับบริเวณที่ต้องการกำจัดขน หากไม่มีอาการแพ้คัน แดง […]

ไขข้อสงสัย คุณแม่ให้นมลูกบริจาคเลือดได้ไหม

คุณแม่ให้นมลูกบริจาคเลือดได้ไหม

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ไขข้อสงสัย คุณแม่ให้นมลูกบริจาคเลือดได้ไหม ช่วงหลังคลอดที่กำลังให้นมลูกน้อย คุณแม่ก็อาจเกิดความสงสัยว่า ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม จะมีผลกระทบต่อลูกน้อยหรือเปล่า มาไขข้อข้องใจเรื่องนี้กัน  การบริจาคโลหิต “การบริจาคโลหิต” คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคโดยสามารถบริจาคโลหิตได้ทุก 3 เดือน เมื่อบริจาคโลหิตออกไปแล้ว ไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน ทำให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม หากไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัวเพราะหมดอายุ และในการบริจาคเลือดนั้นก็ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ เพราะทางสภากาชาดได้มีการกำหนดคุณสมบัติ พร้อมวิธีการ เตรียมตัวก่อนการบริจาคไว้ ถ้าคุณสมบัติไม่ครบและเตรียมตัวมาไม่พร้อมก็ไม่สามารถบริจาคได้ ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม สำหรับข้อข้องใจของคุณแม่หลังคลอดที่กำลังให้นมลูกน้อยที่อยากรู้ว่า ให้นมลูก บริจาคเลือดได้ไหม ต้องอธิบายว่าตามหลักการรับบริจาคโลหิตของสภากาชาดไทยนั้น คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ “ต้องงดบริจาคเลือดชั่วคราว”  เนื่องจากเลือดของคุณแม่นั้นมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก การบริจาคโลหิตระหว่างการตั้งครรภ์อาจทำให้มีภาวะซีด และอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้ ส่วนในกรณีที่อยู่ในระยะให้นม ก็ต้องงดบริจาคเลือดเช่นกัน เพราะการผลิตน้ำนมของคุณแม่จำเป็นต้องใช้สารอาหารที่จำเป็นจำนวนมากจากเลือดนั่นเอง นอกจากนี้คุณแม่ให้นมอาจต้องตื่นบ่อยครั้งเพื่อให้นมลูกน้อย จนทำให้มีภาวะการนอนหลับไม่เพียงพอและอ่อนเพลีย ดังนั้น แนะนำว่าควรบริจาคโลหิตหลังจากลูกน้อยหย่านมแล้วจะปลอดภัยที่สุด หากมีความจำเป็นต้องบริจาคเลือดต้องระวังอะไรบ้าง กรณีที่คุณแม่ให้นมมีความจำเป็นที่จะต้องบริจาคเลือด อาจสามารถทำได้ ภายใต้การปรึกษาและควบคุมดูแลของแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถบริจาคได้อย่างปลอดภัย แม้โดยทั่วไปการบริจาคเลือด 1 ครั้ง คุณแม่จะสูญเสียเลือดไปประมาณ 350-450 มิลลิลิตร […]

อาการคันของคนท้อง ปัญหากวนใจของคุณแม่ที่ไม่ควรมองข้าม

อาการคันของคนท้อง

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง อาการคันของคนท้อง ปัญหากวนใจของคุณแม่ที่ไม่ควรมองข้าม อาการคันของคนท้อง เป็นอาการที่คุณแม่รู้สึกคันตามร่างกายบ่อยผิดปกติในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เต้านม และหัวนม โดยอาการนี้อาจส่งผลให้คุณแม่เกิดความไม่สบายตัว และเป็นกังวลไม่น้อยว่าจะมีอันตรายใด ๆ ต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้เป็นปัญหาที่คุณสามารถรับมือได้ เพียงแค่ต้องรู้วิธีที่ถูกต้อง ผื่นแพ้ฮอร์โมนตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ผื่นแพ้ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการคันในระหว่างตั้งครรภ์นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจเกิดจากการที่ผิวหนังหน้าท้องมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นการทำลายเนื้อเยื่อของผิวหนัง ทำให้ไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จนเกิดผื่นที่มีลักษณะนูนแดงคล้ายลมพิษ บางครั้งอาจเป็นลักษณะตุ่มใส ตรงบริเวณรอยแตกลายที่หน้าท้อง ต้นขา หรือที่ก้น และมีอาการคันร่วมด้วย สาเหตุของอาการคันของคนท้อง อาการคันของคนท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยคุณแม่หลายคนอาจจะยิ่งรู้สึกคันมากเป็นพิเศษบริเวณหน้าท้อง เต้านม และหัวนม เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่ผิวหนังมักจะมีการขยายตัวตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ส่วนสาเหตุ   อื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องก็เช่น 1. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ในช่วงกำลังตั้งครรภ์เป็นสิ่งหนึ่งที่ส่งผลให้ร่างกายของคุณแม่เกิดความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง โดยสิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ คุณแม่มักจะพบว่าตนเองมักรู้สึกคันตามตัวมากขึ้น อีกทั้งบางคนยังอาจพบว่าตนเองผิวแห้งขึ้น ซึ่งก็จะยิ่งส่งผลให้อาการคันยิ่งรุนแรงขึ้นได้อีก 2. เครื่องแต่งกายที่สวมใส่ เนื้อผ้าบางชนิดของเครื่องแต่งกายที่คุณแม่ตั้งครรภ์สวมใส่อาจจะส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการคันจากการที่ถูกเนื้อผ้าเสียดสีจนเกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ 3. สารเคมีบางชนิดจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด […]

ลมชักในเด็ก อันตรายกว่าคิด คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังอย่างมาก

ลมชักในเด็ก

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลมชักในเด็ก อันตรายกว่าคิด คุณพ่อคุณแม่ต้องระมัดระวังอย่างมาก โดยทั่วไปของโรคลมชัก หากปล่อยให้ชักและไม่รักษา ส่วนใหญ่จะมีผลต่อพัฒนาการของผู้ป่วยในระยะยาว หรือถ้าลักษณะชักเป็นแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจอันตรายถึงชีวิตได้  “โรคลมชัก” หนึ่งในโรคทางระบบประสาทในเด็กที่พบได้บ่อย ซึ่งเป็นอาการชักที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของสมอง แต่ถึงอย่างนั้น แม้ไม่พบความผิดปกติทางกายภาพของสมองก็สามารถทำให้เกิดโรคลมชักได้ โดยโรคลมชักเป็นโรคที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็ก โรคลมชักในเด็ก พ่อแม่รู้เท่าทัน ลูกน้อยก็ปลอดภัย โรคลมชักในเด็ก หนึ่งในโรคที่สร้างความทุกข์ใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ สาเหตุการเกิดโรคนี้มีได้หลายอย่าง อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ความผิดปกติของระบบประสาท เคยเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง หรือเนื้องอกในสมอง เป็นต้น โดยรูปแบบการชัก อาจมีอาการได้ดัง ต่อไปนี้ – ชักแบบเหม่อนิ่ง เด็กมักไม่ตอบสนองต่อการเรียก พบมากในเด็ก 5-10 ปี – ชักแบบกระตุกแขนขาเป็นชุด ๆ พบมากในเด็ก 3 เดือน -1 ปี – ชักแบบไม่รู้ตัว มีอาการเตือน ระหว่างชักจำอะไรไม่ได้ – ชักต่อเนื่อง อันตรายหากชักเกิน 30 นาที สาเหตุของโรคลมชักในเด็ก  […]

คนท้อง ไอถี่ ไอบ่อย ไอจนเจ็บท้องอันตรายหรือไม่

คนท้อง

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง คนท้อง ไอถี่ ไอบ่อย ไอจนเจ็บท้องอันตรายหรือไม่ ไอบ่อยจนหงุดหงิด เดี๋ยวไอ เดี๋ยวจาม เชื่อว่า เป็นปัญหาสุขภาพที่คอยรบกวนคุณแม่ขณะตั้งครรภ์อยู่ไม่น้อยเลย เพราะไหนจะแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว สารพัดอาการที่คนท้องต้องรับมือช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งอาการไอ จาม มีน้ำมูก หากเป็นเมื่อก่อนคงอดไม่ได้ที่จะซื้อยามากินเอง หรือปล่อยให้หายเองตามเคย แต่พอมีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้อง ก็ห่วงว่า ไอขณะตั้งครรภ์ ไอจนเจ็บท้อง ไอจนเจ็บคอ  เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์หรือไม่ คนท้องไอบ่อย เกิดจากอะไร อาการไอของคนท้อง เกิดจากการที่ร่างกายของคุณแม่พยายามขับสิ่งแปลกปลอมหรือ เชื้อโรคออกมาในลักษณะของมูก หรือเสมหะ โดยสาเหตุที่ทำให้คนท้องไอบ่อย คือ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของคนท้องที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายของคุณแม่ได้รับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น คนท้องจึงอาจไอบ่อย ทั้งยังอาจมีสาเหตุมาจากอาการของโรคบางอย่าง  ดังต่อไปนี้ 1. คนท้องมีอาการไอ จากไข้หวัด โรคไข้หวัด คุณแม่สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปี ไม่เว้นแม้แต่อากาศร้อน ซึ่งอาการในระยะแรกอาจคัดจมูก มีน้ำมูกไหล และเจ็บคอ อาการอาจทุเลาลงเองได้ แต่อาจจะต้องระวังอาการไข้สูง เนื่องจากอาจติดเชื้อไวรัสของไข้หวัดชนิดรุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดการแท้งบุตรได้ในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ 2. ไอจากโรคหอบหืด […]

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับลูกน้อย ควรป้องกันและรับมืออย่างไรดี

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

บทความนี้ขอแนะนำบทความเรื่อง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับลูกน้อย ควรป้องกันและรับมืออย่างไรดี ไข้หวัดใหญ่อันตรายถึงชีวิต แต่ป้องกันได้ ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ระบาดมากในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม – มีนาคม) ของทุกปี ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจนถึงขั้นเสียชีวิตมากกว่าโรคไข้หวัดทั่วไป จะอันตรายแค่ไหนบทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่( Influenza) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ   มักจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน พบได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กเล็ก  เด็กโต  วัยผู้ใหญ่  และผู้สูงอายุ ไข้หวัดใหญ่จะแบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลักคือ สายพันธุ์  A สายพันธุ์  B และ  สายพันธุ์  C โดยในบทความนี้จะขอกล่าวถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเจอภาวะแทรกซ้อนได้รุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น   ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เกิดจากเชื้ออะไร เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) เป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก […]

ลูกขี้อายชอบเก็บตัว ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ลูกเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้

ลูกขี้อายชอบเก็บตัว

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ลูกขี้อายชอบเก็บตัว ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ลูกเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่กังวลเกี่ยวกับการเข้าสังคมของลูกมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกลัวว่าลูกจะขี้อายเกินไป ไม่กล้าคุยหรือแสดงออก เก็บตัว ในขณะที่บางบ้านอาจจะกังวลกับการเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ปัญหาการไม่แบ่งปัน หรือปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อย ๆ กับกลุ่มเด็กผู้ชายที่เป็นลูกคนเดียว  ลูกขี้อาย ไม่กล้าเข้าสังคม เกิดจากอะไร การที่ลูกมีนิสัยที่ขี้อาย และไม่กล้าสังคม มักเกิดจากลักษณะนิสัยส่วนตัว การเลี้ยงดู และสภาพสังคมที่เด็กเติบโตมา ซึ่งเด็กบางคนอาจมีนิสัยที่ขี้อาย และไม่กล้าพูดคุยกับคนอื่นมาตั้งแต่เกิด โดยสันนิษฐานว่าพันธุกรรมอาจมีผลต่อนิสัยของเด็ก ทำให้เด็กเกิดอาการที่ขี้อาย อีกทั้งเด็กทารกที่มีนิสัยขี้แย และร้องไห้ง่าย อาจมีนิสัยที่ขี้อาย และไม่กล้าเข้าสังคมเมื่อเติบโตขึ้น ฝึกลูกเข้าสังคม ทำได้อย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูก ๆ เตรียมความพร้อมในการเข้าสังคม และเข้าหาเพื่อน ด้วยการชวนลูกสร้างสัมพันธ์ที่ดีง่าย ๆ ผ่านการให้สิ่งของ และขนมเพื่อน เพื่อให้ลูกรู้จักการแบ่งปันได้ นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถฝึกลูกเข้าสังคมได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ 1.เริ่มฝึกลูกเข้าสังคมตั้งแต่ยังเล็ก ปัจจุบันสังคมไทยมีลักษณะครอบครัวเดี่ยวที่เพิ่มมากขึ้น บางบ้านอาจอยู่อาศัยในห้องเดี่ยวหรือคอนโด จนทำให้เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีโอกาสเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคม จนกว่าลูกจะเข้าโรงเรียน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปพบปะกับผู้คนในวัยเดียวกัน เช่น เพื่อนบ้าน กลุ่มเด็กเล็ก หรืออาจพาลูกไปทักทายผู้คนที่คุณพ่อคุณแม่สนิทสนม หรือรู้จักก็ได้จะช่วยให้ลูกเริ่มคุ้นชินได้ […]

ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ และต้องเตรียมตัวอย่างไร

ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้

บทความนี้ขอแนะนำ บทความเรื่อง ทารกกี่เดือน  ถึงพาออกไปเที่ยวนอกบ้านได้ และต้อง เตรียมตัวอย่างไร หลังคลอดลูกน้อย อาจเป็นช่วงที่ร่างกายของลูกยังไม่แข็งแรง และคุณแม่ก็ยังไม่สามารถพาลูกออกไปทำกิจกรรมได้ คุณแม่ส่วนใหญ่อาจสงสัยว่าหลังคลอด ทารกออกนอกบ้าน  กี่เดือน จะพาลูกออกไปต่างจังหวัดหรือเดินห้างได้ตอนไหน และมีเรื่องอะไรที่ควรระวังบ้าง บทความนี้จะพาไปดูกัน  พาลูกออกนอกบ้านได้ตอนกี่เดือน  ไม่ได้มีตัวเลขที่ระบุอย่างชัดเจนว่าทารกอายุกว่าน้อยกว่าเท่าใดจึงจะห้ามออกจากบ้านหรือเดินทาง เพราะทารกที่ยังอายุน้อย เช่น แรกเกิดถึง 3 เดือน ก็ยิ่งมีภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ในขณะเดียวกัน แม้ว่าทารกจะอายุมากขึ้น เช่น หลังจากอายุ 6 เดือน ก็อาจจะมีการติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เพราะภูมิต้านทานที่ได้จากคุณแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จะหมดไปหลังอายุ 6 เดือน ทารกจึงต้องพึ่งพาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในร่างกายด้วยตนเอง วัคซีนที่ได้รับ ร่วมกับภูมิคุ้มกันที่ได้จากการทานนมแม่ ความเสี่ยงในการเดินทางพร้อมลูกน้อยก่อนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะพร้อม  1.การสัมผัสกับเชื้อโรคมากขึ้น  เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงง่ายต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ 2.ยังไม่ได้รับวัคซีนจำเป็นบางตัว  การเดินทางโดยที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนบางชนิดที่ต้องได้รับตามวัย อาจทำให้ลูกน้อยมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เช่น โรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 3.การเดินทางทางอากาศและความดันในห้องโดยสาร  ทารกอาจรู้สึกไม่สบาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงความดันในห้องโดยสาร ระหว่างการเดินทางทางอากาศ ทำให้เกิดอาการปวดหู เนื่องจากความดันในหูไม่เท่ากัน […]